ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  เงาะป่า (2523)
เงาะป่า (2523) 1

ใบปิดวาดโดย บรรณหาร ไทธนบูรณ์

Trailer_เงาะป่า_(2523)

Trailer เงาะป่า (2523)

  • ประเภท : Drama / Romance / Adventure
  • ผู้กำกับ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล, เปี๊ยก โปสเตอร์
  • บทละคร : เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • บทภาพยนตร์ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
  • ผู้ถ่ายภาพ : สามัคคี
  • ผู้กำกับภาพ : ปัญญา นิ่มเจริญพงษ์
  • ผู้ลำดับภาพ-ตัดต่อ : ประลอง แก้วประเสริฐ
  • ดนตรีประกอบ : บุญยงค์ เกตุคง, บรู๊ซ แกสตัน
  • ออกแบบเครื่องแต่งกาย : ม.จ.ปัทมนรังสี เสนาณรงค์
  • อำนวยการสร้าง : ปริม บุนนาค, เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง : อัศวินภาพยนตร์, ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
  • วันที่เข้าฉาย : 22 พฤศจิกายน 2523 ฉายที่โรงภาพยนตร์เอเธนส์
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 อมตะวรรณกรรม-อบร่ำนิยายรักระอุเลือด รสชาติชีวิตพิสดารกลางไพรพฤกษ์-ครึกครื้นอารมณ์ขัน
อัศวินภาพยนตร์ และ ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ผนึกกำลังสร้าง

เรื่องราวความรักของเงาะป่าชายหญิง ลำหับ และ ชมพลา ชมพลากับลำหับรักกัน ทั้งๆ ที่รู้ว่าลำหับนั้นได้ถูกหมั้นหมายกับฮเนาไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันแต่งงาน ไม้ไผ่ น้องชายของลำหับกับเพื่อนชื่อ คนัง ได้ช่วยชมพลาพาลำหับหนีเข้าป่า ฮเนาออกติดตาม ก่อนที่เรื่องราวจะจบลงด้วยโศกนาฏกรรม

ซมพลา เงาะหนุ่มแห่งชายป่าเมืองพัทลุงได้พบรักกับ ลำหับ เงาะสาว หลังจากที่ซมพลาได้ช่วยชีวิตลำหับให้รอดพ้นจากการถูกงูกัดในระหว่างเที่ยวป่า จนถูกเนื้อต้องตัวลำหับกลายเป็นเรื่องผิดผี เกิดกลายเป็นความรักฉันท์ผัวเมีย แต่ทั้งคู่ก็ต้องแอบรักกันเรื่อยมา เพราะ ตองยิบ พ่อของลำหับคอยกีดกันและบังคับให้เธอต้องแต่งงานกับ ฮเนา เงาะหนุ่มผู้มีฐานะดี ทำได้แม้กระทั่งเฆี่ยนตีและไม่ยอมให้ลำหับลูกสาวตนออกไปไหน จนลำหับต้องจำใจทิ้งรักของเธอไปแต่งงานกับฮเนา แต่เมื่อลำหับกับฮเนาแต่งงานกันจนได้ร่วมหอ ซมพลาก็ใช้อุบายลักพาตัวลำหับหนีมา ครั้นเมื่อฮเนารู้ความก็รีบออกตามล่าซมพลาจนพบซมพลาขณะกำลังล่าสัตว์ ทั้งคู่จึงได้ต่อสู้กันตามคำท้าของซมพลาที่ว่าหากฮเนาชนะเขาจะยอมบอกที่ซ่อนของลำหับ แต่ทว่าในระหว่างที่ซมพลากำลังจะมีชัยเหนือฮเนา รำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาที่ติดตามมาด้วยก็รีบเป่าลูกดอกอาบยาพิษใส่ซมพลาจนเขาล้มลง ลำหับซึ่งไม่เห็นซมพลากลับมา จึงออกมาตามหาซมพลา และเจอเขาในขณะเกิดเหตุ ในจังหวะที่ซมพลากำลังจะสิ้นใจ ด้วยความโศกเศร้าลำหับจึงใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่าลำหับกับซมพลารักกันและได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของทั้งสอง ก็ได้แต่โศกเศร้ากับสิ่งที่ทำไป พร้อมกับฝังร่างของทั้งคู่ไว้ด้วยความอาลัยรัก

นักแสดง[]

  • จตุพล ภูอภิรมย์ – ซมพลา
  • ศศิธร ปิยกาญจน์ – ลำหับ
  • ภิญโญ ปานนุ้ย – ฮเนา
  • ปู จินดานุช – คนัง
  • สมคิด ทองเงิน
  • อำนวย แจ่มใส
  • ลาวัลย์ บัวทั่ง
  • สังเวียน ยอดนิล
  • สำรวย ธรรมสาคร
  • พิบูลย์ สดชื่น
  • สุทัศน์ เพ็งขำ

Image Gallery & วีดีโอ[]

  • ดูเพิ่มเติมที่ : [1] [2]

Trailer เงาะป่า (2523)

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวที่สร้างจากบทละครร้องพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง เงาะป่า ซึ่งเป็นบทละครร้องที่ถือกันว่าดีที่สุดเรื่องหนึ่งของชาติ [3]
  • ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้วิธีการถ่ายทำด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย โดยจ้างบุคลากรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกๆ ที่ถ่ายทำในระบบไวด์สกรีน ในขณะที่ภาพยนตร์ไทยเกือบทั้งหมดในเวลานั้น นิยมถ่ายด้วยระบบซีเนมาสโคปซึ่งมีจุดอ่อนเรื่องความคมชัดของภาพ
  • จตุพล ภูอภิรมย์ เป็นนักแสดงไทยคนแรกและคนเดียวที่ชนะรางวัลทางด้านการแสดงเมื่อล่วงลับไปแล้ว (จตุพล ภูอภิรมย์ เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 และงานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ จัดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2524)

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2524
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ภิญโญ ปานนุ้ย)
    • เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (บุญยงค์ เกตุคง)
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2523
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (จตุพล ภูอภิรมย์)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ภาณุพันธุ์, เปี๊ยก โปสเตอร์)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ภาณุพันธุ์)
    • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ม.จ.ปัทมนรังสี เสนาณรงค์)
    • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (บุญยงค์ เกตุคง)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)
Advertisement