- ชื่ออังกฤษ : 6ixtynin9
- ประเภท : Comedy / Crime / Thriller
- ผู้กำกับ : เป็นเอก รัตนเรือง
- บทภาพยนตร์ : เป็นเอก รัตนเรือง
- กำกับภาพ : ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์
- ลำดับภาพ : ม.ร.ว. ปัทมนัดดา ยุคล
- กำกับศิลป์ : ศักดิ์ศิริ จันทรังษี
- จัดเครื่องแต่งกาย : สมบัษร ถิระสาโรช
- ออกแบบเสียง : อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ
- บันทึกเสียง : นิพัฒน์ สำเนียงเสนาะ
- อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
- บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
- วันที่เข้าฉาย : 19 พฤศจิกายน 2542
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
กับความพลิกผันของเลข 69 และชีวิตคนธรรมดา ๆ คนหนึ่ง
เหตุการณ์ในภาวะเศรษฐกิจไทยตกต่ำยุคฟองสบู่แตกหรือวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2540 ผ่านเรื่องราวของ ตุ้ม พนักงานสาวประจำบริษัทการเงินแห่งหนึ่งที่ถูกปลดออกจากงานเพราะปัญหาเศรษฐกิจ ซ้ำโชคชะตายังเล่นตลกเมื่อลูกน้องของเจ้าพ่อแห่งวงการมวย นำกล่องบะหมี่สำเร็จรูปที่เต็มไปด้วยเงินสดจำนวนมหาศาลมาวางไว้หน้าห้องพักหมายเลข 6 ของเธอ ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นห้องหมายเลข 9 เพราะตัวเลข 6 หน้าห้องของตุ้มบังเอิญพลิกตกกลับหัวกลายเป็น 9 เป็นจุดเริ่มต้นให้ชีวิตที่กำลังจนตรอก ต้องตกเข้าไปอยู่ในวังวนของอาชญากรรมโดยไม่ตั้งใจ
"ตุ้ม" เลขาที่ถูกเลิกจ้างในช่วงภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ วันแรกของการตกงาน ตุ้มตื่นมาเจอมาม่ากล่องใบหนึ่งวางอยู่หน้าห้องพักเธอ เมื่อเธอนำกล่องเข้าห้องมาและเปิดดูกลับพบเงินจำนวนมากมายในกล่อง และกล่องใบนั้นจะนำพามาด้วยโชคชะตาที่เล่นตลกกับเธอที่จะทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปอย่างที่เธอคิดไม่ถึง
นักแสดง[]
ลลิตา ปัญโญภาส | แบล็ค ผมทอง | ทัศนาวลัย องอาจอิทธิชัย | สุรพล เมฆพงษ์สาธร |
ตุ้ม | ครรชิต เจ้าของค่ายมวย | จิ๋ม (เพื่อนตุ้ม) | ตำรวจหนุ่ม |
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : | รับบทเป็น |
---|---|
อรุณ วรรณาดบดีวงศ์ | สุวัตร (เสี่ยโต้ง) |
ศิริสิน ศิริพรสมาธิกุล | เพ็ญ |
สีเทา (จรัล เพ็ชรเจริญ) | ลุงเย็น |
วสันต์ เพ็ชรนิล | เบิ้ม (ลูกน้องครรชิต) |
อรรถกร สุวรรณราช | น้อย (ลูกน้องเบิ้ม) |
กฤษฎา บรรจงแก้ว | สำอางค์ (ลูกน้องครรชิต) |
พนม พรหมชาติ | สุภาพ (คู่หูของสำอางค์) |
ณัฏฐา วัฒนะไพบูลย์ | สมพันธ์ (ลูกน้องเสี่ยโต้ง) |
วิวัฒน์ ทองประเสริฐสม | ทัศน์ (ลูกน้องเสี่ยโต้ง) |
ลิขิต ทองนาค | วิโรจน์ |
วิชัย จงประสิทธิ์พร | |
เชษฐวุฒิ วัชรคุณ | สรจักร |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของ เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับโฆษณาที่ผันตัวมากำกับภาพยนตร์ในช่วงต้นทศวรรษ 2540 เป็นเอกได้พัฒนาให้เห็นถึงความจัดเจนและชั้นเชิงในการเล่าเรื่องด้วยลีลาท่าทีแบบตลกร้าย ซึ่งเขายอมรับว่าได้แรงดลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก (2500)
- แม้เหตุการณ์ในหนังจะเป็นกระแสสังคมที่กำลังเกิดขึ้นจริงในเวลานั้น แต่ด้วยสัญชาตญาณและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้กำกับ รูปแบบและเนื้อหาของหนังจึงพ้นไปจากกระแสนิยม โดยสิ่งที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด คือ การนำ ลลิตา ปัญโญภาส ดาราระดับนางเอกมารับบทบาทที่พลิกความคาดหมายอย่างสิ้นเชิง และประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมจนกลายเป็นผลงานที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในอาชีพนักแสดงของเธอ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถคว้ารางวัลใหญ่ๆ ในการประกวดภาพยนตร์ไทยประจำปี พ.ศ. 2542 ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมที่ชนะเลิศในทุกรายการประกวด รวมทั้งยังเดินสายได้รางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศมาอีกจำนวนหนึ่ง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นผลงานแห่งยุคสมัยที่ช่วยปลุกวงการหนังไทยซึ่งกำลังสลบไสลให้ฟื้นตื่นขึ้นมาพบเจอทิศทางใหม่ๆ ในโลกภาพยนตร์ ในขณะเดียวกัน ตัวภาพยนตร์ยังทำหน้าที่เป็นสื่อในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับอารมณ์และจิตใจของผู้คนในสังคมที่เพิ่งปั่นป่วนเซซวนจากการโดนพิษเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศเล่นงาน ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นเอกสารบันทึกเรื่องราว และความรู้สึกหรืออารมณ์ของสังคมไทย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตกและโรคต้มยำกุ้ง ที่มีชีวิตชีวาที่สุด ซึ่งไม่อาจรับรู้ได้จากสื่ออื่นๆ
รางวัล และอนุสรณ์[]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ
- รางวัล Don Quixote Award, Special Mention จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน
- รางวัล FIPRESCI Prize จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง
- รางวัล Best Feature จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติบรู๊กลิน
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2542
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ลลิตา ปัญโญภาส)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
- ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม (ม.ร.ว.ปัทมนัดดา ยุคล)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 9
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ลลิตา ปัญโญภาส)
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ศิริสิน ศิริพรสมาธิกุล)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 8
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ลลิตา ปัญโญภาส)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (แบล็ค ผมทอง)
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ศิริสิน ศิริพรสมาธิกุล)
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)