- ประเภท : Drama / ขาว-ดำ
- ผู้กำกับ : สดศรี บูรพารมณ์
- บทประพันธ์ : ไม้ เมืองเดิม (ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา)
- บทภาพยนตร์ : รังษี เสวิกุล
- ผู้ถ่ายภาพ : ไพรัช สังวริบุตร
- อำนวยการสร้าง : คุ้ม สังวริบุตร
- บริษัทผู้สร้าง : กรุงเทพภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 2 มีนาคม 2493 ฉายที่ศาลาเฉลิมบุรี
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์ขาวดำ 16 มม. ให้เสียงพากย์สด
เค้าเรื่อง[]
เป็นเรื่องชีวิตของชาวทุ่งบางเขนที่คลุกเคล้าอยู่กับควาย โคลนและคล่ำด้วยแดดลมตามธรรมชาติ ห่างไกลจากการแต่งลวงเยี่ยงคนในกรุง แต่ชีวิตนั้นต้องผจญกับความแค้นอย่างแสนสาหัส ด้วยเรื่องรักและเหลี่ยมนักเลง เพราะลูกน้อยและเมียรัก จนต้องจับ ดาบขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเรียกเลือดมาล้างรอยน้ำตาของ เขา ... ในด้านรัก เราจะได้เห็นความรักของเจ้าลือที่ซื่อ ต่อเมียรักและทนุถนอมลูกน้อยเพียงดวงใจ ความรักในฐานชู้ และความรักของสาวเพิ่งรุ่นกับชายอารมณ์เริงอย่างสุขสด ต่างกันถึงสามรส ในด้านแค้น ก็เกินที่จะเปรียบกับเรื่องใด นอกจากจะรู้แก่ใจของผู้ที่ถูกพรากเมียรักและทิ้งลูกแดงที่ยังอ้อนนมไว้ให้เลี้ยง ซ้ำถูกพวกนักเลงเหยียบเกียรติของเขาอีก (ที่มา: นิตยสารภาพยนตร์สาร กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)
นักแสดง[]
Image Gallery & วีดีโอ[]
นิตยสารภาพยนตร์สาร กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม (ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา) มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายต่อหลายครั้ง
รูปแบบการนำเสนอ
|
ลือ
|
บัวเผื่อน
|
บัวผัน
|
เปลี่ยน / อ่อน
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493 |
คำรณ สัมบุณณานนท์ |
พรพรรณ วรรณมาศ |
เจริญศรี วรรณมาศ |
สมชาย ตัณฑกำเนิด
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2503 |
อาคม มกรานนท์ |
วิไลวรรณ วัฒนพานิช |
ลักษมี ทวีสิน |
สังเวียน หาญบุญตรง
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2522 |
สรพงศ์ ชาตรี |
นันทนา เงากระจ่าง |
วาสนา สิทธิเวช |
สมภพ เบญจาธิกุล
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2532 |
บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ |
จิตรลดา สุวรรณภูมิ |
ชุติมา นัยนา |
ชลิต เฟื่องอารมย์
|
มินิซีรีส์ช่อง 7 พ.ศ. 2540 |
เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ |
อภิรดี ภวภูตานนท์ |
เกวลิน คอตแลนด์ |
ธานินทร์ ทัพมงคล
|
ละครช่อง 7 พ.ศ. 2545 |
วินัย ไกรบุตร |
รชนีกร พันธุ์มณี |
ทราย เจริญปุระ |
ศตวรรษ ดุลยวิจิตร
|
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบในชื่อเดียวกัน ขับร้องโดย คำรณ สัมบุณณานนท์ เป็นผู้ร้องในฐานะผู้แสดงนำ แต่งคำร้อง-ทำนองโดย ไพบูลย์ บุตรขัน, เนียน วิชิตนันท์ โดยก่อนหน้านั้นเนื้อเดิมมี 3 ท่อน ไพบูลย์ บุตรขัน (ใช้นามปากกาในการประพันธ์เพลงว่า "อมราวรรณ") แต่ง 2 ท่อนแรกให้กับละครเรื่อง รอยไถ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ส่วน เนียน วิชิตนันท์ แต่งท่อนที่ 3 เพิ่มขึ้นสมัยเป็นเพลงละครเมื่อปี พ.ศ. 2485 ขับร้องโดย สมควร กระจ่างศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2497 ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์ ในการบันทึกแผ่นเสียงจำเป็นต้องตัดเนื้อเพลงออกไป 1 ท่อน เพราะเวลาเกินที่จำกัดไว้