- ชื่ออังกฤษ : Dear Dakanda
- ประเภท : Comedy / Romance
- ผู้กำกับ : คมกฤษ ตรีวิมล
- บทประพันธ์ : กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา
- บทภาพยนตร์ : นิธิศ ณพิชญสุทิน
- กำกับภาพ : ปราเมศร์ ชาญกระแส
- ลำดับภาพ : วิชชา โกจิ๋ว
- กำกับศิลป์ : ธาดร คล้ายปักษี
- ออกแบบงานสร้าง : รัชชานนท์ ขยันงาน
- อำนวยการสร้าง : จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, เช่นชนนี สุนทรศารทูล
- บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : จีทีเอช
- วันที่เข้าฉาย : 6 ตุลาคม 2548
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
คุณเคยแอบรัก "เพื่อน" มั้ย?
กว่า 1500 กิโลเมตร จากทิวเขาและไอหมอกในจังหวัดเชียงใหม่ สู่ไอน้ำเค็มของหมู่เกาะพะงัน จังหวัด สุราษฏ์ธานี ความรักของ ไข่ย้อย หนุ่มนักศึกษาศิลปะ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นสองครั้งสองครากับ เพื่อนสองคน
ที่เชียงใหม่ ไข่ย้อย คือ หนุ่มเมืองกรุงฯ จากโรงเรียนชายล้วนที่แสนขี้อาย เขาไม่กล้าคุยกับผู้หญิง พูดตะกุกตะกักทุกครั้งที่มีสาวๆ เข้ามาทัก เป็นเหตุให้ต้องคอยหลบเลี่ยงอยู่เสมอ จนกระทั่งหญิงสาวท่าทางสดใส กระฉับกระเฉงเกินมาตราฐานสาวเหนือทั่วไปเข้ามาสมัครเป็นเพื่อน เธอชื่อ ดากานดา ซึ่งสำหรับไข่ย้อย ช่างเป็นชื่อที่แปลก แต่มีเสน่ห์สมตัวเจ้าของเป็นที่สุด ไข่ย้อยแอบหลงรักดากานดา แต่ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท เพราะดากานดามีคนที่เธอรักซึ่ง ไม่ใช่เขา
ที่พะงัน ไข่ย้อย คือ หนุ่มศิลป์จากเชียงใหม่ ที่อุตส่าห์ดั้นด้นมาเป็นคนไข้ถึงสถานีอนามัยแห่งเดียวบนเกาะ ไข่ย้อย พลัดตกจากดาดฟ้าเรือขาหักจากการพยายามขึ้นไปเล่นบทพระเอกมิวสิกวิดีโอ ท่ามกลางคนแปลกถิ่นหน้าเข้ม พูดจาเร็วปรื๋อ ไข่ย้อยได้ พยาบาลสาวตาโต ยิ้มเก่งเป็นคนคอยดูแล เธอชื่อ นุ้ย ซึ่งสำหรับไข่ย้อย รอยไมตรีที่เธอจ่ายให้เขาบ่อยกว่าจ่ายยา ทำให้เขาสมัครเป็นคนไข้ไม่มีกำหนดหายอย่างเต็มใจ ไข่ย้อยรู้ว่านุ้ยมีใจให้เขา แต่เธอก็ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท บางทีเธอคงรู้ว่า เขามีคนที่รักซึ่ง ไม่ใช่เธอ
ความรักของคนสามคน เกิดขึ้น สองสถานที่ สองเวลา ความรักของคนคู่ใดจะก้าวพ้นคำว่า เพื่อนสนิท ความรักของไข่ย้อย จะจบลงที่ไหน ภูเขา หรือ ทะเล
นักแสดง[]
ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | มณีรัตน์ คำอ้วน |
หมู / ไข่ย้อย | ดากานดา | นุ้ย |
ปาณิสรา พิมพ์ปรุ | ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ | อชิตะ สิกขมานา | อิศยม รัตนอุดมโชค |
พี่แตน | ฟุเหยิน | โอ๋ | โก้ |
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : | รับบทเป็น |
---|---|
คมกฤษ ตรีวิมล | พี่เอ๊ด |
เนาวรัตน์ บันสิทธิ์ | แม่ของดากานดา |
ภูชาย ณ พัทลุง | พ่อของดากานดา |
ทวีป สุรมาศ | ลุงไปรษณีย์ |
โกศล หาญกล้า | ลุงความจำเสื่อม |
ภาณุมาศ บุษรานุวงศ์ | หมอ |
ด.ช.สุรจิต ตราศรี | จิ๋ว |
Pat L'Argent | นักเที่ยวชายชาวฝรั่ง |
Debbie Smith | นักเที่ยวหญิงชาวฝรั่ง |
ทรงยศ สุขมากอนันต์ | รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม | รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
วิชชา โกจิ๋ว | รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
นิธิวัฒน์ ธราธร | รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
