- ชื่ออังกฤษ : Tears of the Black Tiger
- ประเภท : Action / Comedy / Romance / Western
- ผู้กำกับ : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
- บทภาพยนตร์ : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
- กำกับภาพ : ณัฐวุฒิ กิตติคุณ, ระวิ เครือวรรณ, เรวัติ ปรีเลิศ
- ลำดับภาพ : ดุษณีย์ ผุยหนองโพธิ์
- ออกแบบงานสร้าง : เอก เอี่ยมชื่น
- กำกับศิลป์ : รัชชานนท์ ขยันงาน, อรรคเดช แก้วโคตร
- ดนตรีประกอบ : อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ
- อำนวยการผลิต : นนทรีย์ นิมิบุตร
- อำนวยการสร้าง : ประชา มาลีนนท์, เจริญ เอี่ยมพึ่งพร, ไบรอัน มาคาร์
- บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น, ฟิล์มบางกอก, บีอีซีเทโร
- วันที่เข้าฉาย : 29 กันยายน 2543
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
รักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ
เรื่องราวความรักของ "รำเพย" และ "ดำ" ที่ความรักของพวกเขาต้องพลาดจากกันเมื่อมีเหตุให้ดำต้องเข้าสู่เส้นทางมือปืน ส่วนรำเพยกลับหมั้นหมายกับนายตำรวจตามที่พ่อจัดการให้ ด้วยเส้นทางที่ขัดแย้ง ระหว่างนายตำรวจต้องการจับตัวดำมาลงโทษ และดำที่ไม่สามารถจัดการกับนายตำรวจด้วยเห็นแก่ความสุขของรำเพย นำไปสู่ความแคลงใจกับพวกพ้องโจรด้วยกัน และการแก้แค้นของพวกโจรที่ทำให้เขาต้องตัดสินใจเลือกข้าง
ฟ้าทะลายโจร เป็นเรื่องราวของโศกนาฎกรรมความรัก ระหว่าง "รำเพย" หญิงสาวในตระกูลสูงศักดิ์ กับ "เสือดำ" จอมโจรผู้เดียวดายและเปลี่ยวเหงา ทั้งสองพบกันในช่วงปฐมวัย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวของรำเพย อพยพมาหลบภัย อยู่กับครอบครัวของดำที่สุพรรณบุรี ที่นี่เอง ความสนิทสนมได้ก่อตัวขึ้นช้าๆ และเมื่อเด็กชายดำได้ช่วยปกป้องเด็กหญิงรำเพย จนตัวเองได้รับบาดเจ็บ และฝากรอยแผลเป็นจารึกไว้ที่หน้าผากจนชั่วชีวิต เด็กทั้งสองก็ได้ประทับความทรงจำนั้น ตราตรึงไว้ในหัวใจตลอดไป แม้จะจากกันไปแล้ว ก็ยังเฝ้าถวิลหากันไม่เสื่อมคลาย
สิบปีต่อมา ทั้งสองพบกันอีกครั้งในพระนคร และดำได้ช่วยปกป้องรำเพยไว้เป็นครั้งที่สอง ความทรงจำในวัยเยาว์ที่เขาและเธอมีต่อกัน บัดนี้งอกงามเพิ่มพูน จนกลายเป็นความรักอันจีรังยั่งยืน ดำให้สัญญาว่า เขาจะกลับไปทำไร่ที่สุพรรณ เก็บเงินมาสู่ขอรำเพยให้ได้ ส่วนเธอก็สัญญาว่า ถ้าความรักไม่สมหวัง เธอก็จะหนีตามเขาไป แต่แล้วโชคชะตาก็มักเล่นตลกกับมนุษย์เสมอ เมื่อดำกลับถึงบ้านแล้วพบว่าพ่อถูกฆ่าตาย เขาคว้าปืนออกมา ตามล้างแค้นคนที่ฆ่าพ่อ จนต้องตกระหกระเหิน ไปพบกับกองโจรของเสือฝ้าย และเสือมเหศวร ดำจำต้องตกกระไดพลอยโจนไปด้วย นับแต่นั้นมา ทั่วทั้งสุพรรณก็รู้จักชื่อของ"เสือดำ" สมุนมือขวาของเสือฝ้าย ผู้ยิงปืนแม่นราวจับวาง ส่วนรำเพยถูกบังคับให้รับหมั้นกับ รตอ.