ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  เลือดสุพรรณ (2522)
เลือดสุพรรณ (2522) 1
  • ประเภท : Drama / History / War
  • ผู้กำกับ : เชิด ทรงศรี
  • บทประพันธ์ : หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
  • บทภาพยนตร์ : ธม ธาตรี (เชิด ทรงศรี)
  • ผู้ถ่ายภาพ : กวี เกียรตินันท์
  • ผู้ลำดับภาพ : คชา ราชประทาน, จันนิภา เจตสมมา
  • ผู้กำกับศิลป์ : อุไร ศิริสมบัติ
  • ดนตรีประกอบ : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง, ลัดดา สารตายน
  • อำนวยการสร้าง : เชิด ทรงศรี
  • บริษัทผู้สร้าง : เชิดไชยภาพยนตร์
  • วันที่เข้าฉาย : 29 ธันวาคม 2524 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

ถ้าอยู่ไม่ได้อย่างไทย เรามาสู้ตายพร้อมกัน 70 ม.ม.เสียงสเตอริโอรอบทิศ

ในปี พ.ศ. 2308 ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านยังคงอยู่กันอย่างสงบสุข แม้จะมีข่าวศึกจากกรุงอังวะ แต่ก็คิดกันว่าเป็นหน้าน้ำหลากพม่าไม่สะดวกในการเดินทัพคงจะไม่ยกทัพมา

คืนวันหนึ่งมีกลุ่มโจรบุกเข้าปล้นหมู่บ้านและฉุดดวงจันทร์ (ลลนา สุลาวัลย์) ลูกสาวของหัวหน้าหมู่บ้านไป แต่ระหว่างทางปรากฎชายหนุ่มลึกลับผู้มีฝีมือการต่อสู้ยอดเยี่ยมเข้าช่วยเหลือ เหล่าโจรสู้ไม่ได้จึงพากันหนีไป เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนไม่สะดวกในการเดินทาง ชายหนุ่มลึกลับจึงพาดวงจันทร์ไปพักที่กระท่อมร้าง และบอกว่าตนเองชื่อทับ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เป็นทหารสอดแนมจากกรุงศรีอยุธยา และวันรุ่งขึ้นทับก็พาดวงจันทร์กลับคืนไปหาพ่อแม่ที่หมู่บ้าน

ด้วยความประมาทของคนไทย กองทัพพม่าสามารถบุกเข้ายึดเมืองสุพรรณบุรีได้โดยง่ายดาย รวมทั้งหมู่บ้านที่ดวงจันทร์อาศัยอยู่ ดวงจันทร์เอาตัวรอดโดยการปลอมตัวเป็นผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคนต้องถูกทหารพม่าข่มขืน เพื่อนของดวงจันทร์ถูกฉุดไปให้มังระโธ (สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์) นายกองปีกขวา แต่ถูกขัดขวางโดยมังราย (ไพโรจน์ สังวริบุตร) นายกองปีกซ้ายผู้เป็นบุตรของมังมหาสุรนาถ (ส.อาสนจินดา) แม่ทัพใหญ่ผู้คุมทัพมาในครั้งนี้ มังระโธต่อสู้กับมังรายและพ่ายแพ้ จึงผูกอาฆาตต่อมังราย

อ่านต่อ (Spoilers)

เมื่อดวงจันทร์ได้พบหน้ามังรายผู้ช่วยเหลือเพื่อนของตนก็ตกตลึง เพราะมังรายก็คือทับชายหนุ่มที่เคยช่วยเหลือตนเองมาก่อนนั่นเอง ในใจทั้งรู้สึกเกลียดที่พม่าที่ข่มเหงคนไทย แต่ในใจลึกๆก็ไม่สามารถห้ามใจไม่ให้นึกรักมังราย มังรายรู้สึกสงสารเชลยชาวไทยจึงเกลี้ยกล่อมให้มังมหาสุรนาถใช้ไม้อ่อนเกลี้ยกล่อมเชลยให้ยอมจำนนโดยดี ซึ่งมังมหาสุรนาถเห็นด้วย แต่มังระโธนายกองกลับทำทารุณต่อเชลยด้วยความโหดเหี้ยม

ดวงจันทร์แอบหนีเข้าไปในโบสถ์เพื่ออธิษฐานให้ตนเองมีจิตใจเข้มแข็งไม่รักศัตรู บังเอิญมังรายมาพบเข้าจึงปรับความเข้าใจกัน ดวงจันทร์ขอร้องให้มังรายช่วยเหลือเชลยให้หลบหนี โดยไม่ทราบว่ามังระโธแอบฟังอยู่ ด้วยความรักที่มีต่อดวงจันทร์ มังรายจึงช่วยเหลือให้เชลยไทยหลบหนีไป แต่มังระโธนำเรื่องไปแจ้งต่อมังมหาสุรนาถผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ ด้วยกฎของกองทัพเมื่อมังรายทำผิดวินัยทัพอย่างร้ายแรง มังมหาสุรนาถจึงต้องสั่งประหารชีวิตมังรายผู้เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของตน

ข่าวการประหารชีวิตมังรายมาถึงเหล่าเชลยไทยที่หลบหนีไปแล้ว ต่างพากันเศร้าสะเทือนใจ จึงพากันย้อนกลับมาเพื่อจะช่วยมังราย เชลยไทยรวมทั้งดวงจันทร์ต่างต่อสู้อย่างถวายชีวิตแต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่าฆ่าตายทั้งหมด ความห้าวหาญของชาวบ้านทำให้มังมหาสุรนาถรู้สึกยกย่องเป็นอย่างมาก

