- ประเภท : Drama / Romance
- ผู้กำกับ : พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง)
- บทประพันธ์ : รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก)
- บทภาพยนตร์ : ส. อาสนจินดา
- ผู้ถ่ายภาพ : ฉลอง ภักดีวิจิตร
- อำนวยการสร้าง : ชรินทร์ นันทนาคร
- บริษัทผู้สร้าง : นันทนาครภาพยนตร์
- จัดจำหน่าย : วัชรภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 19 มีนาคม 2509 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ :
เรื่องย่อ[]
- นันทนาครภาพยนตร์ ขอมอบของขวัญอันเป็นมิ่งมงคล แก่ชีวิตทุกชีวิตที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร โปรดเกล้าพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "ลมหนาว" เป็นเพลงเอก ฟัง! เพลงพระราชนิพนธ์ "ลมหนาว" บรรเลงด้วยดนตรี 101 ชิ้น ยิ่งใหญ่ที่สุด
- จากนวนิยายชีวิตในนิตยสาร เดลิเมล์วันจันทร์ โดยนักประพันธ์ตุ๊กตาทองพระราชทาน รพีพร นำโดยดาราที่ปวงประชาทุกครัวเรือนถือเสมือนญาติสนิท...
นักแสดง[]
|
|
Image Gallery & วีดีโอ []
เกร็ด[]
- เพลงพระราชนิพนธ์ ลมหนาว หรือ Love in Spring เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้ ออกบรรเลงครั้งแรก ในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบที่กลายเป็นเพลงสำคัญของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ คือเพลง สดุดีมหาราชา เป็นเพลงที่เกิดจากการประพันธ์ทำนองและคำร้องร่วมกันโดย ชาลี อินทรวิจิตร, สมาน กาญจนะผลิน และ สุรัฐ พุกกะเวส เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ต่อมารัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ชรินทร์ นันทนาคร เคยเขียนถึงเบื้องหลังเพลง สดุดีมหาราชา ไว้ดังนี้ |
---|
ก็ขอย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2507 ผมมีโอกาสขึ้นไปดูสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ที่บ้านป๋าแป๋ ที่มีน้ำพุร้อนสวยที่สุดที่เชียงใหม่ เห็นแม๊วเป๊อะของเต็มกระบุงขึ้นดอยมา ที่ขอบกระบุงมีธง ภ.ป.ร. ผืนน้อยเสียบอยู่ ถามดูได้ความว่าซื้อมาจากในเมืองอันละ 8 บาท จะเอาไปติดบูชาที่ประตูบ้านในวันสำคัญของเจ้าพ่อหลวง ผมมองตามธงผืนนั้น ไกลออกไป ในระหว่างหุบเขา และจะด้วยอะไรก็ไม่รู้ ผมนึกชื่อขึ้นมาได้ชื่อหนึ่งว่า “สดุดีมหาราชา” เก็บชื่อและคิดว่าจะทำอะไรอยู่เกือบ 2 ปี จึงได้ไปพบผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง ซึ่งผมนับถือเสมือน “พ่อ” ท่านคือ พระยาศรีวิศาลวาจา กราบเรียนถามท่านว่า ถ้าเราจะแต่งเพลงรักและบูชาพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีของเรา โดยใช้ถ้อยคำธรรมดาง่ายๆ แบบชาวบ้านจะเป็นการมิบังควรหรือเปล่า ท่านบอกเป็นความคิดที่ดีมาก รีบไปทำได้เลย นักประพันธ์เพลงที่ฝีมือดีมีมากมายในบ้านเรา แต่ผู้ที่จะมาสร้างทำนองเพลงอันสำคัญนี้ คงจะเป็น ใครไปไม่ได้นอกจาก “น้าหมาน” หรือ คุณสมาน กาญจนะผลิน เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่าน เคยบันทึกเสียงเพลงด้วยกันมา ผมทราบดีว่าคนคนนี้ “อัจฉริยะ” ปัญหาอยู่ที่เนื้อร้อง ผมตรงไปพบ คุณสุรัฐ พุกกะเวส นักประพันธ์เพลงอาวุโส และช่วงนั้นท่านเป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงด้วย ท่านขอเวลา 2 วัน ถึงเวลาไปรับเนื้อเพลงมา ปรากฏว่ายาวมาก ถ้อยคำส่วนใหญ่จะเป็นราชาศัพท์ ก็ไม่ตรงกับใจที่หวังไว้ ถึงอย่างไรก็ถือว่าได้เริ่มต้นกันแล้ว คิดอยู่อีกนานว่าจะทำอย่างไร เผอิญได้พบกับ คุณชาลี อินทรวิจิตร ในร้านอาหาร “สีทันดร” ผมระบายความในใจและสิ่งที่อยากจะได้ให้เขาฟังบอกชื่อเพลงเขาไปว่า “สดุดีมหาราชา” พอเริ่มแต่งเพลง ชาลีก็เริ่มเกร็ง เนื้อร้องต้องมาก่อน เอาง่ายๆ แบบชาวบ้านแต่ประทับใจ ผมบอก ชาลีเถียง นั่นแหละยากแล้ว ชาลีก็ถามผมขึ้นมาลอยๆ ว่า “เออ ชรินทร์ ถ้าเผอิญในหลวงท่านมาในซอยนี้แล้วเราไปเจอพระองค์ท่าน เราจะทำยังไง” ผมก็บอกไปว่า “เราคงต้องนั่งหรือคุกเข่าพนมมือ” ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า แล้าเรามีอะไรก็กราบบังคมทูลพระองค์ท่าน ชาลีรีบเขียนในกระดาษ ขอเดชะองค์พระประมุขภูมิพล มิ่งขวัญปวงชนประชาชาติไทย…เหมือนลมเย็นพัดมาวูบหนึ่ง แล้วก็พาความวิตกกังวลที่สุมอยู่ในหัวใจผมมานานหายไปในพริบตา ผมดึงเนื้อเพลงบรรทัดนั้นส่งให้น้าหมาน ท่านพรมนิ้วลงบนคีย์เปียโนไล่เสียงไม่นานเลย แล้วทำนองเพลงก็หลั่งไหลมาครั้งเดียวก็ดีเยี่ยม เป็นทำนองที่เราท่านทั้งหลายร้องสดุดีมหาราชาจากวันนั้นถึงวันนี้ ได้บรรทัดแรกมา เราสามคนก็หายจากอาการ เกร็ง ฟ้าดินเป็นใจเราแล้ว ก็แต่งต่อจนจบท่อนสดุดี มหาราชินี แล้วชาลีก็พูดขึ้นอีกว่า ต่อไปนี้เป็นท่อนจบ ความไพเราะทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมารวมกันอยู่ที่ตรงนี้ และนี่คือเนื้อเพลง…อ่าองค์พระสยมบรมราชันย์ขวัญหล้า…อ่านบรรทัดที่หนึ่งผมก็นิ่ง ชาลีเขาอ่านสีหน้าผมออก ยิ่งกว่าอ่านแบบเรียนเร็ว ชาลีพูดเสียงดัง “กูตามใจมึงมา 8 บรรทัดแล้ว จะแต่งตามใจกูสักบรรทัดไม่ได้เชียวหรือวะ…ชรินทร์” เออ ก็ต้องรีบประนีประนอมขอฟังทำนองจากน้าหมานก่อน ถ้าเพราะก็คงไม่ยาก น้าหมานอ่านเนื้อแล้วไล่คีย์เปียโนบอกว่าทำนองจะขาดไป 2 ห้อง ต้องทำสะพานดนตรีลงมารับกับคำร้องท่อนสุดท้าย อ่าองค์พระสยม…แล้วท่านก็ดีดให้ฟังอีกครั้ง อัจฉริยชนคนธรรมดาสำแดงฤทธิ์ทางดนตรี ดีดทีเดียวก็ไพเราะจับใจ ท่านผู้อ่านลองร้องดูเถอะครับ เพลงสดุดีมหาราชาเผยแพร่สู่ประชาชนครั้งแรก โดยบรรจุไว้ในภาพยนตร์เพลงพระราชทาน “ลมหนาว” ที่ผมสร้างฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อปี 09 เป็นตอนใกล้จบเรื่อง มีภาพนักโทษการเมืองและพระเอกของเรื่องที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เดินออกจากคุกและพร้อมใจกันก้มกราบระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ผู้คนที่เข้ามาดูภาพยนตร์ในรอบแรกต่างลุกขึ้นยืนถวายความเคารพ คนเฝ้าประตูใหญ่ด้านข้าง ของเฉลิมกรุงก็เปิดประตู ผู้คนเข้าใจว่าภาพยนตร์จบแล้ว ต่างก็กรูกันออกไปเต็มถนนเจริญกรุง ไม่นานก็ได้เรื่อง ตำรวจพาตัวผมไปที่โรงพักพระราชวังเพราะมีคนไปแจ้งความว่า ผมเอาเพลงอะไรก็ไม่รู้มาเปิดแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี อธิบายให้ตำรวจฟังยังไงก็ไม่เข้าใจ ทางโรงก็ไม่กล้าฉายหนัง ผมก็ต้องโทร.ถึงที่พึ่งของผม พักใหญ่ที่พึ่งของผมท่านก็มา ตำรวจตั้งแถวกันพรึ่บพรั่บทั่วโรงพัก และทุกอย่างก็จบลงด้วยรอยยิ้มและความเข้าใจ ภาพยนตร์ก็ฉายได้ตามปกติ จากวันนั้นถึงวันนี้ เพลง “สดุดีมหาราชา” ได้กลายเป็นเพลงของประชาชนคนไทยทั้งประเทศไปแล้ว |
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ อรัญญา นามวงษ์ รองนางสาวไทยปี 2507 ร่วมแสดงในบทรับเชิญ แต่เรื่องแรกที่รับแสดงเป็นนางเอกคือภาพยนตร์เรื่อง แสนพยศ (2511) คู่กับ มิตร ชัยบัญชา