ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  สุริโยไท (2544)
สุริโยไท (2544) 3

ผลงานใบปิดโดย Doctor Head

  • ชื่ออังกฤษ : The Legend of Suriyothai
  • ประเภท : Action / Adventure / Drama / History / War
  • ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
  • บทภาพยนตร์ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
  • ผู้ช่วยกำกับ / ผู้กำกับกอง 2 : เปี๊ยก โปสเตอร์
  • กำกับภาพ : Igor Luther, Stanislav Dorsic, อานุภาพ บัวจันทร์
  • ลำดับภาพ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, ม.ร.ว. ปัทมนัดดา ยุคล, Collin Green
  • กำกับศิลป์ : ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล, ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน์, เจษฎา ผันอากาศ
  • ดนตรีประกอบ : Richard Harvey
  • บันทึกเสียง : Conrad Bradley Slater
  • อำนวยการสร้าง : หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
  • บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : พร้อมมิตรโปรดักชั่น, สหมงคลฟิล์ม
  • วันที่เข้าฉาย : 17 สิงหาคม 2544
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

หนึ่งวีรสตรี หาญกล้า พลิกหล้า ดับร้อนแผ่นดินเพลิง

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และ พระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระบรมดิลก, (พระวิสุทธิ์กษัตริย์) และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายา วัย 17 พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้น บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา

5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์ แผ่บุญญาธิการ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์ อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจาก ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นาน ก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช

นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นเรื่องราวความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์ "สุริโยไท" ที่พลีชีพเพื่อรักษาอาณาจักรอยุธยา

นักแสดง[]

Suriyothai 1 Suriyothai 2 Suriyothai 3 Suriyothai 4
ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช ใหม่ เจริญปุระ
สมเด็จพระสุริโยไท สมเด็จพระเฑียรราชา
(พระมหาจักรพรรดิ)
ขุนพิเรนทรเทพ
(พระมหาธรรมราชา)
ท้าวศรีสุดาจันทร์
Suriyothai 5 Suriyothai 6 Suriyothai 7 Suriyothai 20
จอนนี่ แอนโฟเน่ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง สินจัย เปล่งพานิช เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
ขุนวรวงศา สมเด็จพระไชยราชาธิราช ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มหาเทวีจิระประภา
Suriyothai 8 Suriyothai 10 Suriyothai 11 Suriyothai 12
สรพงศ์ ชาตรี วรรณษา ทองวิเศษ อำพล ลำพูน ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
หมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) พระอัครชายา ขุนอินทรเทพ หลวงศรียศ
สุเชาว์ พงษ์วิไล
สมเด็จพระหน่อพุทธางกูร
พิศาล อัครเศรณี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
มานพ อัศวเทพ
ออกญาสวรรคโลก
  • ฝ่ายพม่า
Suriyothai 15
ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์
พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ (พระเจ้าตะเบงชเวตี้)
สหรัถ สังคปรีชา
พระมหาอุปราชา (บุเรงนอง)
รณ ฤทธิชัย
พระเจ้าแปร
สมบัติ เมทะนี
เมงเยสีหตู
วรุต วรธรรม
สีหตู

นักแสดงสมทบ-รับเชิญ :[]

Image Gallery & วีดีโอ[]

Trailer สุริโยไท (2544)

เพลง อยู่คู่แผ่นดินนี้ Ost. สุริโยไท (2544)

ศิลปิน : นันทนา บุญ-หลง

(Spoil) สุริโยไท (2544)

เกร็ด[]

 สุริโยไท (อังกฤษ: The Legend of Suriyothai) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 เป็นผลงานการกำกับของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สร้างโดยบริษัท พร้อมมิตรโปรดักชั่น จำกัด โดยมี หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการสร้าง และได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานจากบุคคล และองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวละครเอก คือ พระสุริโยไท พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 69 พรรษา ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ว่าทรงเป็นห่วงประวัติศาสตร์ไทย เพราะเริ่มห่างหายไปจากความรับรู้และการให้ความสำคัญของชาวไทยร่วมสมัย
สุริโยไท (2544) 1

นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 2 กันยายน 2544

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องโดยอิงจากคำบอกเล่าของโดมิงโก ดือ ซีซัส (Domingos De Seixas) ทหารรับจ้างของชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอโยธยาช่วง พ.ศ. 2067-2092
  • จากชื่อเดิม "สุริโยทัย" เปลี่ยนเป็น "สุริโยไท" ใช้ทั้งชื่อตัวละคร และชื่อภาพยนตร์ ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และเป็นคำไทยโบราณที่ใช้ในยุคสมัยนั้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ทุนสร้างมหาศาลกว่า 400 ล้านบาท นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีทุนสร้างมากที่สุดในขณะที่ออกฉาย
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาสร้างนานกว่า 5 ปี โดยแบ่งเป็นเวลาในการเขียนบท 2 ปี และถ่ายทำ 3 ปี โดยมีนักประวัติศาสตร์ที่คอยช่วยให้คำปรึกษา และมีจำนวนผู้แสดงนำ และนักแสดงประกอบรวมสูงถึง 2,000 กว่าคน จนกลายออกมาเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนไหวได้ในรูปแบบของภาพยนตร์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับศิลป์โดย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล, ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน์, เจษฎา ผันอากาศ ฉากส่วนมากจะใช้สถานที่ถ่ายทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอยุธยา โดยทางทีมงานภาพยนตร์ได้ก่อสร้างฉากต่างๆ ขึ้นมาใหม่หมด ไม่ว่าจะเป็นฉากพระราชวัง ฉากหมู่บ้านสมัยอยุธยา ฉากหมู่บ้านตีดาบ เป็นต้น และบางฉาก ทางทีมงานก็ได้ใช้สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์จริงในการถ่ายทำ
  • การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้จะมี 2 กองถ่าย เพื่อความสะดวก และเป็นการใช้เวลาในการทำงานอย่างคุ้มค่า ในส่วนของ เปี๊ยก โปสเตอร์ จะเป็นผู้กำกับกองที่ 2
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย โกมล พานิชพันธ์, อัครเดช นาคบัลลังก์, มีชัย แต้สุจริยา, เผ่าทอง ทองเจือ เครื่องแต่งกายในแต่ละชุด ของตัวละครของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้ออกแบบและทีมงานฝ่ายเสื้อผ้า จะต้องศึกษาในรายละเอียดมากมาย จากข้อมูลที่ต่างๆ ที่ยังคงปรากฎอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร หนังสือจดหมายเหตุ ภาพจิตรกรรม ภาพประติมากรรมปูนปั้น รวมไปถึงบทภาพยนตร์จากผู้กำกับ และคาแร็คเตอร์ของตัวละคร ทั้งนี้ เพื่อให้การออกแบบเสื้อผ้า เครื่องประดับ และทรงผม ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ค้นคว้ามา และตรงกับบุคลิกของตัวละคร โดยเสริมจินตนาการบางส่วน เพื่อให้ทุกอย่างสมจริงมากที่สุด
  • สำหรับผู้ที่ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ ริชาร์ด ฮาร์วี่ นักประพันธ์เพลงชาวอังกฤษ ซึ่งจะเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีสากล โดยใช้วงออเครสต้าร์ขนาดใหญ่ ผสมกับเครื่องดนตรีไทย ซึ่งจะมีกลอง ระนาด ฆ้องวง เป็นต้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยที่อยู่ในปลายช่วงของยุคพิษเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ด้วยรายได้ 324.5 ล้านบาท ในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดเชียงใหม่
  • ภายหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องมาทำเพิ่มเป็นฉบับสมบูรณ์ ที่ตัดต่อโดยผู้กำกับระดับโลก ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า ที่มีความยาว 5 ชั่วโมง เพื่อจะฉายในตลาดต่างประเทศในชื่อว่า The Legend of Suriyothai

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2544
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลพิเศษ
    • ภาพยนตร์ยอดนิยม (ทำรายได้สูงสุดตั้งแต่วันที่เข้าฉาย-วันประกาศผล)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)
  • 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ

ดูเพิ่ม[]

Advertisement