นักแสดง[]

  • ไพโรจน์ สังวริบุตร – มังราย
  • ลลนา สุลาวัลย์ – ดวงจันทร์
  • ส. อาสนจินดา – มังมหาสุรนาท
  • สุพรรณ บูรณะพิมพ์
  • จุฑารัตน์ จินรัตน์
  • ราชันย์ กาญจนมาศ
  • สุรชาติ ไตรโภค
  • ไสล พูนชัย
  • อุมา ไอยทิพย์
  • ขวัญ สุวรรณะ
  • ก. เก่งทุกทาง
  • ประสาท ทองอร่าม
  • ม.ร.ว. สุดจัยยะ ชมพูนุท
  • หมี หมัดแม่น
  • สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์ – มังระโธ
  • พิราวรรณ ประสพศาสตร์

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างจากบทละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง เลือดสุพรรณ ประพันธ์โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากร สำหรับใช้แสดงละครเมื่อปี พ.ศ. 2479 โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลุกใจประชาชนให้รักชาติ ผ่านเรื่องราวความรักของทหารพม่ากับสาวไทย และวีรกรรมของคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับกองทัพพม่าที่มีไพร่พลนับหมื่นคน โดยเนื้อหาเป็นการประพันธ์ขึ้นมาใหม่จากจินตนาการ โดยมิได้อิงมาจากประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารฉบับใดแต่อย่างใด ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายและยืนนานจนสามารถหาทุนสร้างโรงละครถาวรของกรมศิลปากรได้ ทั้งได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปีเดียวกัน และมีการนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์
รูปแบบการนำเสนอ มังราย ดวงจันทร์  มังมหาสุรนาท 
 ภาพยนตร์ พ.ศ. 2479  ขจิตร์ ไชยาคำ สมจิตต์ อินทุโศภณ ม.ล. ทองอยู่ เสนีวงศ์
 ภาพยนตร์ พ.ศ. 2522  ไพโรจน์ สังวริบุตร  ลลนา สุลาวัลย์ ส. อาสนจินดา
 ละครช่อง 3 พ.ศ. 2533 พลรัตน์ รอดรักษา รัญญา ศิยานนท์
 ละครช่อง 5 พ.ศ. 2562 นิธิดล ป้อมสุวรรณ พรภัสร์ชนก มิตรชัย ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างต่อจากความสำเร็จระดับปรากฏการณ์ของภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า (2520) โดยไม่เพียงแต่ยังคง "สำแดงความเป็นไทยต่อโลก" เช่นเดียวกับเรื่องก่อนหน้า เชิด ทรงศรี ยังได้เพิ่มประเด็นเรื่องความรักชาติและความสามัคคีเข้าไป ด้วยการประกาศว่าเป็น "งานสืบทอดวีรกรรมของปู่ ย่า ตา ยายไทย ที่เคยพลีชีพเพื่อชาติ" รวมทั้งทุ่มทุนสร้างสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีคำโปรยว่า
เราสร้างประวัติการณ์!
พ่อปลาไหล ทำรายได้สูงสุดประเภท 16 ม.ม.
แผลเก่า ทำรายได้สูงสุดประเภท 35 ม.ม. และชนะเลิศรวมทุกประเภท ทุกแบบ ทุกระบบ นับตั้งแต่เคยมีหนังฉายในเมืองไทย! ทั้ง 2 เรื่องนี้ เชิดไชยภาพยนตร์ สร้าง เชิด ทรงศรี กำกับการแสดง
ณ บัดนี้ โดย ผู้สร้างคนเดียวกัน เก็บผนึก! สิ่งที่เรียกว่า ใหญ่โต! มหึมา! มโหฬาร! ดีที่สุด! มีคุณค่ามากที่สุด! และสนุกที่สุด มารวมกัน สรร-สร้าง
  • เมื่อ เชิด ทรงศรี ได้นำเลือดสุพรรณกลับมาสร้างใหม่ เขาได้เพิ่มเติมเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการกำหนดยุคสมัยของเรื่องว่าเกิดขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2308 จากเดิมที่ไม่ได้ระบุไว้ และยังลงทุนค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับไทยและพม่าในช่วงเวลานั้นอย่างจริงจัง สำหรับนำมาอ้างอิงในการสร้าง เพื่อขับเน้นความสมจริงยิ่งขึ้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำดนตรีประกอบโดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง, ลัดดา สารตายน ด้วยการใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลงประกอบด้วยวิธีใหม่ ไม่ได้ประสมวงและบรรเลงเพลงไทยเดิมเช่นที่ผ่านมา แต่เลือกใช้เครื่องดนตรี บางประเภทมาสร้างทำนองใหม่ เพื่อสนับสนุนการเล่าเรื่องทั้งสำเนียงไทยและพม่า
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ ลลนา สุลาวัลย์ ถูกเสนอชื่อ 1 ใน 5 เข้าชิงรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2524

รางวัล และอนุสรณ์ []

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2524
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายดีเยี่ยม (จันนิภา เจตสมมา)
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2523
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ส. อาสนจินดา)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561)
Advertisement