ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟   ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2477)
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2476)

นสพ.สยามราษฎร์ พ.ศ. 2477

  • ประเภท : Adventure / Fantasy / Horror / Sci-Fi / ขาว-ดำ
  • ผู้กำกับ : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
  • บทประพันธ์ : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
  • บทภาพยนตร์ : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
  • ผู้ถ่ายภาพ : หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต)
  • ผู้ลำดับภาพ : กระเศียร วสุวัต
  • บันทึกเสียง : กระเศียร วสุวัต
  • เพลงประกอบ : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
  • อำนวยการสร้าง : มานิต วสุวัต
  • บริษัทผู้สร้าง : ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง แบบวสุวัต
  • วันที่เข้าฉาย : 10 เมษายน 2477 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง-พัฒนากร
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์ขาว-ดำ (บางฉากถ่ายด้วยฟิล์มสี) บันทึกเสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ

ภาพยนตร์ไทยดัดแปลงจากนิทานปรัมปราเกี่ยวกับวิญญาณชายชราผู้มีหน้าที่เฝ้าขุมสมบัติโบราณ การผจญภัยตื่นเต้นโลดโผนของพระเอก (เสน่ห์ นิลพันธ์) กับนักวิทยาศาสตร์ (ปลอบ ผลาชีวะ) และสองสหายสาว ที่พบขุมสมบัติโบราณซึ่งมีวิญญาณปู่โสมและบริวารรวมทั้งฝูงงูพิษเฝ้าพิทักษ์รักษา ปู่โสมขุดเอาคนตายไปเป็นบริวาร พาไปไว้ในถ้ำ นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งจึงคิดฉีดยาพระเอก ให้สลบแล้วไปฟื้นในถ้ำได้ต่อสู้กับผีและงูใหญ่

