ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  โหมโรง (2547)
โหมโรง (2547) 1
  • ชื่ออังกฤษ : The Overture
  • ประเภท : Biography / Drama / History / Music
  • ผู้กำกับ : อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์
  • บทภาพยนตร์ : อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ
  • กำกับภาพ : ณัฐวุฒิ กิตติคุณ
  • ลำดับภาพ : อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์
  • กำกับศิลป์ : รัชชานนท์ ขยันงาม, นวชาติ สำเภาเงิน, เกียรติชัย คีรีศรี
  • บันทึกเสียง : คอนราด แบรดลี่ สเตเลอร์
  • ดนตรีประกอบ : ชาติชาย พงษ์ประภาพันธุ์
  • ควบคุมการสร้าง : อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, พิศมัย เหล่าดารา
  • อำนวยการสร้าง : สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ, หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, หม่อมกมลา ยุคล
  • ร่วมอำนวยการผลิต : นนทรีย์ นิมิบุตร, ดวงกมล ลิ่มเจริญ, คุณากร เศรษฐี
  • บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, พร้อมมิตรภาพยนตร์, ภาพยนตร์หรรษา, Gimmick Film
  • วันที่เข้าฉาย : 6 กุมภาพันธ์ 2547
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน

ศร เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดฝีมือในการตีระนาดเอกจาก ครูสิน ผู้ซึ่งเป็นทั้งบิดาและครูสอนดนตรีไทย ศรกลายเป็นดาวเด่นในเชิงระนาดเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม ฝีมือของศรยากหาใครทัดเทียมในอัมพวาหลังจากชนะประชันครั้งแล้วครั้งเล่า ศรจึงลำพองใจในฝีมือของตนเอง จนเมื่อศรเดินทางเข้ามายังบางกอก เขาพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกต่อขุนอิน ผู้มีทางระนาดที่ดุดัน ศรสูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเองและหมกมุ่นขังตัวฝึกซ้อมระนาด จนกระทั่งหาทางระนาดของตัวเองจนเจอ ศรมีโอกาสได้รับการอุปถัมภ์ให้เป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และเมื่อได้ประชันระนาดกับขุนอินอีกครั้ง ก็สามารถเอาชนะได้

กระทั่งล่วงเข้าสู่วัยชรา ศรกลายเป็นครูดนตรีอาวุโสของเมืองไทย แต่ขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีนโยบายปรับปรุงประเทศให้มีความทันสมัย และออกระเบียบควบคุมศิลปะแขนงต่างๆ รวมทั้งดนตรีไทย โดยมี พันโทวีระ นายทหารหนุ่มที่รับหน้าที่ดูแลนโยบายดังกล่าว ศรจึงต้องต่อสู้กับทัศนคติของพันโทวีระพร้อมๆ กับความคิดของรัฐบาล ด้วยการปรับประสานดนตรีให้ร่วมสมัย รวมถึงคงไว้ซึ่งบทประพันธ์เพลงดั้งเดิมมากมาย จนดนตรีไทยสามารถอยู่รอดจากการถูกทำลายมาได้ถึงทุกวันนี้

นักแสดง[]

โหมโรง (2547) 3 โหมโรง (2547) 2
อนุชิต สพันธุ์พงษ์ อดุลย์ ดุลยรัตน์
ศร (วัยหนุ่ม) ศร (วัยชรา)
โหมโรง (2547) 4 โหมโรง (2547) 5 โหมโรง (2547) 6 โหมโรง (2547) 7
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า อาระตี ตันมหาพราน สมภพ เบญจาธิกุล
พันโทวีระ ขุนอิน แม่โชติ สมเด็จฯ
โหมโรง (2547) 8 โหมโรง (2547) 10 โหมโรง (2547) 11 โหมโรง (2547) 9
สมชาย ศักดิกุล ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง สุเมธ องอาจ ผศ.เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์
ครูเทียน เทิด ประสิทธิ์ ครูสิน
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : รับบทเป็น
ชุมพร เทพพิทักษ์ ทิว (วัยชรา)
บุ๋มบิ๋ม สามโทน นายขวด
อุดม ชวนชื่น ช่างซ่อมเครื่องดนตรีไทย
ลูกปู ดอกสะเดา เปี๊ยก

Image Gallery & วีดีโอ[]

  • ดูเพิ่มเติมที่ : [1] [2] [3] [4]

Trailer โหมโรง (2547)

เพลง อัศจรรย์ Ost. โหมโรง (2547)

ศิลปิน : เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์

เกร็ด[]

