ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟   แฟนฉัน (2546)
Fan Chan 1

ผลงานใบปิดโดย Doctor Head

  • ชื่ออังกฤษ : My Girl
  • ประเภท : Comedy / Drama / Romance / Family
  • ผู้กำกับ : คมกฤษ ตรีวิมล, ทรงยศ สุขมากอนันต์, นิธิวัฒน์ ธราธร, วิชชา โกจิ๋ว, วิทยา ทองอยู่ยง, อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม
  • บทภาพยนตร์ : อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม, นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, อมราพร แผ่นดินทอง, วิชชพัชร์ โกจิ๋ว
  • กำกับภาพ : ทรงยศ สุขมากอนันต์
  • ลำดับภาพ : นิธิวัฒน์ ธราธร
  • ดนตรีประกอบ : อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ
  • อำนวยการสร้าง : ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน
  • บริษัทผู้สร้าง : จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส, ไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม
  • วันที่เข้าฉาย : 3 ตุลาคม 2546
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

ภาพแห่งอดีต จริงๆ แล้วมันไม่เคยจากไปไหน มันอาจจะซุกอยู่ที่ซอกหนึ่ง ในลิ้นชักความทรงจำ และอยู่อย่างนั้นมาตลอด จนความทรงจำใหม่ๆ เข้ามาทับ เข้ามาซ้อน ดันมันไปจนสุดลิ้นชัก แต่เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเพลงอย่างนี้แว่วมา หรือเห็นรูปภาพสีเหลืองๆ แดงๆ เก่าๆ ความทรงจำในครั้งนั้น ก็เหมือนถูกมือซนๆ หยิบมันออกมาปลุกให้กลับมามีชีวิต… อีกครั้งหนึ่ง

เรื่องราวในวัยเด็กของ "เจี๊ยบ" ที่มีเพื่อนสนิทคือ "น้อยหน่า" เด็กหญิงข้างบ้าน ที่เป็นเพื่อนเล่นมาด้วยกันตลอด แต่เด็กชายก็อยากมีเพื่อนๆ ผู้ชาย และเล่นตามประสาเด็กชายบ้าง ทำให้เขาหันไปเข้ากับกลุ่มเด็กชายจอมซ่า ที่มี "แจ๊ค" เป็นหัวโจก ทว่าการเข้ากับกลุ่มของแจ๊ค กลับทำให้น้อยหน่าเพื่อนรักต้องเสียใจ และยังทำให้เจี๊ยบพลั้งพลาดทำร้ายจิตใจของน้อยหน่าโดยไม่ตั้งใจ กว่าเจี๊ยบจะรู้ตัวว่าทำให้น้อยหน่าเสียใจ เธอก็ย้ายบ้านไปเสียก่อนที่เขาจะได้เอ่ยปากคำว่าขอโทษออกมา

หลังจากย้ายบ้านไปเป็นเวลานาน เจี๊ยบได้กลับมาอีกครั้งเพื่อร่วมงานแต่งงาน ของ น้อยหน่า ความทรงจำในวัยเด็กที่เคยเลือนราง แต่เมื่อหลับตาลง ความทรงจำต่างๆ กลับค่อยๆ แจ่มชัดเหมือนเพิ่งผ่านไปเมื่อไม่กี่วันก่อน เจี๊ยบกับน้อยหน่า บ้านของทั้งสองอยู่ติดกันจึงเป็นเพื่อนเล่นกันตั้งแต่เด็ก เหตุนี้ทำให้เจี๊ยบติดสอยห้อยตามน้อยหน่า และคลุกตัวอยู่กับเพื่อนผู้หญิง จนทำให้แก๊งเพื่อนผู้ชายยั่วเย้าให้หัวเสียอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อเริ่มโต เจี๊ยบก็เริ่มอยากเที่ยวเล่นแบบเด็กผู้ชาย จึงพยายามพิสูจน์ตัวเองแม้จะทำให้น้อยหน่าเสียใจก็ยอม เจี๊ยบเพียรมาด้อมๆ มองๆ บ้าน น้อยหน่าเพื่อหาโอกาสกล่าวคำขอโทษ กระทั่งยอมมาตัดผมกับพ่อน้อยหน่าที่บ้านก็ยอม แต่จนแล้วจนรอด เจี๊ยบก็ยังไม่ได้ขอโทษสักที จนถึงวันที่น้อยหน่าต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่จังหวัดอื่น

