ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  สะพานรักสารสิน (2530)
สะพานรักสารสิน (2530) 1

ใบปิดวาดโดย เปี๊ยก โปสเตอร์

Trailer_สะพานรักสารสิน_(2530)

Trailer สะพานรักสารสิน (2530)

  • ประเภท : Drama / Romance
  • ผู้กำกับ : เปี๊ยก โปสเตอร์
  • เค้าโครง : ใบยาง
  • บทภาพยนตร์ : วิศณุศิษย์
  • ผู้กำกับภาพ : สมบูรณ์สุข
  • ผู้ถ่ายภาพ : คุณจำเป็น
  • ผู้ลำดับภาพ : พิชิต นิยมศิริ
  • ผู้กำกับศิลป์ : ประสรรค์ เพชรพงษ์
  • ดนตรีประกอบ : เรวัต จันตะแสง
  • ออกแบบเครื่องแต่งกาย : หิรัญญา พุ่มวัด
  • อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
  • วันที่เข้าฉาย : 6 มิถุนายน 2530
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

เปี๊ยกโปสเตอร์ ขอมอบ ที่สุดแห่งความรัก เรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยาย จากตำนานรักอมตะ ที่เล่าขานกันมามิรู้ลืม
สะพานรักสารสิน หากจะมีรัก ต้องไม่มีวันพรากจากกัน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากโศกนาฏกรรมความรักของหนุ่มสาวชาวภูเก็ต โดยผู้สร้างนำพาภาพยนตร์ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจหรืออุทาหรณ์สอนให้สังคมได้เรียนรู้และเข้าใจปัญหาชีวิตที่นำไปสู่ความผิดพลาด

เรื่องราวความรักระหว่าง "ธำรงค์" (รอน บรรจงสร้าง) หนุ่มขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง และ "อิ๋ว" (จินตหรา สุขพัฒน์) นักศึกษาสาวที่ถูกเลี้ยงดูมาอย่างเข้มงวดโดย "โกฮวด" (สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์) พ่อของเธอ ความรักของทั้งคู่มาถึงทางตันเมื่อพ่อของอิ๋วบังคับให้เธอแต่งงานกับคนรวย อิ๋วกับธำรงค์จึงหนีไปด้วยกันที่เกาะชาวเลแห่งหนึ่ง ส่งผลให้ธำรงค์ถูกจับข้อหาพรากผู้เยาว์ เมื่อเส้นทางของทั้งคู่ถูกขีดให้แยกจากกัน แต่ความรักของทั้งคู่กลับผลักดันให้เกิดโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่ยังเล่าขานมาถึงปัจจุบัน

ธำรงค์เป็นบุตรบุญธรรมของทอง ธำรงค์มีอาชีพขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง ธำรงค์มีเพื่อนสนิทชื่อไข่ ทำหน้าที่เป็นพ่อสื่อให้ธำกับอิ๋ว อิ๋วเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู อาศัยอยู่กับพ่อและน้องชายชื่อเป้ง พ่อเลี้ยงอิ๋วแบบเผด็จการไม่ให้อิสระ พ่อต้องการให้อิ๋วแต่งงานกับคนมีฐานะ อิ๋วรู้และไม่ยอมจึงแอบหนีมาหาธำ แล้วหนีไปอยู่ที่เกาะชาวเล ธำถูกจับข้อหาพรากผู้เยาว์ ธำรงค์มาหาอิ๋วแล้วทั้งสองก็ออกมาด้วยกัน ทั้งสองเดินมาถึงสะพาน ตัดสินใจเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วร่างทั้งสองก็หลุดหล่นลงจากสะพานไปตามใจปรารถนา

นักแสดง[]

นักแสดง รับบทเป็น
จินตหรา สุขพัฒน์ ธำรงค์ (โกธำ)
รอน บรรจงสร้าง กัลยา (อิ๋ว)
สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ โกฮวด (พ่ออิ๋ว)
เป็ด เชิญยิ้ม โกไข่
โรม อิศรา เข่ง (น้องชายอิ๋ว)
น้ำเงิน บุญหนัก หลง (แม่อิ๋ว)
สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต ทอง (แม่เลี้ยงธำ)
สุวิน สว่างรัตน์
มาเรีย เกตุเลขา น้าเลี้ยงธำ
รุ่งมณี ศิริฤทธิ์

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • สะพานสารสิน เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต เป็นสะพานแรกที่มีการสร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปภูเก็ต เชื่อมต่อระหว่างบ้านท่าฉัตรไชยและบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงา โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร เปิดใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2516 โศกนาฏกรรมรักของหนุ่มสาว นายหัวรถสองแถวและครูสาวผู้สูงศักดิ์ ที่ผู้เป็นพ่อพยายามขัดขวางทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้คบกันและจะคลุมถุงชนลูกสาวให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่มีฐานะดี ในที่สุดเมื่อความรักถึงทางตัน ทั้งคู่จึงตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำไปตามใจปรารถนา ซึ่งเรื่องราวของทั้งคู่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่ว
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ รอน บรรจงสร้าง
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีการสอดแทรกเรื่องราวของวิถีชีวิตของชาวเลทั้งการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมการแสดงรองเง็งโดยคนพื้นถิ่นซึ่งเป็นบันทึกทางมานุษยวิทยาที่หาดูได้ยากอีกด้วย
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างอีกครั้งเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2541

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2530
    • ตลกชายยอดเยี่ยม (เป็ด เชิญยิ้ม)
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2530
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (เปี๊ยก โปสเตอร์)
    • ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (คุณจำเป็น)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559)
Advertisement