- ประเภท : Drama / Romance / Musical
- ผู้กำกับ : เปี๊ยก โปสเตอร์
- บทประพันธ์ : เปี๊ยก โปสเตอร์
- บทภาพยนตร์ : วิษณุศิษย์
- ผู้กำกับบท : นันทวัติ
- ผู้ถ่ายภาพ : พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล, มนัส โตเพราญาติ
- ผู้ลำดับภาพ : ประกอบ แก้วประเสริฐ
- อำนวยการสร้าง : ชวยไชย เตชศรีสุธี
- บริษัทผู้สร้าง : สุวรรณฟิล์ม
- จัดจำหน่าย : อัศวินภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 2 สิงหาคม 2513 ฉายที่ศาลาเฉลิมไทย
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สีอิสต์แมน 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม
เรื่องย่อ[]
- เปี๊ยกโปสเตอร์ และนิตยสารดาราภาพ STARPICS เสนอ 7 เพลงเอกใน... โทน
- ระบบ 35 ม.ม. รามาสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สุวรรณฟิล์ม สร้าง
โทน (ไชยา สุริยัน) หนุ่มกำพร้า อาศัยอยู่กับหลวงตาในชนบท โทนเป็นคนหน้าตาดี ฉลาด เรียนจบช่างยนต์ มีน้ำใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่น สังข์ทอง (สังข์ทอง สีใส) เพื่อนรักของโทนเป็นลูกศิษย์วัดด้วยกัน ชอบร้องเพลง ทั้งสองสาบานว่าจะเป็นเพื่อนตายจนกว่าชีวิตจะหาไม่
โทนไม่สมหวังในเรื่องรักเช่นเดียวกับกุหลาบ (จารุวรรณ ปัญโญภาส) สาวผู้ที่มีอันจะกิน มีแต่สังข์ที่ใช้เพลงเป็นเพื่อนปลอบใจ แต่ไม่นานสงข์ก็ถูกยิงตกเขาตายในขณะที่โทนได้เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการช่วยเหลือของอ๊อด (สายัณห์ จันทรวิบูลย์) จึงได้พบกับแดง (อรัญญา นามวงศ์) สาวสังคมที่มีนิสัยเย่อยิ่งและเกลียดขี้หน้าโทนอย่างไม่มีเหตุผล แต่เมื่อแดงถูกอิทธิพล (สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์) ฉุดไปแต่โทนช่วยแตงออกมาได้ ทำให้แตงเริ่มมองเห็นความดีของโทนที่คอยช่วยเหลือแต่เกิดเหตุร้ายขึ้นเมื่อแดงกับกุหลาบ ถูกคนร้ายจับตัวไป โทนและอ๊อดจึงตามไปช่วย
เรื่องราวของ โทน เด็กวัดที่ได้เข้าไปเรียนที่กรุงเทพฯ ด้วยความอนุเคราะห์ของ อ๊อด ซึ่งโทนเคยช่วยชีวิตไว้ ที่นั่น โทนได้พบกับ แดง น้องสาวของอ๊อด ที่เขาใช้ความดีจนสามารถเอาชนะใจเธอได้ แต่ความรักของทั้งคู่ก็มีอุปสรรคสำคัญคือ อิทธิพล หนุ่มใหญ่ผู้กว้างขวางที่มีแผนร้ายจะครอบครองแดง
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
ไชยา สุริยัน | โทน / เปิ่น |
อรัญญา นามวงศ์ | แดง |
สายัณห์ จันทรวิบูลย์ | อ๊อด |
จารุวรรณ ปัญโญภาส | กุหลาบ |
สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ | อิทธิพล |
รุจน์ รณภพ | รุจน์ |
พูนสวัสดิ์ ธีมากร | นิพนธ์ |
สังข์ทอง สีใส | สังข์ทอง |
เสริมพันธ์ สุทธิเนตร | |
จุรี โอศิริ | |
จอมใจ จรินทร์ | |
ทองแถม เขียวแสงใส | |
พิภพ ภูภิญโญ่ | |
หมี หมัดแม่น | |
โทน น้ำจันทร์ | |
จุไรรัตน์ พรหมสุดา | |
วงดิอิมพอสซิเบิ้ล |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่กำกับการแสดงโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ (สมบูรณ์สุข นิยมศิริ) และเป็นภาพยนตร์ไทยที่ผู้สร้างตั้งใจจะหนีจากคำประณามที่ว่าหนังไทยน้ำเน่า ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำรายได้สูงถึง 6 ล้านบาท พลิกประวัติศาสตร์หนังไทยในยุคนั้น
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยกลุ่มผู้ทำนิตยสารดาราภาพ (Starpics) โดยใช้ชื่อว่า สุวรรณฟิล์ม ซึ่งต้องการสร้างภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. เพื่อเปลี่ยนยุคหนัง 16 มม. สู่มาตรฐานโลก และมี ชวนไชย เตชศรีสุธี เป็นผู้อำนวยการสร้าง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับการแสดงโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ (สมบูรณ์สุข นิยมศิริ) ช่างเขียนโปสเตอร์หนังที่จับพลัดจับผลูมาเป็นผู้กำกับหนัง ทั้งๆที่ยังไม่มีประสบการณ์ เปี๊ยกจึงต้องไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการสร้างหนังที่โรงถ่ายหนังไดเอะประเทศญี่ปุ่นก่อนและเปี๊ยกยังเป็นผู้เขียนเรื่องโทน เขียนบทหนังเองโดยเปี๊ยกอาศัยความถนัดด้านการวาดภาพมาประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพประกอบบทหนังทุกคัดทุกตอน