นักแสดง[]

แฟนฉัน (2546) 1 แฟนฉัน (2546) 2 แฟนฉัน (2546) 3
ชวิน จิตรสมบูรณ์ ชาลี ไตรรัตน์ โฟกัส จีระกุล
เจี๊ยบ เจี๊ยบ (ตอนเด็ก) น้อยหน่า
แฟนฉัน (2546) 4 แฟนฉัน (2546) 5 แฟนฉัน (2546) 6 แฟนฉัน (2546) 7
วงศกร รัศมิทัต อนุสรา จันทรังษี ปรีชา ชนะภัย นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์
พ่อเจี๊ยบ แม่เจี๊ยบ พ่อน้อยหน่า แม่น้อยหน่า
แฟนฉัน (2546) 8 แฟนฉัน (2546) 9 แฟนฉัน (2546) 10 แฟนฉัน (2546) 11
เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ ธนา วิชยาสุรนันท์ อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล อภิชาญ เฉลิมชัยนุวงศ์
แจ็ค พริก บอย ตี่
แฟนฉัน (2546) 12
หยก ธีรนิตยาธาร
มาโนช
แฟนฉัน (2546) 13
หัทยา รัตนานนท์
จุก
แฟนฉัน (2546) 14
สุวารี วรศิลป์
กิมเตียง
แฟนฉัน (2546) 15
มัธนา ใจเย็น
โอเล่
แฟนฉัน (2546) 16
ภานุชนารถ สีหะอำไพ
เงาะ
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : รับบทเป็น
จิระ มะลิกุล นายกสโมสรไลอ้อน
ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ หัวหน้าครอบครัวคนจีน
ยงยุทธ ทองกองทุน พ่อตี่
ขจรศักดิ์ นฤภัทร เฮียข้างบ้าน
อัญมณี สุขสันติ์ แม่บอย
อรพรรณ อาจสมรรถ ครู
นิธิวัฒน์ ธราธร
ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ น้อยหน่า (ตอนโต)
สุนทร กิตติกาญจนากร เจ้าบ่าว
จารุภัส ปัทมะศิริ นักร้องงานแต่งงาน
บูลย์ศักดิ์ วัธนวิสิต คนเล่นคีย์บอร์ด
รสสุคนธ์ กองเกตุ เพื่อนร่วมงานเจี๊ยบ
วิชา จิตรารัชต์ เพื่อนร่วมงานเจี๊ยบ
เปมิกา จิตติยากูล พนักงานร้านสูท
ทรงพล สังข์สวน จราจร
สุรรักษ์ ศรีอำคา พระ
วีรชัย ใหญ่กว่าวงศ์ ชายข้ามถนน
ศศิวิมล ตั้งจิตรศรัทธา ช่างทำเล็บ
รัชวิน วงศ์วิริยะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Image Gallery & วีดีโอ[]

Trailer แฟนฉัน (2546)

(Spoil) แฟนฉัน (2546)

เพลง แฟนฉัน Ost. แฟนฉัน (2546)

เกร็ด[]