  • เพลงโหมโรง หมายถึงเพลงที่บรรเลงก่อนที่จะแสดงโขน ละคร หรือก่อนที่จะมีการบรรเลงดนตรี เพลงโหมโรงเป็นเพลงบรรเลงล้วนๆ ไม่มีการขับร้อง และกลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ ก่อนที่จะเปิดการแสดงใดๆ ที่ต้องใช้ดนตรีไทยประกอบ
  • ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยประดิษฐ์ไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกัน โดยประดิษฐ์ไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกัน เจาะรูร้อยเชือกแล้วนำไปแขวนบนรางไม้ เพื่อช่วยอุ้มเสียงให้เกิดความไพเราะ ลักษณะของระนาดค่อยเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ มีเสียงไพเราะยิ่งขึ้น จนถือว่าเป็นเสียงมาตรฐานในวงดนตรีไทย ระนาดรางหนึ่งจะมี 21 ลูก คำว่าระนาด เป็นคำไทยแผลงมาจากคำว่า "ราด" หมายถึงการวางเรียงแผ่ออกไป นับเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญของวงปี่พาทย์ไทย ทำหน้าที่แปลงลูกฆ้องให้เป็นทำนองเต็ม มีกลเม็ดสลับซับซ้อน มีเก็บ สะบัด ขยี้ ฯลฯ ผู้เล่นจะต้องมีความสามารถ มีความชำนาญ เพราะระนาดเอกมีเสียงเด่น และเป็นเสียงนำในวงปี่พาทย์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากอัตชีวประวัติบางส่วนของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • ก่อนที่จะมาใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า โหมโรง อิทธิสุนทรได้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Overture มาก่อน ความหมายของทั้งสองคำคล้ายคลึงกัน สิ่งที่เหมือนกันคือ ทั้งสองคำต่างเป็นศัพท์ของการเล่นดนตรี และมีเป้าหมายคือเล่นเพื่อเปิดการแสดง เพื่อประกาศว่าดนตรีจะเริ่มแล้ว หรือเป็นการเล่นเพื่อวอร์มอัพ แต่ก่อนหน้านี้ ในระหว่างที่ภาพยนตร์กำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำ ระนาดเอก 5 แผ่นดิน เคยเป็นตัวเลือกหนึ่ง ของชื่อที่ใช้สื่อสารให้กับคนทั่วไป ได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของโปรเจ็คต์ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ที่อาจทำให้นึกถึงภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ในอดีต เรื่อง "ระนาดเอก" ทำให้ในท้ายที่สุด จึงมาลงตัวที่ชื่อของ โหมโรง หรือ The Overture
  • ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย ควบคุมการผลิตโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, พิศมัย เหล่าดารา กำกับภาพโดย ณัฐวุฒิ กิตติคุณ บันทึกเสียงโดย คอนราด แบรดลี่ สเตเลอร์ ฝึกสอนดนตรีโดย อาจารย์ถาวร ศรีผ่อง ที่ปรึกษาดนตรีโดย อัษฎาวุธ สาคริก อาจารย์ผู้สอนและทำงานเผยแพร่ดนตรีไทย ในมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ ที่ปรึกษาการแสดงโดย อรชุมา ยุทธวงศ์ กำกับศิลป์โดย รัชชานนท์ ขยันงาม, นวชาติ สำเภาเงิน, เกียรติชัย คีรีศรี ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย พราวเพลิน ตั้งมิตรเจริญ ออกแบบหน้า-ผมโดย มนตรี วัดละเอียด ผู้ช่วยผู้กำกับได้แก่ พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ, สวนีย์ อุทุมมา, นฤมล สุทัศนะจินดา, ศรีรัตน์ บุญวัธนะศักดิ์ ดนตรีประกอบโดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธุ์ และ ชัยภัค ภัทรจินดา
  • ภายหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อ พ.ศ. 2555 และเป็นละครเวทีมิวสิคัลโดยเวิร์คพอยท์-โต๊ะกลมโทรทัศน์ แสดงที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ เมื่อ พ.ศ. 2558
รูปแบบการนำเสนอ ภาพยนตร์ ละครช่องไทยพีบีเอส ละครเวที
พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558 / 2561
ศร / ท่านครู อนุชิต สพันธุ์พงษ์
อดุลย์ ดุลยรัตน์
ธนาวุฒิ ศรีวัฒนะ
นพพล โกมารชุน
กรกันต์ สุทธิโกเศศ
สุประวัติ ปัทมสูต
แม่โชติ อาระตี ตันมหาพราน จุฬา ศรีคำมา
ปานเลขา ว่านม่วง
สาธิดา พรหมพิริยะ
ดวงใจ หทัยกาญจน์
สุดา ชื่นบาน
ขุนอิน ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ ชัยยุทธ โตสง่า
ทวีศักดิ์ อัครวงษ์
ครูสิน ผศ.เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์ วิทยา เจตะภัย ประดิษฐ ประสาททอง
ครูเทียน สมชาย ศักดิกุล ดลกมล ศรัทธาทิพย์ ศรัทธา ศรัทธาทิพย์
พันโทวีระ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง อรรถพร ธีมากร อนุสรณ์ มณีเทศ
ทิว ชุมพร เทพพิทักษ์ ชนภัทร ชุ่มจิตต์
รอง เค้ามูลคดี
มงคล สะอาดบุญญพัฒน์
เทิด ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ อรรณพ ทองบริสุทธิ์
ปิติพงษ์ ผาสุขยืด
ประสิทธิ์ สุเมธ องอาจ วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ ชยาพงศ์ สุวรรณน้อย
เปี๊ยก ลูกปู ดอกสะเดา สุรพงษ์ โรหิตาจล เอ๋ เชิญยิ้ม

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2547
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ กิตติคุณ)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (คอนราด แบรดลี่ สเลเตอร์ ห้องบันทึกเสียงกันตนา และ อพอลโล แลป (2001))
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่ และ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า)
    • เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "อัศจรรย์" ขับร้องโดย เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์)
    • แต่งหน้ายอดเยี่ยม (มนตรี วัดละเอียด)
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ กิตติคุณ)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (คอนราด แบรดลี่ สเลเตอร์ ห้องบันทึกเสียงกันตนา และ อพอลโล แลป (2001))
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่ และ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า)
  • สตาร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, ดลกมล ศรัทธาทิพย์, พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์, ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่ และ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556)
  • 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
Advertisement