ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  ฝนเหนือ (2513)
2513ฝนเหนือ 1

ใบปิดวาดโดย เปี๊ยก โปสเตอร์

  • ประเภท : Comedy / Romance / Drama / Musical
  • ผู้กำกับ : ฉลอง ภักดีวิจิตร
  • บทประพันธ์ : อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม)
  • บทภาพยนตร์ : ส.อาสนจินดา
  • ผู้ถ่ายภาพ : วิสิทธิ์ แสนทวี
  • อำนวยการสร้าง : สุมน ภักดีวิจิตร
  • บริษัทผู้สร้าง : บางกอกการภาพยนตร์
  • จัดจำหน่าย : ละโว้ภาพยนตร์
  • วันที่เข้าฉาย : 30 ธันวาคม 2513 ฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์-เยาวราช
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม.ซีเนมาสโคป พากย์เสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

ทั้งรัก ทั้งร้อง ทั้งรบ!!
บทประพันธ์เยี่ยม ของ อิงอร 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป 9 เพลงเอกอันไพเราะ

เรื่องราวของเชิง ช่อตำแย และเพลิน เดียวดาย สองหนุ่มพเนจรเกิดไปขัดผลประโยชน์ของเสือคล้าม ที่หมายจะเอาที่ดินเขาชมพูของกำนันฉะมาเป็นของตน การห้ำหั่นกันด้วยชั้นเชิงจึงเกิดขึ้น ท่ามกลางความรักระหว่างเชิงกับฝนเหนือ และเพลินกับตุ๊กตุ่น ลูกสาวสุดหวงของกำนันฉะ

ฝนเหนือ สาวน้อยที่เกิดมาท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก ลูกสาวกำนันฉะ ผู้กว้างขวางและคหบดีแห่งหมู่บ้านวังชมพู ที่ต้องร่วมมือกับ เชิง ช่อตำแย หนุ่มกะล่อนนักถ่ายรูป เพลิน เดียวดาย หนุ่มขี้เหงาหัวใจว้าเหว่ และไว ว่องวิทย์ หนุ่มบ้านนอกขี้กลัว เพื่อกำจัดเสือคร้าม ที่ปลอมตัวเป็นนักธุรกิจเพื่อที่จะมากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นฐานในการผลิตยาเสพติด

นักแสดง[]

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ในปี พ.ศ. 2514
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ ฉลอง ภักดีวิจิตร ทำการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ในระบบซีเนมาสโคป สร้างในนาม บางกอกการภาพยนตร์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จมาแล้วจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ฝนใต้ (2513)
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงลูกทุ่งประกอบในภาพยนตร์จำนวน 9 เพลง เช่น เพลงหาคู่ (เพลิน) หนุ่มตะลุงมุ่งเหนือ (ไวพจน์) คนขี้เกียจ (ไวพจน์) ฝนซาฟ้าใส (ยุพิน) รักก็บอก (เพลิน) หิว (ด.ช.ปรีชา) เป็นต้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกซื้อลิขสิทธิ์มาทำเป็นวีซีดีออกจำหน่าย โดยค่ายพันธมิตร
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างอีกครั้งเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2550 กำกับโดย เฉิด ภักดีวิจิตร (ลูกชายของ ฉลอง ภักดีวิจิตร)
Advertisement