ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  เปนชู้กับผี (2549)
เปนชู้กับผี (2549) 1
  • ชื่ออังกฤษ : The Unseeable
  • ประเภท : Horror / Mystery / Drama
  • ผู้กำกับ : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
  • บทภาพยนตร์ : ก้องเกียรติ โขมศิริ
  • กำกับภาพ : ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์
  • ลำดับภาพ : หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
  • กำกับศิลป์ : วรรณษิษฐา วันทาวิวรรธน์
  • ดนตรีประกอบ : Wild at Heart
  • อำนวยการผลิต : อภิรดี เอี่ยมพึ่งพร, เกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร
  • อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
  • วันที่เข้าฉาย : 2 พฤศจิกายน 2549
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

คนกับผี มีอะไรกัน

ในปี พ.ศ. 2477 นวลจัน (ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) เดินทางจากชลบุรีมายังพระนครเพื่อตามหาชอบ (ศรุต วิจิตรานนท์) ชายคนรักที่หายตัวมานานโดยที่นวลจันกำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดอีกด้วย เธอเดินทางมายังบ้านเก่าแก่หลังหนึ่งและพักอาศัยที่บ้านหลังนั้น นวลจันได้เพื่อนใหม่คือช้อย (วิสาข์ คงคา) สาวใช้ผู้ที่เคยเป็นคนเร่ร่อนมาก่อนที่จะมาอาศัยในบ้านหลังดังกล่าว

เจ้าของบ้านคือคุณนายรัญจวน (สุพรทิพย์ ช่วงรังษี) ผู้ที่ลึกลับและเย็นชา เช่นเดียวกับสมจิตต์ (ทัศวรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) แม่บ้านที่เข้มงวดโดยเฉพาะกับนวลจัน ที่บ้านหลังนี้นวลจันพบกับความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความน่ากลัวที่อาจจะมีวิญญาณต่างๆ แฝงกายอยู่ในทุกสถานที่

นวลจันคลอดลูกโดยมีช้อยคอยช่วยทำคลอดให้ จากนั้นเธอก็ถูกรัญจวนเรียกพบและให้พาลูกของเธอไปให้รัญจวนดูด้วย จนในวันหนึ่งนวลจันพบว่าชอบอาศัยอยู่ในบ้านหลังและเธอเข้าใจว่าชอบคือชายชู้ของรัญจวน แต่แล้วเมื่อความจริงปรากฏเรื่องที่น่ากลัวที่สุดพร้อมกับปริศนาต่างๆ ของบ้านเก่าแก่หลังนี้ก็ได้รับการเปิดเผยออกมา

นักแสดง[]

เปนชู้กับผี (2549) 23 เปนชู้กับผี (2549) 21 เปนชู้กับผี (2549) 22 เปนชู้กับผี (2549) 24
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ สุพรทิพย์ ช่วงรังษี ศรุต วิจิตรานนท์
นวลจัน สมจิตต์ คุณนายรัญจวน คุณชอบ
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : รับบทเป็น
วิสาข์ คงคา ช้อย
เรียมคำ แสนอินทร์ ยายเอิบ
ชนม์นิภา บุญกุศล ผีเด็ก
บุญชู น้ำใจดี สามล้อ
กฤษณ์ เศรษฐธำรงค์ เจ้าของบาร์

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่องที่ 3 ของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง และเป็นผลงานเรื่องแรกซึ่งวิศิษฏ์ให้ผู้อื่นเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ให้ นั่นคือ ก้องเกียรติ โขมศิริ หนึ่งใน "โรนินทีม" ซึ่งกำกับภาพยนตร์เรื่อง ลองของ (2548)
  • ชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาษาโบราณจึงไม่มีไม้ไต่คู้ เพราะสมัยก่อนการเขียนหนังสือจะไม่มีการใส่วรรณยุกต์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจและมอบความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้แด่ ครูเหม เวชกร ศิลปินผู้เป็นปูชนียบุคคลในวงการศิลปะเมืองไทย โดยเฉพาะงานเขียนของท่าน ได้ถูกนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือชุด ปีศาจไทย ในสมัยก่อนจนเป็นที่โด่งดัง
  • นอกเหนือจากพล็อตเรื่องซึ่งว่าด้วยความผูกพันระหว่างผีกับคนตามอย่างชุดเรื่องสั้นผีราคาสิบสตางค์อันเป็นที่รู้จักกันดีซึ่งครูเหม เวชกร เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นแล้ว วิศิษฏ์ยังอ้างอิงการถ่ายภาพและจัดแสงอย่างเข้มงวดตามแบบภาพประกอบเรื่องสั้นชุดเดียวกันนี้ซึ่งวาดโดยท่านเองอีกด้วย
  • ศรุต วิจิตรานนท์ เคยรับบทเป็นตัวละครที่สร้างจากบทประพันธ์ของ ครูเหม เวชกร ในละครโทรทัศน์เรื่อง ผี! วิญญาณและความผูกพัน (2546) ตอน ผู้ไม่สังคมโลก
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ย้อนไปในอดีตระหว่างปี พ.ศ. 2470-2480 ซึ่งยุคนั้นเมืองไทยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือเป็นอะไรที่ไทยมากๆ และกลุ่มคนสังคมชั้นสูง พวกนี้จะได้รับอิทธิพลทางยุโรปเป็นอย่างมาก เป็นศิลปะในยุคที่เรียกว่า อาร์ตนูโว (Art Nouveau) มาจากทางฝรั่งเศส
  • โจทย์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือมีนักแสดงไม่กี่คน ภาพทุกอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องการใช้สถานที่เยอะ โดยถ่ายทำกันในบ้านหลังเดียวที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จะได้ควบคุมได้
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไปประมาณ 20 ล้านบาท และคำวิจารณ์ที่มีต่อภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทางบวก นอกจากนั้น ยังได้รับการจัดซื้อไปฉายในต่างประเทศอีกด้วย
  • เพลง "สิ้นรักสิ้นสุข" เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย นรีกระจ่าง คันธมาส เป็นเพลงเก่าของวงสุนทราภรณ์ เพลงนี้แต่งคำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนองโดย หลวงสุขุมนัยประดิษฐ และต้นฉบับขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล

รางวัล[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2549
    • ออกแบบและจัดเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
    • เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "สิ้นรักสิ้นสุข" ขับร้องโดย นรีกระจ่าง คันธมาส)
  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15
    • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (วรรณษิษฐา วันทาวิวรรธน์)
Advertisement