ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟   เพื่อนสนิท (2548)
Dear Dakanda 1

ผลงานใบปิดโดย Doctor Head

Trailer_เพื่อนสนิท

Trailer เพื่อนสนิท

  • ชื่ออังกฤษ : Dear Dakanda
  • ประเภท : Comedy / Romance
  • ผู้กำกับ : คมกฤษ ตรีวิมล
  • บทประพันธ์ : กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา
  • บทภาพยนตร์ : นิธิศ ณพิชญสุทิน
  • กำกับภาพ : ปราเมศร์ ชาญกระแส
  • ลำดับภาพ : วิชชา โกจิ๋ว
  • กำกับศิลป์ : ธาดร คล้ายปักษี
  • ออกแบบงานสร้าง : รัชชานนท์ ขยันงาน
  • อำนวยการสร้าง : จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, เช่นชนนี สุนทรศารทูล
  • บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : จีทีเอช
  • วันที่เข้าฉาย : 6 ตุลาคม 2548
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

คุณเคยแอบรัก "เพื่อน" มั้ย?

กว่า 1500 กิโลเมตร จากทิวเขาและไอหมอกในจังหวัดเชียงใหม่ สู่ไอน้ำเค็มของหมู่เกาะพะงัน จังหวัด สุราษฏ์ธานี ความรักของ ไข่ย้อย หนุ่มนักศึกษาศิลปะ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นสองครั้งสองครากับ เพื่อนสองคน

ที่เชียงใหม่ ไข่ย้อย คือ หนุ่มเมืองกรุงฯ จากโรงเรียนชายล้วนที่แสนขี้อาย เขาไม่กล้าคุยกับผู้หญิง พูดตะกุกตะกักทุกครั้งที่มีสาวๆ เข้ามาทัก เป็นเหตุให้ต้องคอยหลบเลี่ยงอยู่เสมอ จนกระทั่งหญิงสาวท่าทางสดใส กระฉับกระเฉงเกินมาตราฐานสาวเหนือทั่วไปเข้ามาสมัครเป็นเพื่อน เธอชื่อ ดากานดา ซึ่งสำหรับไข่ย้อย ช่างเป็นชื่อที่แปลก แต่มีเสน่ห์สมตัวเจ้าของเป็นที่สุด ไข่ย้อยแอบหลงรักดากานดา แต่ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท เพราะดากานดามีคนที่เธอรักซึ่ง ไม่ใช่เขา

ที่พะงัน ไข่ย้อย คือ หนุ่มศิลป์จากเชียงใหม่ ที่อุตส่าห์ดั้นด้นมาเป็นคนไข้ถึงสถานีอนามัยแห่งเดียวบนเกาะ ไข่ย้อย พลัดตกจากดาดฟ้าเรือขาหักจากการพยายามขึ้นไปเล่นบทพระเอกมิวสิกวิดีโอ ท่ามกลางคนแปลกถิ่นหน้าเข้ม พูดจาเร็วปรื๋อ ไข่ย้อยได้ พยาบาลสาวตาโต ยิ้มเก่งเป็นคนคอยดูแล เธอชื่อ นุ้ย ซึ่งสำหรับไข่ย้อย รอยไมตรีที่เธอจ่ายให้เขาบ่อยกว่าจ่ายยา ทำให้เขาสมัครเป็นคนไข้ไม่มีกำหนดหายอย่างเต็มใจ ไข่ย้อยรู้ว่านุ้ยมีใจให้เขา แต่เธอก็ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท บางทีเธอคงรู้ว่า เขามีคนที่รักซึ่ง ไม่ใช่เธอ

ความรักของคนสามคน เกิดขึ้น สองสถานที่ สองเวลา ความรักของคนคู่ใดจะก้าวพ้นคำว่า เพื่อนสนิท ความรักของไข่ย้อย จะจบลงที่ไหน ภูเขา หรือ ทะเล

นักแสดง[]