วิทยา ทองอยู่ยง | รุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
พัฒนฉัตร ศรีเทพ | แม่ของไข่ย้อย |
สำเนียง แซ่โง้ว | ช่างตัดผม |
วิฑูรย์ รักปลอดภัย | เจ้าชายน้อย |
รสสุคนธ์ กองเกตุ | สุนัขจิ้งจอก |
ต่อพงษ์ กุลอ่อน | จิ๊กโก๋ (ฉากถูกตัด) |
เมษ ธราธร | จิ๊กโก๋ (ฉากถูกตัด) |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ดัดแปลงจากหนังสือสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา เจ้าของรางวัลนายอินทร์ อวอร์ด
- วิสูตร พูลวรลักษณ์ หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร เป็นผู้ตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เพื่อนสนิท
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเนื้อหาที่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่ ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำไปพร้อมๆ กับเรื่อง วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น (2548) ใช้ฉากบางฉากร่วมกัน และมีตัวละครร่วมกัน คือ ฟุเหยิน (ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ) นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, เช่นชนนี สุนทรศารทูล กำกับภาพโดย ปราเมศร์ ชาญกระแส ออกแบบงานสร้างโดย รัชชานนท์ ขยันงาน กำกับศิลป์โดย ธาดร คล้ายปักษี ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย สุธี เหมือนวาจา บทภาพยนตร์โดย นิธิศ ณพิชญสุทิน และลำดับภาพโดย วิชชา โกจิ๋ว [7]
- เพลง "ช่างไม่รู้เลย" เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย Peacemaker เป็นเพลงเก่าของ สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ ในอัลบั้มชุด ผู้ชายธนู (พ.ศ. 2533) เพลงนี้แต่งคำร้องโดย โอภาส พันธุ์ดี (นิติพงษ์ ห่อนาค) และทำนองโดย โสฬส ปุณกะบุตร
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ปิดโปรแกรมการฉายไปด้วยรายได้ทั้งหมด 80 ล้านบาท
รางวัล[]
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
- คม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์)
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มณีรัตน์ คำอ้วน)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
- รางวัลสตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2548
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ปาณิสรา พิมพ์ปรุ)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)
- เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "ช่างไม่รู้เลย" ขับร้องโดย Peacemaker)
- รางวัลเฉลิมไทย อวอร์ด ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2548
- ภาพยนตร์ไทยแห่งปี
- นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์)
- นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี (ศิรพันธ์ วัฒนจินดา)
- นักแสดงหญิงในบทสมทบแห่งปี (ปาณิสรา พิมพ์ปรุ)
- บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
- เพลงในภาพยนตร์แห่งปี (เพลง "ช่างไม่รู้เลย" ขับร้องโดย Peacemaker)
- Starpics Thai Films Awards ครั้งที่ 3
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คมกฤษ ตรีวิมล)
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มณีรัตน์ คำอ้วน)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิศ ณพิชญสุทิน)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิชชา โกจิ๋ว)