- นอกจากนี้ เปี๊ยกยังเป็นผู้คัดเลือกดารานำแสดงต่างๆ ด้วยตนเอง แม้ว่าจะถูกติงเรื่องการเลือก ไชยา สุริยัน มาเป็นพระเอก ซึ่งคนมองว่าขณะนั้นตกกระแสไปแล้ว และยังนำดาราหน้าใหม่มาแสดงจนสายหนังไม่กล้าซื้อในช่วงแรก แต่ทีมงานสุวรรณฟิล์มก็ฝ่าฟันและทำภาพยนตร์ออกมาจนสำเร็จ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ สังข์ทอง สีใส โดยเปี๊ยกโปสเตอร์ได้สร้างตัวละครที่สังข์ทองแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เป็นที่รักของคนดูและเปี๊ยกก็ทำในสิ่งที่ไม่นิยมทำในภาพยนตร์ไทยก่อนหน้านั้นคือให้ตัวละครที่คนรักตัวนี้ถูกฆ่าตายตั้งแต่กลางเรื่อง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นเรื่องแรกที่สร้างปรากฏการณ์ที่เขียนบทให้นางเอกโดนข่มขืนสำเร็จ ซึ่งภาพยนตร์ในยุคก่อนหน้านั้น พระเอกจะตามไปช่วยทันเสมอ จึงนับได้ว่าอรัญญา เป็นนางเอกภาพยนตร์ไทยคนแรกที่มีบทถูกข่มขืนโดยตัวร้าย (สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์)
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย สังข์ทอง สีใส และวงดิอิมพอสซิเบิ้ล โดยวงนี้ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ในฐานะวงดนตรีที่มาร้องเพลงเปิดเรื่อง
- เพลง โทน ที่เป็นเพลงนำของเรื่อง ขับร้องโดย สังข์ทอง สีใส ซึ่งเพลงนี้ทำให้สังข์ทองแจ้งเกิดอย่างเต็มตัว ในฐานะหนึ่งในนักแสดงนำของเรื่องและนักร้อง โดยเพลงนี้ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเพลงประจำตัวของสังข์ทองในเวลาต่อมา
- เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย เกิดกระแสปากต่อปากในเรื่องความมีเหตุผลของบทหนัง สามารถทำรายได้สูงถึง 6 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 รองจากภาพยนตร์เพลงของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง (2513) เรียกได้ว่าเป็นกระแสให้เกิดการสร้างภาพยนตร์ระบบ 35 มม.เพิ่มมากขึ้น
- จากภาพยนตร์เรื่องนี้เองส่งผลให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ลูกแรกของภาพยนตร์ไทยสมัยใหม่ ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า เป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ของวงการ และกลายเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน 2 ทศวรรษต่อมา
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2554
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง ทางช่อง 3, ไอทีวี และช่อง 7 ตามลำดับ ซึ่งเนื้อเรื่องจะแตกต่างกับภาพยนตร์มาก แต่ยังคงใช้ชื่อตัวละครเดิมอยู่
รูปแบบการนำเสนอ | ภาพยนตร์ | ละครช่อง 3 | ละครช่อง itv | ละครช่อง 7 |
พ.ศ. 2513 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2556 | |
---|---|---|---|---|
โทน / เปิ่น | ไชยา สุริยัน | สันติสุข พรหมศิริ | วินัย ไกรบุตร | ชนะพล สัตยา |
แดง / หนูแดง | อรัญญา นามวงศ์ | จันจิรา จูแจ้ง | เมทินี กิ่งโพยม | อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ |
อ๊อด | สายัณห์ จันทรวิบูลย์ | ศานติ สันติเวชชกุล | ทัตพงษ์ พงษทัต | ภาณุ สุวรรณโณ |
กุหลาบ / โรส | จารุวรรณ ปัญโญภาส | รัญญา ศิยานนท์ | ศิกานต์ เจริญพาณิชย์ | อธิชนัน ศรีเสวก |
สังข์ทอง / สังข์ | สังข์ทอง สีใส | เกียรติ กิจเจริญ | โหน่ง ชะชะช่า | บอล เชิญยิ้ม |
อนุสรณ์[]
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