Dear Dakanda 41 Dear Dakanda 39 Dear Dakanda 40
ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ศิรพันธ์ วัฒนจินดา มณีรัตน์ คำอ้วน
หมู / ไข่ย้อย ดากานดา นุ้ย
Dear Dakanda 42 Dear Dakanda 45 Dear Dakanda 44 Dear Dakanda 43
ปาณิสรา พิมพ์ปรุ ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ อชิตะ สิกขมานา อิศยม รัตนอุดมโชค
พี่แตน ฟุเหยิน โอ๋ โก้
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : รับบทเป็น
คมกฤษ ตรีวิมล พี่เอ๊ด
เนาวรัตน์ บันสิทธิ์ แม่ของดากานดา
ภูชาย ณ พัทลุง พ่อของดากานดา
ทวีป สุรมาศ ลุงไปรษณีย์
โกศล หาญกล้า ลุงความจำเสื่อม
ภาณุมาศ บุษรานุวงศ์ หมอ
ด.ช.สุรจิต ตราศรี จิ๋ว
Pat L'Argent นักเที่ยวชายชาวฝรั่ง
Debbie Smith นักเที่ยวหญิงชาวฝรั่ง
ทรงยศ สุขมากอนันต์ รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิชชา โกจิ๋ว รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิธิวัฒน์ ธราธร รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิทยา ทองอยู่ยง รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พัฒนฉัตร ศรีเทพ แม่ของไข่ย้อย
สำเนียง แซ่โง้ว ช่างตัดผม
วิฑูรย์ รักปลอดภัย เจ้าชายน้อย
รสสุคนธ์ กองเกตุ สุนัขจิ้งจอก
ต่อพงษ์ กุลอ่อน จิ๊กโก๋ (ฉากถูกตัด)
เมษ ธราธร จิ๊กโก๋ (ฉากถูกตัด)

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ดัดแปลงจากหนังสือสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา เจ้าของรางวัลนายอินทร์ อวอร์ด
  • วิสูตร พูลวรลักษณ์ หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร เป็นผู้ตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เพื่อนสนิท
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเนื้อหาที่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่ ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำไปพร้อมๆ กับเรื่อง วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น (2548) ใช้ฉากบางฉากร่วมกัน และมีตัวละครร่วมกัน คือ ฟุเหยิน (ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ) นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, เช่นชนนี สุนทรศารทูล กำกับภาพโดย ปราเมศร์ ชาญกระแส ออกแบบงานสร้างโดย รัชชานนท์ ขยันงาน กำกับศิลป์โดย ธาดร คล้ายปักษี ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย สุธี เหมือนวาจา บทภาพยนตร์โดย นิธิศ ณพิชญสุทิน และลำดับภาพโดย วิชชา โกจิ๋ว [7]
  • เพลง "ช่างไม่รู้เลย" เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย Peacemaker เป็นเพลงเก่าของ สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ ในอัลบั้มชุด ผู้ชายธนู (พ.ศ. 2533) เพลงนี้แต่งคำร้องโดย โอภาส พันธุ์ดี (นิติพงษ์ ห่อนาค) และทำนองโดย โสฬส ปุณกะบุตร
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ปิดโปรแกรมการฉายไปด้วยรายได้ทั้งหมด 80 ล้านบาท

รางวัล[]

  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
  • คม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มณีรัตน์ คำอ้วน)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
  • รางวัลสตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2548
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ปาณิสรา พิมพ์ปรุ)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
    • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "ช่างไม่รู้เลย" ขับร้องโดย Peacemaker)
  • รางวัลเฉลิมไทย อวอร์ด ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2548
    • ภาพยนตร์ไทยแห่งปี
    • นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์)
    • นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี (ศิรพันธ์ วัฒนจินดา)
    • นักแสดงหญิงในบทสมทบแห่งปี (ปาณิสรา พิมพ์ปรุ)
    • บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
    • เพลงในภาพยนตร์แห่งปี (เพลง "ช่างไม่รู้เลย" ขับร้องโดย Peacemaker)
  • Starpics Thai Films Awards ครั้งที่ 3
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คมกฤษ ตรีวิมล)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มณีรัตน์ คำอ้วน)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)

ดูเพิ่ม[]

Advertisement