 ผลงานการกำกับของกลุ่ม 365 ฟิล์ม ของผู้กำกับหนุ่ม 6 คนที่เรียนจบด้านภาพยนตร์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา โดยเล่าเรื่องวัยเด็กในยุคทศวรรษ 2520 ภาพยนตร์สามารถสร้างปรากฏการณ์ทลายกำแพงความเชื่อที่ว่าทำหนังเด็กมักจะไม่ได้เงินลงได้อย่างราบคาบ โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดี และทำรายได้ในการเข้าฉายสูงถึง 137 ล้านบาท
  • ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เกิดขึ้นจากการที่ 3 บริษัทบันเทิงไทยอย่าง จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส ที่พร้อมด้วย แผนการตลาดและโฆษณา, ไท เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการจัดจำหน่าย และ หับโห้หิ้น ฟิล์ม ที่อัดแน่นด้วยทีมงานการสร้างภาพยนตร์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้น อยากบอกเธอรักครั้งแรก ในเว็บไซต์ นิเทศฯ ด็อต เน็ต ที่บอล (วิทยา ทองอยู่ยง) เป็นคนเขียน ในคอลัมน์ Friday I'm In Love มาเปลี่ยนชื่อเป็นแฟนฉัน โดย วิสูตร พูลวรลักษณ์
  • ทั้ง แฟนฉัน และ อยากบอกเธอรักครั้งแรก คือชื่อเพลงของวงชาตรี
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานของการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ 6 คน ในนาม กลุ่ม 365 ฟิล์ม กลุ่มคนรักหนังของเพื่อนๆ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 29 วิชาเอกภาพยนตร์และภาพนิ่ง อันประกอบด้วย นิธิวัฒน์ ธราธร (ต้น), ทรงยศ สุขมากอนันต์ (ย้ง), คมกฤษ ตรีวิมล (เอส), วิทยา ทองอยู่ยง (บอล), วิชชา โกจิ๋ว (เดียว), อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม (ปิ๊ง) โดยมี จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน และ ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ เป็นโปรดิวเซอร์
  • ผู้กำกับ 6 คน ในนาม กลุ่ม 365 ฟิล์ม เขียนบทภาพยนตร์เอง พร้อมกับดึง อมราพร แผ่นดินทอง รุ่นน้องที่เป็นนักเขียนนิตยสารเด็ก มาร่วมเขียนบทด้วย ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้เขียนบทมากถึง 7 คน
  • แจ๊ค เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ เคยมีผลงานแสดงภาพยนตร์สั้นมาก่อน เรื่อง ทำไมต้องเป็นตลก (2544) ซึ่งกำกับโดย วิทยา ทองอยู่ยง
  • บอล วิทยา และ แจ๊ค เฉลิมพล มีบ้านอยู่ละแวกเดียวกัน ทำให้เวลาเพื่อนๆ ที่ไปเยี่ยมบ้าน บอล มักจะคุ้นหน้า แจ๊ค ไปด้วย พอมีการเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงได้มีการใส่ตัวละคร แจ๊ค ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับ แจ๊ค โดยเฉพาะ
  • ฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่โรงเรียนเทพวิทยา อ.บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี, ชายหาดเจ้าสำราญ เทศบาลเพชรบุรี ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร กองพันล่าง จังหวัดเพชรบุรี
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่อยู่ในความทรงจำของคนฟังเพลงยุค 80 มากถึง 19 เพลง ของศิลปิน สาว สาว สาว, วงชาตรี, วงเพื่อน, 18 กะรัต, รอยัลสไปรท์, เดอะฮอตเปปเป้อร์ซิงเกอร์, วงโอเวชั่น, แหวน ฐิติมา สุตสุนทร, วงนกแล เป็นต้น และเพลงพิเศษใหม่จาก ปาล์มมี่ รวมเป็น 20 เพลง
  • นอกจากนี้ ยังมีเพลงเอกจากภาพยนตร์จีนชุดทางโทรทัศน์เรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน และเพลงสากลยอดนิยมในอดีต อย่างเพลง More Than I Can Say ประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายพร้อมกับ Finding Nemo นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต และสามารถทำรายได้มากที่สุดในปีนั้น ด้วยมูลค่าถึง 137 ล้านบาท เอาชนะไปได้อย่างขาดลอย
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้ไปฉายในต่างประเทศอีก 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง และ ญี่ปุ่น และเดินสายไปตามงานเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ เช่น เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี, เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เป็นต้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งด้านกระแสตอบรับและรายได้เป็นอย่างสูง และด้วยความสำเร็จนั้นทำให้บริษัททั้งสาม (จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส, ไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม) ได้ยุบตัวแล้วรวมตัวกันเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2557
  • ในปี พ.ศ. 2566 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือโอกาสกลับเข้าฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้งในเวอร์ชั่นใหม่ ที่ผ่านการ REMASTERED ให้ภาพสดใส คมชัดระดับ 4K เพื่อเป็นการฉลองวาระครบรอบ 20 ปีของภาพยนตร์เรื่องนี้

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 13
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, วิชชา โกจิ๋ว, อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์)
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 12
    • ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์)
  • สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ อวอร์ด ประจำปี พ.ศ. 2546
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, วิชชา โกจิ๋ว, อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, อมราพร แผ่นดินทอง, วิชชา โกจิ๋ว, อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ)
    • กำกับภาพยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร)
  • รางวัลเฉลิมไทย อวอร์ด ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2546
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (โฟกัส จีระกุล)
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์)
    • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "รักครั้งแรก")
  • Starpics Thai Film Awards ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2546
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์)
    • ภาพยนตร์ยอดนิยม
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557)
  • 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
Advertisement