ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  สตางค์ (2543)
สตางค์ (2543) 14
  • ชื่ออังกฤษ : SATANG
  • ประเภท : Action / Drama / Adventure / Crime
  • ผู้กำกับ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  • บทภาพยนตร์ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  • กำกับภาพ : วันชัย เล่งอิ๊ว
  • กำกับการผลิต : สืบศักดิ์ ฉลองธรรม
  • เพลง-ดนตรีประกอบ : "ไอดีล"
  • อำนวยการสร้าง : ประชา มาลีนนท์-เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น, บีอีซีฟิล์ม
  • วันที่เข้าฉาย : 11 สิงหาคม 2543 ฉายที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์-EGV-เอสเอฟ ซีเนมา
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

ทุกชีวิตเหล่านี้กำลังจะพาคุณไปค้นหา

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ให้พิมพ์ธนบัตรใหม่ในโรงพิมพ์ธนบัตรที่ชวา เป็นธนบัตรฉบับละสิบบาทถ้วน ระหว่างธนบัตรถูกขนย้ายจากชวามาประเทศไทย ธนบัตรจำนวนหนึ่งถูกปล้นหายไป ทำให้รัฐบาลสมัยนั้นตัดสินใจไม่นำธนบัตรส่วนที่เหลือออกใช้

อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง แม้ว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ก็เกิดสถานการณ์ข้าวยากหมากแพง และขาดธนบัตร ทำให้รัฐบาลหลังสงคราม ต้องนำธนบัตรชุดที่มีปัญหาออกประกาศใช้ โดยพิมพ์ประทับราคาใหม่ลงไปด้วยหมึกสีดำ เปลี่ยนเป็น 'ห้าสิบสตางค์'

ทองย้อย (วีรชัย หัตถโกวิท) คนร้ายร่วมปล้นธนบัตร ซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น และเป็นผู้ที่นำธนบัตรที่ปล้นได้ ไปซ่อนไว้ในห้องแพชลประทานร้างหลังหนึ่ง ถูก พยนต์ (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พร้อมด้วย โชติ (โอลิเวอร์ บีเบอร์) และ บุญมา (รัฐพงศ์ เตโชชัชวาล) ทหารคนสนิท ซึ่งเป็นผู้ร่วมรู้เห็น ตามล่าเพื่อค้นหาที่ซ่อนธนบัตร และหมายที่จะฆ่าทองย้อย ทองย้อยจึงหนีมาซ่อนตัว ในตรอกโรงเจริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง ทำให้ข่าวเกี่ยวกับแพชลประทานร้างที่ซ่อนธนบัตร แพร่กระจายถึงชาวตรอกโรงเจบางคน อาทิ ระบือ (เจษฎาภรณ์ ผลดี) พนักงานขายเครื่องกระป๋อง ที่ไม่เคยขายอะไรได้เลย, จำรัส (มานพ อัศวเทพ) เจ้าของโรงพิมพ์ และร้านเช่าหนังสือผู้เห็นแก่ตัว, นาท (พิทักษ์ ศัลย์วิวรรธน์) ข้าราชการจัตวาผู้โลภมาก ซึ่งเช่าห้องอยู่กับ สมพิศ (พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร) เมียสาวท้องแก่, เลี้ยง (ชูชัย บุศราคัมวงค์) เจ้าของร้านกาแฟ และของชำแห่งเดียวในตรอกโรงเจ, ตรอง (พัทสน ศรินทุ) จิตรกรยากไร้ ผู้พิสมัยการวาดภาพเปลือยของมนุษย์ มีจินตนาการ ไม่สนใจใคร, หมอ (ปอง จุลละทรัพย์) ผู้เห็นเงินสำคัญกว่าการรักษาคนเจ็บ, ครูแรม (ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง) ครูตกงาน กับ ศรี ภรรยาที่ป่วยกระเสาะกระแสะ, โรจน์ (ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) อดีตหนุ่มสังคม และครูสอนลีลาศ ผู้พิการจากสงคราม พร้อมด้วยภรรยา ขวัญตา (จินตหรา สุขพัฒน์) คู่ลีลาศของโรจน์ ที่ต้องผันชีวิตมาเป็นโสเภณีในตรอกเล็กๆ แห่งนี้, รัมภา (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) สาวผู้ดีตกยาก หยิ่งทะนง และ ปราณี (เข็มอัปสร สิริสุขะ) ผู้พี่บุญธรรม รวมทั้ง จ่อน (สรพงศ์ ชาตรี) ชายบ้าเพราะสงคราม และสูญเสียครอบครัวไประหว่างสงคราม