นักแสดง

  • เสน่ห์ นิลพันธ์
  • ปลอบ ผลาชีวะ
  • มณี มุญจนานนท์
  • องุ่น เครือพันธ์

Image Gallery & วีดีโอ

เกร็ด

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สีเรื่องแรกๆของไทย (บางฉากถ่ายด้วยฟิล์มสีและขาวดำ) และยังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่วงการเพลงไทย ด้วยการให้กำเนิดเพลงไทยสากลขึ้นมาเป็นครั้งแรกจากภาพยนตร์เรื่องนี้อีกด้วย
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยแนวผจญภัย ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 35 มม. ไวด์สกรีน ขาวดำ (บางฉากถ่ายด้วยฟิล์มสี) บันทึกเสียงในฟิล์ม ในนามภาพยนตร์เสียงศรีกรุงแบบวสุวัต ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีการย้อมสีเป็นบางฉากเรื่องแรกของไทย
  • ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้สร้างเครื่องถ่ายแบบฟิล์มคู่แบบที่เริ่มใช้ในฮอลลีวู้ดสมัยนั้น ซึ่งมีกล้องถ่ายเสียงแยก เดินพร้อมกับกล้องภาพด้วยเครื่องไฟฟ้า หลังจากทดลองเป็นผลสำเร็จ เรียกชื่อว่า แบบวสุวัต แล้วได้นำมาใช้ถ่ายทำเรื่องใหม่ที่เตรียมไว้ทันที
  • ขณะนั้นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สยองขวัญเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein) ที่กำลังได้รับความนิยม ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงจึงนำนิทานผีไทยมาดัดแปลง
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยริเริ่มให้นักแสดงแต่งตัวแนวสากลนิยมรวมถึงชุดเดินป่าใส่รองเท้าบูท และมีเพลงไทยแนวสากลจังหวะรัมบ้าประกอบเรื่องครั้งแรก แทนเพลงไทยเดิมที่เคยใช้ในภาพยนตร์ หลงทาง (2475) ก่อนหน้านี้
  • สถานที่ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แก่ โรงถ่ายบ้านสะพานขาว (ฉากภายในห้อง กระท่อม สวน ป่าในตอนกลางคืน) บริเวณวังเพ็ชรบูรณ์ (ฉากป่าตอนกลางวัน) ตึกสร้างใหม่แถววัฒนาวิทยาลัย (ฉากลานบ้านของตึกร้าง) และ ถนนราชดำริ (ฉากพระเอกขับรถคุยกับนางเอก)
  • ฉากพระเอกและชาวบ้านสู้กับผีดิบ อีกฉากหนึ่งที่พระเอกต้องเผชิญงูจงอางขนาดใหญ่แผ่พังพานสูงกว่าศีรษะ งูฉกขาตั้งกล้องใหญ่ล้มกระเด็นถึง 2-3 ครั้ง ฉากพระเอกตกลงในบ่อขุมทรัพย์ที่ล้อมรอบด้วยงูเห่าชูคอแผ่พังพานสลอน โดยนายแพทย์สถานเสาวภาคุมตลอด
  • ฉากพระเอกขับรถคุยกับนางเอก ใช้ถนนราชดำริ (ข้างสนามม้าและสวนลุมพินีในปัจจุบัน) ซึ่งสมัยนั้นเป็นเพียงทางราดยางแคบๆ มีไม้ใหญ่สองข้างทางตัดผ่านทุ่งและสุมทุมพุ่มไม้ ไม่ค่อยมีเสียงอื่นรบกวนเหมาะสำหรับการถ่ายทำหนังเสียงและสมัยนั้นยังไม่มีรถอัดเสียงใช้ กองถ่ายต้องถอดเครื่องอัดเสียงและกล้องจากโรงถ่ายมาติดตั้งในรถบรรทุกวิ่งนำหน้าพร้อมติดไมโครโฟนไว้ที่รถตัวแสดงแล้วโยงสายไฟมาที่รถบรรทุกตลอดทาง ถ่ายเสร็จก็ถอดอุปกรณ์ต่างๆไปติดตั้งคืนที่เดิมในห้องอัดเสียงของโรงถ่าย วันหลังจะถ่ายต่อก็ถอดเอามาใส่รถบรรทุกใหม่
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการทดลองถ่ายฉากลานตึกตอนกลางวันและฉากสวนที่บ้านสะพานขาวตอนกลางคืนด้วยฟิล์มและล้างน้ำยาพิเศษให้ออกสีได้ ซึ่งเพิ่งเริ่มมีในต่างประเทศ แต่ไม่นิยมเพราะต้องลงทุนสูงกว่าหนังขาวดำถึงเท่าตัวและสียังไม่ดี
  • เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้คือเพลง ลาทีกล้วยไม้ แต่งโดยเรือโท มานิต เสนะวีณิน (ทำนอง) และขุนวิจิตรมาตรา (คำร้อง) ขับร้องโดยนางเอก องุ่น เครือพันธ์ ซึ่งเป็นเพลงสากลที่มีโน้ตแบบฝรั่งแล้วใส่คำไทย เป็นเพลงไทยสากลที่มีการขับร้องเป็นครั้งแรก เพลงต้นฉบับบันทึกลงแผ่นเสียงครั้ง 78 (ตามข้อมูลรายการเพื่อนฝัน สวท 891) ต่อมาบันทึกใหม่โดย จินตนา สุขสถิตย์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายพร้อมกันที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงและพัฒนากร ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2476 ก่อนฉายทีมงานคิดริเริ่มให้มีการโชว์ตัวนางเอกทั้งคู่ร้องเพลงในเรื่องบนเวทีทุกรอบเป็นครั้งแรกของวงการด้วย ผลปรากฏว่าคนดูแน่นเป็นประวัติการณ์ จนรั้วเหล็กของเฉลิมกรุงด้านถนนเจริญกรุงพังทั้งแถบ ส่วนด้านโรงภาพยนตร์พัฒนากร ประตูใหญ่ของโรงหลุดจากฝาผนังล้มลงมาทั้งกรอบ (ตามข้อมูลจากหนังสือของกาญจนาคพันธุ์ หน้า 52-53, 115-116)
Advertisement