✨🌟 วัยอลวน (2519)
- ประเภท : Comedy / Romance / Teen
- ผู้กำกับ : เปี๊ยก โปสเตอร์
- บทประพันธ์ : บุญรักษ์ (บุญญรักษ์ นิลวงศ์)
- บทภาพยนตร์ : วิษณุศิษย์
- ผู้กำกับบท : นันทวัติ
- ผู้ถ่ายภาพ : โชน บุนนาค
- ผู้ลำดับภาพ : ประลอง แก้วประเสริฐ
- อำนวยการสร้าง : เอเพ็กซ์โปรดักชั่น
- บริษัทผู้สร้าง : เปี๊ยก โปสเตอร์ฟิล์ม
- จัดจำหน่าย : นิวไฟว์สตาร์
- วันที่เข้าฉาย : 19 กันยายน 2519 ฉายที่โรงภาพยนตร์อินทรา-สยาม-ศาลาเฉลิมไทย-ออสการ์
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม
เรื่องย่อ[]
- เปี๊ยกโปสเตอร์ เสนอภาพยนตร์สับสนที่แสนสุขสันต์ นำโดยดาราน้องใหม่ที่มีฝีมือฉกาจฉกรรจ์
- พาคุณไปบันเทิงกับมุมพิสดาร ของวัยรุ่นที่วัยรุ่นบางคนนึกไม่ถึง (สนุกกว่าปลุกระดมแยะเชียวคุณ)
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
ไพโรจน์ สังวริบุตร | ตั้ม |
ลลนา สุลาวัลย์ | โอ๋ |
จิรวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา | อ้อ |
ศิริวรรณ ทองแสง | |
สมควร กระจ่างศาสตร์ | คุณเมศ |
สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย | คุณแจ่มศรี |
นัฐกานต์ เศรษฐบุตร | |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
คารม สังวริบุตร | |
พรพรรณ วรรณมาตย์ | |
พิศิษฐ์ แช่มปรีชา | |
สมาน เดชะบุญ | |
พยัพ กำเนิดกาญจน์ |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ บุญญรักษ์ นิลวงศ์ หรือ "บุญรักษ์" เจ้าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในหนัง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับด้วย [1]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องแรกๆ ที่สวนกระแสตลาดภาพยนตร์ไทยในสมัยนั้นที่พระเอกจะต้องเป็นสุภาพบุรุษหน้าตาดี ร่างกายกำยำ ชำนาญศิลปะการต่อสู้ แต่ผู้กำกับเลือกใช้ ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงหน้าใหม่รูปร่างผอมเกร็ง ท่าทางยียวนกวนประสาท มารับบทพระเอก
- การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกแนวไปจากเรื่องอื่น ทำให้ในระยะแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ขายไม่ได้ ไม่มีโรงภาพยนตร์ใดยอมซื้อเรื่องนี้ไปฉาย เปี๊ยก โปสเตอร์ และ ไพโรจน์ สังวริบุตร ต่างก็ช่วยกันทำโฆษณาด้วยวิธีการนำไปฉายโชว์และฉายรอบมิดไนท์ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2519 จนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2519 ที่โรงหนังอินทรา-สยาม
- จากการจัดกิจกรรมของผู้ฉาย จัดรอบพิเศษให้กับนักเรียน ทำให้เกิดกระแสบอกต่อ จนเกิดกระแสตอบรับเกินคาดจากหมู่วัยรุ่นและปัญญาชน จึงได้เริ่มฉายจริงในรอบปกติวันที่ 7 ตุลาคม 2519 ที่ศาลาเฉลิมไทยและเริ่มวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่โรงหนังออสการ์-สยาม [2]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบที่ได้รับความนิยม คือเพลง สุขาอยู่หนใด น่ารัก ขับร้องและเล่นกีตาร์โดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้สูงสุด ถึง 8 ล้านบาท และจากความนิยมของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ชื่อเล่น ตั้ม และ โอ๋ เป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จได้รับการต้อนรับจากผู้ชมทั่วประเทศอย่างสูง สามารถครองใจคนไทยทุกชนชั้น โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีพื้นเพจากต่างจังหวัดที่เข้ามาร่ำเรียนและหางานทำในกรุงเทพฯ สามารถสะท้อนภาพของสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนถ่าย ทั้งวัยของคนและของสังคม
- หลังจากประสบความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงมีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อ มีดังนี้
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างอีกครั้งเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2530
อนุสรณ์[]
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