บรรดาชาวตรอกโรงเจเหล่านี้ พร้อมด้วย เที่ยงแท้ (มีศักดิ์ นาครัตน์) คหบดีเจ้าของตรอกผู้หน้าเลือด กับ บุรี ลูกสมุนคนสนิทของเที่ยงแท้ จึงได้ว่าจ้าง และอาศัยเรือของ พร้อม (สันติสุข พรหมศิริ) กับเมียสาว จำเรียง (กัญญารัตน์ บ่อสันเที๊ยะ) พร้อมด้วย หนูแดง ลูกสาวเพียงคนเดียว โดยมีทองย้อยเป็นผู้นำทาง ออกตามหาแพชลประทานที่ซ่อนธนบัตรหลังนั้นโดยทันที ซึ่งในขณะนั้นพวกของพยนต์ โชติ และบุญมา แอบตามล่าทองย้อย และติดตามบรรดาชาวตรอกโรงเจที่ร่องเรือเช่นกัน

การเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบาก การเผชิญภัย และความขัดแย้งในระหว่างกัน ธาตุแท้ของหลายคนถูกเผยออก ขณะอีกหลายคนเริ่มเรียนรู้ว่า แม้ว่าเงินจะเป็นยอดปรารถนา แต่การสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว

แพร้างหลังนั้นถูกตามจนเจอ หลายคนได้เดินทางกลับสู่โรงเจ ด้วยความสุขความอิ่มเอิบใจ ในสิ่งที่ได้รับจากการเดินทาง และการใช้ชีวิตช่วงสั้นๆ ร่วมกัน รวมทั้งจากความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกันด้วย

นักแสดง[]

  • เจษฎาภรณ์ ผลดี – ระบือ
  • พัสสน ศรินทุ – ตรอง
  • เข็มอัปสร สิริสุขะ – ปราณี
  • เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ – รัมภา
  • ฉัตรชัย เปล่งพานิช – พยนต์
  • ศรัณยู วงศ์กระจ่าง – โรจน์
  • จินตหรา สุขพัฒน์ – ขวัญตา
  • สันติสุข พรหมศิริ – พร้อม
  • สรพงศ์ ชาตรี – จ้อน
  • มานพ อัศวเทพ – จำรัส
  • มีศักดิ์ นาครัตน์ – เที่ยงแท้
  • ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง – ครูแรม
  • วีระชัย หัตถโกวิท – ทองย้อย
  • พิทักษ์ ศัลย์วิวรรธน์ – นาท
  • โอลิเวอร์ บีเบอร์ – โชติ
  • เขมชาติ เตโชชัชวาล – บุญมา
  • ปอง จุลละทรัพย์ – หมอ
  • กัญญารัตน์ บ่อสันเที๊ยะ – จำเรียง
  • ชูชัย บุษราคัมวงศ์ – เลี้ยง
  • สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ – เฉลิมฤทธิ์
  • วัชระ ปานเอี่ยม – ไศล
  • พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร – สมพิศ
  • คณัฐพล เพ็ชรประสาน
  • อนันต์ สัมมาทรัพย์ – ฉลาด
  • อุดม อุดมโรจน์ – รัฐมนตรีคลัง
  • เสี้ยวจันทร์ แรมไพร
  • อมาวสุ โบราณบุปผา – หนูแดง
  • อลงกรณ์ สิมะกำธรณ์ – บุรี
  • พิบูลย์ ท้ายห้วน – นายกรัฐมนตรี

Image Gallery & วีดีโอ[]

  • ดูเพิ่มเติมที่ : [1] [2] [3]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับศิลป์เหตุการณ์ระหว่างสงครามโดย ประดิษฐ์ นิลสนธิ, สายัณห์ สมควร, สืบศักดิ์ ฉลองธรรม และ สุพัฒน์ เติมสุขสวัสดิ์ ออกแบบการแต่งกายโดย พีรพันธ์ เหล่ายนต์, อรุณี ศรีภา บันทึกเสียงโดย ชาย คงศีลวัต ลำดับภาพ-ออกแบบและควบคุมงานเสียงโดย สุนิตย์ อัศวินิกุล [4]

รางวัล[]

  • รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 9
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (จินตหรา สุขพัฒน์)
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เข็มอัปสร สิริสุขะ)
  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2543
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (จินตหรา สุขพัฒน์)
Advertisement