ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟   ลูกอีสาน (2525)
2525ลูกอีสาน1

ใบปิดวาดโดย บรรณหาร ไทธนบูรณ์

ภาพยนตร์ลูกอีสาน_(พ.ศ._2525)

ภาพยนตร์ลูกอีสาน (พ.ศ. 2525)

  • ชื่ออังกฤษ : A Son Of The Northeast
  • ประเภท : Drama
  • ผู้กำกับ : วิจิตร คุณาวุฒิ
  • บทประพันธ์ : คำพูน บุญทวี
  • บทภาพยนตร์ : วิจิตร คุณาวุฒิ
  • ผู้กำกับการถ่ายภาพ : พรนิติ วิริยศิริ
  • ผู้กำกับศิลป์ / เพลงประกอบ : คณิต คุณาวุฒิ
  • อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
  • วันที่เข้าฉาย : 3 กรกฎาคม 2525
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

ข้าเกิดที่ไหน ข้าก็เป็นคนของที่นั่น..!
ลูกอีสาน รางวัลซีไรท์ วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนปี 2522 ของ คำพูน บุญทวี

ภาพยนตร์เรื่องลูกอีสานเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวนาอีสานในหมู่บ้านโคกอีแหลว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบอกเล่าถึงการฟันฝ่าอุปสรรคจากภัยธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในสังคม ผ่านมุมมองของตัวละครหลัก 2 คน คือบักคูน เด็กชายที่ถอดมาจากชีวิตจริงของผู้ประพันธ์และพ่อสุด พ่อของบักคูน

หมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสานแห้งแล้งมาก ผู้คนได้ย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินที่อื่น มีแต่ครอบครัวของสุดเท่านั้นที่ยังยืนหยัดที่จะต่อสู้เพื่อให้ที่ดินที่ทำมาหากินของตัวเอง และยังต่อสู้มาจนทุกวันนี้

สร้างจากนิยายที่มีเค้าโครงชีวิตจริงของศิลปินแห่งชาติ คำพูน บุญทวี กลายเป็นหนังมหากาพย์ชีวิตคนอีสานผู้เผชิญภัยแห้งแล้งชั่วนาตาปี ที่แม้คนในหมู่บ้านจะอพยพไปหากินที่อื่นหมด ครอบครัวของเด็กชายคูนยังเลือกปักหลักยังอยู่ เด็กชายคูนจึงค่อยๆ เติบโตผ่านการขัดเกลาของประเพณีพื้นบ้านตั้งแต่งานบุญ,งานแต่งจนถึงการละเล่นและการทำงานบนผืนนา หล่อหลอมให้คูนรู้ซึ้งถึงความเป็น ‘ลูกอีสาน’ อย่างแท้จริง

นักแสดง[]

  • องอาจ มณีวรรณ – พ่อสุด
  • จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ – แม่ลุน
  • ไกรลาศ เกรียงไกร – ทิดจุ่น
  • ไพลิน สมนภา – คำกอง
  • ด.ช. ตะแบก จีระดิษฐ์ – บักคูณ
  • ศรินทิพย์ ศิริวรรณ – ป้าญวน
  • สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต – ย่า
  • วรรณพักต์ ก้อนภูธา – ป้าบัวศรี
  • เพ็ญศรี เบิกสีไสย์ – วันด่าม
  • ประจน โภคสุวรรณ – ลุงเข้ม
  • ดอน ดงเค็ง – ลุงใหญ่
  • สิน อัศวเมธี – ลุงเมฆ
  • เสถียร สุนทรสัจ – ทิดฮาด
  • ธงชัย ประสงค์สันติ – บักกาจ
  • จำปา วงทิศา – เจ๊กอู๋
  • บุตรศรี จารุภาส – บักจันดี
  • ขนิษฐา แรกเรียง – บัวลา
  • อรสา วงศาโรจน์ – ป้าขาว
  • กิมน้อย เย็นรำ – เมียเจ๊กอู๋
  • ด.ญ. บุญทิวา แว่นเกตุ – ยี่สุ่น
  • ด.ญ. กัญรัตน์ แสงสุริ – บุญหลาย
  • เทวา จันทร์พวง – หมอลำหนู
  • สมคิด สายหอม – หมอลำอัมพร
  • ศรีมงคล – หลวงพ่อเคน
  • คำพูน บุญทวี – ลุงกา

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากนิยายเรื่อง ลูกอีสาน ของ คำพูน บุญทวี เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตประจำวันในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ของคนอีสาน เรื่องเล่าจากความทรงจำซึ่งเป็นหนังที่ดีที่สุดของ วิจิตร คุณาวุฒิ และของไทยเรื่องหนึ่ง
  • ลูกอีสาน เป็นหนังสือนวนิยายของ คำพูน บุญทวี พิมพ์ครั้งแรกที่สำนักพิมพ์บรรณกิจ ในปี พ.ศ. 2519 ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2522 และได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกอีสาน ในปีพ.ศ. 2525 รวมทั้งยังได้รับการจัดให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการอำนวยการสร้างโดย เจริญ เอี่ยมพึ่งพร โดยรับหน้าที่อำนวยการสร้างต่อจากพี่ชาย เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร ที่ถูกลอบยิงเสียชีวิต
  • บริษัทไฟว์สตาร์ ได้ซื้อลิขสิทธิ์นวนิยาย ลูกอีสาน มาและมอบหมายให้ วิจิตร คุณาวุฒิ กำกับ เขาเริ่มต้นทำงานด้วยการค้นคว้าข้อมูลอย่างเอาจริงเอาจังทั้งยังคัดเลือกนักแสดงและลงมือถ่ายทำอย่างพิถีพิถันในทุกๆ ฉาก โดยตัดสินใจรักษาความเป็นเรื่องเล่ากึ่งสารคดีอันเป็นหัวใจของนิยายต้นฉบับเอาไว้ ทั้งหมดนี้ทำให้ได้มาซึ่งภาพยนตร์ที่ลุ่มลึกและมีชีวิตชีวาอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ไม่มีเส้นเรื่องแบบที่คุ้นเคย แต่การเล่าโดยปล่อยให้ช่วงชีวิตไหลผ่านไปตามกาลเวลาเฉกเช่นชีวิตจริง [1]
  • องอาจ มณีวรรณ นักแสดงนำภาพยนตร์เรื่องนี้ ชีวิตจริงเป็นนักมวยและเคยแสดงภาพยนตร์มาก่อนหน้านี้ ในเรื่อง ทองปาน (2520) โดยรับบทเป็น ทองปาน โพนทอง
  • คำพูน บุญทวี ผู้ประพันธ์นวนิยายต้นฉบับ ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ในบทของ "ลุงกา" นักเลงโตเมืองอีสาน
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2554

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2525
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
    • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2525
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (องอาจ มณีวรรณ)
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554)
  • 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
Advertisement