- ชื่ออื่น : 4 Kings อาชีวะ ยุค 90
- ประเภท : Crime / Drama / Gangster
- ผู้กำกับ : พุฒิพงษ์ นาคทอง
- บทภาพยนตร์ : พุฒิพงษ์ นาคทอง
- กำกับภาพ : พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์
- ลำดับภาพ : ด็อก แบ็ค ดี
- ดนตรีประกอบ : เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
- ควบคุมงานสร้าง : ฐณะวัฒน์ ธรรมปรีชาพงศ์
- อำนวยการสร้าง : บริษัท เนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด
- บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : บริษัท เนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด, บริษัท กำ-กับ-หนัง จำกัด, บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด
- วันที่เข้าฉาย : 9 ธันวาคม 2564
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียง ดิจิทัล-DCP
เรื่องย่อ[]
- ศักดิ์ศรีที่ไร้ค่า ได้มาเพื่ออะไร
- พร้อมลุย ทุกสถาบัน
จากเหตุการณ์จริงของเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างนักเรียนช่างต่างสถาบัน สู่ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดบทเรียนชีวิตที่พวกเขาได้พบเจอ เมื่อความคึกคะนองในช่วงวัย สร้างมิตรภาพ และศัตรูมาพร้อมกัน
เรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นอาชีวะต่างสถาบันที่่ต่างเป็นอริกัน นำโดย "บิลลี่" (อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี) และ "ดา" (อารักษ์ อมรศุภศิริ) แห่งอินทรอาชีวะ ที่ต้องห้ำหั่นกับคู่ปรับตัวฉกาจอย่าง เทคโนโลยีประชาชลที่มี "มด" (อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ) และ "โอ๋" (ณัฏฐ์ กิจจริต) เป็นหัวโจก ร่วมด้วยสองสถาบันสุดแสบอย่าง กนกอาชีวะ และช่างกลบุรณพนธ์ ความสัมพันธ์ของพวกเขาบ้างเป็นศัตรูที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้ บ้างเป็นศัตรูที่ยอมรับให้เกียรติกัน บ้างก็เป็นมิตรที่อยู่คนละขั้วและต้องเลือกอยู่เสมอว่าระหว่างสถาบันกับเพื่อนว่าน้ำหนักสิ่งไหนสูงกว่ากัน
เรื่องความสัมพันธ์ของกลุ่มเด็กวัยรุ่นอาชีวะจาก 4 สถาบัน ได้แก่ กนกอาชีวะ, ช่างกลบูรณพนธ์, เทคโนโลยีประชาชล และอินทรอาชีวะศึกษา ผ่านตัวละคร บิลลี่ อดีตเด็กอาชีวะที่ตอนนี้ผันตัวมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว บิลลี่ มีลูกสาวหนึ่งคน แม้ความสัมพันธ์ของเขาและลูกสาวไม่ค่อยดีนัก แต่เมื่อลูกสาวประสบอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เด็กอาชีวะตีกัน ก็ทำให้บิลลี่นึกย้อนกลับไปถึงช่วงสมัยที่เขาเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นยุคที่สังคมมองว่าเด็กอาชีวะล้วนเกเรและไม่มีอนาคต เพราะพฤติกรรมที่ขอบยกพวกตีกันจนได้ออกข่าวด้วยกันไม่เว้นวัน
บิลลี่ได้รับความกดดันจากครอบครัว เนื่องจากแม่แต่งงานใหม่ และดูเหมือนพ่อเลี้ยงจะไม่ชอบเขาเท่าไรนัก เมื่อเขาไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว เขาก็ต้องหาสิ่งเติมเต็มจากทางอื่น นั่นก็คือเพื่อน เพื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญเดียวในชีวิตที่เขาต้องรักษา ต้องปกป้อง ส่งผลให้บิลลี่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งต่างๆ และความสูญเสียที่ถือเป็นตราบาปในใจ และเป็นบทเรียนชีวิตราคาแพงที่เขาต้องชดใช้
นักแสดง[]
