- ชื่ออังกฤษ : Black Silk
- ประเภท : Drama / Crime / Thriller
- ผู้กำกับ : รัตน์ เปสตันยี
- บทประพันธ์ : รัตน์ เปสตันยี
- บทภาพยนตร์ : รัตน์ เปสตันยี
- ผู้กำกับภาพ : รัตน์ เปสตันยี, เอเดิ้ล เปสตันยี
- ผู้ลำดับภาพ : รัตน์ เปสตันยี
- ผู้กำกับศิลป์ : สวัสดิ์ แก่สำราญ
- ดนตรีประกอบ : ปรีชา เมตไตรย์
- บันทึกเสียง : ปง อัศวินิกุล
- อำนวยการสร้าง : รัตน์ เปสตันยี
- บริษัทผู้สร้าง : หนุมานภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 22 มิถุนายน 2504 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สีอีสต์แมน เสียงในฟิล์ม 35 มม.ซีนีมาสโคป
เรื่องย่อ[]
เรื่องของสตรี ผู้ประสบชะตากรรมอย่างหนักหน่วง เพราะแรงรัก และแรงโลภของผู้ชาย ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเธอ... ฉายในประเทศไทยพร้อมกับประเทศเยอรมัน
ทม คนคุมไนท์คลับผู้ปักใจรัก แพร หญิงหม้ายลูกติด ด้วยอยากจะฉุดให้เธอพ้นทุกข์เหลือเกิน เขาจึงไขว่คว้าหางานที่สร้างความร่ำรวยอย่างรวดเร็ว นั่นคือการร่วมมือกับ เสนีย์ เจ้าของไนท์คลับ เพื่อทำการฆาตกรรมหวังมรดกก้อนโตที่เสนีย์ควรได้ แต่แล้วการดึงเอาแพร เข้ามามีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ของเขาจบลง ซ้ำร้ายหลังเหตุการณ์นั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องต่างเผชิญทุกข์สาหัสด้วยผลกรรมตามติดทันตา จนยากจะมีชีวิตดั่งเดิมได้อีก
นักแสดง[]
- รัตนาวดี รัตนาพันธ์ – แพร
- ทม วิศวชาติ – ทม
- เสณี อุษณีษาณฑ์ – เสนีย์ / เสมา (ลุงของทม)
- ศรินทิพย์ ศิริวรรณ – อาแดง
- จมื่นมานพนริศร์
- พิชิต สาลีพันธ์
- จุรัย เกษมสุวรรณ
- ชั้น พันธุวัต
- ถวัลย์ วรวิบูล
- เชาว์ นิ่มเจริญ
- จรัญญา สว่างอัมพร
- สมจิตต์ วิลเจริญ
- ทัศนีย์ ชูวสุวัติ
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
แพรดำ เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2504 เป็นผลงานการกำกับของ รัตน์ เปสตันยี เป็นผลงานที่แสดงวิสัยทัศน์ล้ำยุคของ รัตน์ เปสตันยี ที่จะผสมผสานรูปแบบฟิล์มนัวร์ (Film Noir) หรือภาพยนตร์ที่นิยมแสดงด้านมืดของมนุษย์และสังคม กับคำสอนพุทธศาสนาว่าด้วยเรื่องของกรรม ที่มาพร้อมบทหนังผูกเรื่องได้อย่างฉลาดและซับซ้อน เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ที่นำสมัยกว่าภาพยนตร์ไทยในยุคเดียวกัน |
- ฟิล์มนัวร์ (อังกฤษ: Film Noir) ชื่อเรียกประเภทของภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง โดยที่คำว่า "Noir" เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "ดำ" หากจะแปลกันตรงๆ ตัว ฟิล์มนัวร์ จึงแปลว่า "ฟิล์มดำ" หรือ "ภาพยนตร์ดำ" หรือ "ภาพยนตร์มืด" มักจะมีการใช้แสงสีมืดทึบ หรือขาวดำเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงด้านมืดในใจมนุษย์
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 35 มม. สี เสียงซีนีมาสโคป ที่ให้ภาพจอกว้างเต็มตา
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์อาชญกรรมที่ถือได้ว่าเป็นฟิล์มนัวร์เรื่องแรกของเมืองไทย ผสมผสานองค์ประกอบที่ตีแผ่ให้เห็นด้านมืดของปุถุชนคนธรรมดา
- รัตนาวดี รัตนาพันธ์ เป็นบุตรสาวคนโตของ รัตน์ เปสตันยี ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งแสดงนำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในบทของ แพร หญิงหม้ายลูกติดที่สวมชุดสีดำเพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการสร้างบุคลิกที่ชัดเจนแก่ตัวละคร ในช่วงท้ายของเรื่องซึ่งแพรได้หันหน้าเข้าหาความสงบจากพระธรรม และเพื่อจะให้ภาพสร้างจริงจึงให้โกนหัวบวชชีจริง ว่ากันว่าเป็นครั้งแรกของภาพยนตร์ไทยอีกเช่นกันที่นักแสดงหญิงลงทุนโกนหัวจริงๆ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนประมาณ 2 ล้านบาท กำกับภาพโดย รัตน์ เปสตันยี, เอเดิ้ล เปสตันยี (ลูกชายคนเล็กของรัตน์ ขณะนั้นอายุ 14 ปี) กำกับศิลป์โดย สวัสดิ์ แก่สำราญ และบันทึกเสียงโดย ปง อัศวนิกุล แทบจะกล่าวได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกผลิตออกมาด้วยฝีมือของคนๆเดียว เพราะ รัตน์ เปสตันยี รับหน้าที่กำกับการแสดง-เขียนบท-อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ-ลำดับภาพ และยังแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้เองด้วย
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำดนตรีประกอบโดย ปรีชา เมตไตรย์ และคณะดุริยประณีต โดยมีการใช้ทั้งเพลงไทยเดิม เพลงสากลประกอบในภาพยนตร์ และมีเพลงประกอบ 2 เพลงที่แต่งขึ้นใช้ประกอบภาพยนตร์คือ กล่อมโลก ขับร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร และ ขี่ควายชมจันทร์ ขับร้องโดย เกษม ชื่นประดิษฐ
- เทคนิคการวางองค์ประกอบภาพ การจัดแสงและสี เป็นจุดเด่นสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ รัตน์ เปสตันยี ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้กำกับภาพด้วยตัวเอง ใช้การจัดแสงที่มีความเปรียบต่างสูง (High contrast) เพื่อให้เกิดลักษณะแสงที่กระด้าง ช่วยทำให้สีในหนังอิ่มตัว โดยเฉพาะสีแดง และมีเงาปรากฏอย่างชัดเจน ถือเป็นลักษณะสำคัญของการจัดแสงในฟิล์มนัวร์ ช่วยขับเน้นให้เนื้อหาของหนังที่พูดถึงความชั่วร้ายในจิตใจมนุษย์ ให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น
- การบันทึกเสียงจริงของนักแสดงกลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ภาพยนตร์ของ รัตน์ เปสตันยี โดดเด่นและสมจริง เสียงจริงของนักแสดงเหล่านี้สามารถสื่ออารมณ์ของการแสดงให้ผู้ชมได้ดีกว่าการพากย์ที่เป็นที่นิยมกันในยุคสมัยนั้นอย่างมาก
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สองที่ได้รับเชิญให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเบอร์ลิน (Berlin Film Festival) ในปี พ.ศ. 2504 และได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงาน แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลใดๆ กลับมา แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำมาจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี โดย มูลนิธิหนังไทย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ รัตน์ เปสตันยี กำกับและอำนวยการสร้าง
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505
- ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