ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟   รักริษยา (2500)
รรษ 7
  • ประเภท : Drama / Romance
  • ผู้กำกับ : มารุต (ทวี ณ บางช้าง)
  • บทประพันธ์ : ถาวร สุวรรณ
  • บทภาพยนตร์ : ทวี ณ บางช้าง
  • ผู้ถ่ายภาพ : นิพนธ์ นิ่มบุญจาด
  • บันทึกเสียง : ปง อัศวินิกุล
  • อำนวยการสร้าง : เฑียรร์ กรรณสูต
  • บริษัทผู้สร้าง : กรรณสูตภาพยนตร์
  • วันที่เข้าฉาย : 25 กรกฎาคม 2500 ฉายที่ศาลาเฉลิมไทย
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สีเฟอร์ราเนีย 35 มม. บันทึกเสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

ภาพยนตร์เสียง สีเฟอร์ราเนีย ขนาดมาตรฐาน จากบทประพันธ์ของ ถาวร สุวรรณ
เพื่อให้ความรักของเธอสมหวัง แม้จะต้องฆ่าคน เธอก็พร้อมที่จะทำ ดูชีวิตจริงของสาวสวยที่สังคมรู้จักดี พึ่งเปิดเผยเป็นครั้งแรก ใน... รักริษยา

เรื่องราวของ ปัทมา และเชษฐ์ ชัชวาลย์ บุตรกำพร้าของคุณประจักษ์ เศรษฐีม่าย เมื่อทั้งคู่เติบใหญ่เป็นหนุ่มสาว ความรู้สึกของปัทมาที่มีต่อเชษฐ์แบบพี่ชายได้กลับกลายเป็นความรักที่ต้องซ่อนเร้น จนเมื่อคุณประจักษ์รับเอาภรรยาใหม่และลูกสาวของเธอมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกัน เรื่องราวรักริษยาจึงอุบัติขึ้นอย่างไม่อาจคาดเดา

นักแสดง[]

นักแสดง รับบทเป็น
อมรา อัศวนนท์ ปัทมา
ชนะ ศรีอุบล เชษฐ์
เยาวนารถ ปัญญะโชติ คุณนายสมร
ประจวบ ฤกษ์ยามดี ฤทธิ์
พงษ์ลดา พิมลพรรณ มนต์จันทร์
ม.ร.ว.ประสิทธิ์ศักดิ์ สิงหรา พ่อของปัทมา
สำราญจิต อมาตยกุล

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ถาวร สุวรรณ มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ดังนี้
รูปแบบการนำเสนอ ปัทมา เชษฐ์ มนต์จันทร์ คุณนายสมร
 ภาพยนตร์ พ.ศ. 2500 อมรา อัศวนนท์ ชนะ ศรีอุบล พงษ์ลดา พิมลพรรณ เยาวนารถ ปัญญะโชติ
 ภาพยนตร์ พ.ศ. 2522 ธิติมา สังขพิทักษ์ ชลิต เฟื่องอารมย์ ดวงใจ หทัยกาญจน์ จุรี โอศิริ
 ละครช่อง 3 พ.ศ. 2548 เก็จมณี พิชัยณรงค์สงคราม จิรายุส วรรธนะสิน  อินทิรา แดงจำรูญ สุพรรษา เนื่องภิรมย์
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบในชื่อเดียวกัน แต่งโดยครูมารุต ทำนองโดย สง่า ทองธัช และขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • นับเป็นบทบาทการแสดงอันเข้มข้นของอมรา อัศวนนท์ นักแสดงหญิงปูชนียบุคคลของไทย ซึ่งส่งผลให้เธอได้รับรางวัลตุ๊กตาทองในฐานะนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากการประกาศรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2501
  • ในขณะที่ตัวภาพยนตร์ยังมีความโดดเด่นในด้านสุนทรียศาสตร์ และแฟชั่นในยุคที่แสดงให้เห็นอิทธิพลทางแฟชั่นจากตะวันตก

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2501
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (มารุต)
    • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (อมรา อัศวนนท์)
    • นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (ประจวบ ฤกษ์ยามดี)
    • ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประเภทฟิล์ม 35 มม. (นิพนธ์ นิ่มบุญจาด)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ปง อัศวินิกุล)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557)
Advertisement