อารักษ์ อมรศุภศิริ | อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี | ภูมิ รังษีธนานนท์ | อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ |
ดา อินทร | บิลลี่ อินทร | รูแปง อินทร | มด ประชาชล |
ณัฏฐ์ กิจจริต | สิราษฎร์ อินทรโชติ | D Gerrard | วิศววิท วงษ์วรรณลภย์ |
โอ๋ ประชาชล | เอก บุรณพันธ์ | ยาท กม.11 | วิทย์ กนก |
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ :[]
- วราวุฒิ บราวน์ – หรั่ง อินทร
- ชนาธิป พิสุทธิ์เสรีวงศ์ – เอ็กซ์ ประชาชล
- เนรัญชรา เลิศประเสริฐ – อุ๊
- สุกัญญา แคลเลย์ เขียนเอี่ยม – แม่ดา
- จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร – พ่ออุ๊
- พิมพ์ชไม ภัทรสินศิริ – แม่อุ๊
- ปรเมศร์ น้อยอ่ำ – พ่อเลี้ยงบิลลี่
- รัชณี บุญยธโรกุล – แม่บิลลี่
- ไปรยา สังขจินดา – แอม
- ปกป้อง ซากาเนะ – เทคโนโลยีประชาชล
- ณัฐพล ศศิเสาวภาคย์ – เทคโนโลยีประชาชล
- พลวัฒน์ บินซอและฮ์ – เทคโนโลยีประชาชล
- ถิรวุฒิ จันจาตุรงค์ – เทคโนโลยีประชาชล
- กรกต อู่โภคิน – กนกอาชีวะ
- รัชพล มโนวิไลพงศ์ – กนกอาชีวะ
- วิรัช กาหวัง – กนกอาชีวะ
- วาริ ปริญชยะกุล – ช่างกลบุรณพนธ์
- ชญานิน เพี้ยบุญมาก – ช่างกลบุรณพนธ์
- ทาม จีระบุตร – ช่างกลบุรณพนธ์
- ธีรภัทธ์ นาโค – ช่างกลบุรณพนธ์
- วิทวัส เลิศฟ้า – ก่อสร้างอินทร
- เอกวัฒน์ นิรัตน์วรปัญญา – แบงค์ น้องชายบิลลี่
- ภูลฎา อภิรมรัตน์ – แอมเด็ก
- ณัฐฐารินทร์ เกษมสารพิพัฒน์ – ป้าเพียว
- เห็ดเผาะ เชิญยิ้ม – ป้าตู้โทรศัพท์
- กวินทร์ กันเที่ยง – เด็กอ้วน
- ณัฐวรรณ อัสวกาญจน์ – สาวพานิชย์
- ภคภัทร ศิริอริยาพร – สาวพานิชย์
- อาร์แมน ช็อคโคล่ – เด็กร้านเกม
- เต้ สดใส – เด็กร้านเกม
- ปิยพงษ์ วงษ์คำเหลา – แก๊งยาท
- พิพัฒน์ ปิติ – แก๊งยาท
- อรรถวัจน์ อัครสุขจิตร – แก๊งยาท
- ภูมิพัฒน์ ชาติสุริยเกียรติ – เฮียเม้ง
- จิรนุช กระจ่างเวช – แวว (เด็กเสิร์ฟร้านหมูจุ่ม)
- ต่อพงศ์ กุลอ่อน – ตำรวจงาน 7 สี คอนเสิร์ต
- คมสันต์ สร้อยโมรา – ผู้คุมบ้านเมตตา
- นพรัตน์ ศุภวัตรชัย – ผู้คุมบ้านเมตตา
- มงคล สันติกุล – ผู้คุมบ้านเมตตา
- เจษฎา เลี้ยงเชื้อ – คนขี่มอเตอร์ไซค์รถติด
- พุฒิพงศ์ นาคทอง – กระเป๋ารถเมล์
- สมพล รุ่งพาณิชย์ – บ่าง กนก
- สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร – รก บุรณพนธ์
- ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ – โป่ง หิน เหล็ก ไฟ
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ปิดโปรแกรมการฉายไปด้วยรายได้ทั้งหมด 170 ล้านบาท และมีภาคต่อคือภาพยนตร์เรื่อง 4 Kings 2 (2566)
รางวัล[]
- คม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (D Gerrard อุกฤษ วิลลีย์บรอด ดอน กาเบรียล)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 30
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ณัฏฐ์ กิจจริต)
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุกัญญา มิเกล)
- เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "มึงกับกู" ขับร้องโดย อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี)
- ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในรอบปี 2564
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 30
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ณัฏฐ์ กิจจริต)