กำจร เธอตัดสินใจหนีตามดำไป โดยทั้งสองนัดแนะกันมารอที่ศาลารอนาง สถานที่ซึ่งทั้งสองต่างประทับใจในวัยเด็ก
แต่แล้ว อนิจจา.. โชคชะตาก็เล่นตลกอีกเป็นครั้งที่สอง.. เสือดำบังเอิญติดภารกิจสำคัญ แม้จะพยายามเร่งรีบเพื่อจะมาพบเธอให้ได้ แต่ก็สายไปเสียแล้ว รำเพยรอจนเชื่อว่าเขาคงไม่มาแล้ว จึงกลับไปเข้าพิธีหมั้นกับ รตอ.กำจร ด้วยหัวใจแตกสลาย
หลังงานหมั้น รตอ.กำจร นายตำรวจหนุ่มจากพระนคร ตัดสินใจนำกำลังตำรวจไปกวาดล้างรังโจรเสือฝ้าย เพื่อหวังสร้างผลงาน แต่เสียทีถูกเสือฝ้ายจับตัวได้ เสือฝ้ายให้เสือดำไปสังหาร รตอ.กำจร ครั้นรู้ว่าวาระสุดท้ายของตนมาถึงแล้ว รตอ.กำจร ได้ขอร้องเสือดำให้ส่งข่าวแก่คู่หมั้นของเขา พร้อมมอบรูปถ่ายรำเพยให้ดู เสือดำตกตะลึง เมื่อรู้ว่ารำเพยคือคู่หมั้นของ รตอ.กำจร แต่ด้วย ความรัก ความเสียสละ เขาตัดสินใจปล่อย รตอ.กำจร ไปด้วยดวงใจอันปวดร้าว เมื่อเสือฝ้ายรู้ว่าเสือดำทรยศต่อเขา จึงสั่งให้เสือมเหศวรหลอกเสือดำไปฆ่า แต่เสือดำก็รอดมาได้หวุดหวิด ทั้งยังรู้ข่าวว่าเสือฝ้ายจะยกพวกไปถล่มงานแต่งงานของ รำเพยกับ รตอ.กำจร ในคืนวันงานที่จะถึงนี้ เสือดำก็ตัดสินใจเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปกป้องคนที่เขารัก ให้พ้นจากอันตรายอีกครั้งหนึ่ง..
นักแสดง[]
ชาติชาย งามสรรพ์ | ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ | พศิน เรืองวุฒิ |
ดำ (รพินทร์) | เสือมเหศวร | ร้อยตำรวจเอกกำจร |
สเตลล่า มาลูกี้ | สมบัติ เมทะนี | ไพโรจน์ ใจสิงห์ |
รำเพย ราชเสนา | เสือฝ้าย | พระยาประสิทธิ์ ผู้ว่าสุพรรณบุรี |
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : | รับบทเป็น |
---|---|
นัยนา ชีวานันท์ | แม่นม |
ครรชิต ขวัญประชา | กำนันเดื่อ |
สุวินิจ ปัญจมะวัต | ดำ (ตอนเด็ก) |
จ๊ะเอ๋ เชิญยิ้ม (จำเริญ สีแดง) | |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากนิยายชื่อเรื่องเดียวกันของ คอยนุช (ศิริพรรณ เตชจินดาวงศ์) เป็นภรรยาของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
- วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับอุทิศความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ให้แก่ รัตน์ เปสตันยี ทีมงานได้คัดเลือกนักแสดงนำชาย บท ดำ โดยใช้บุคลิกของ ชนะ ศรีอุบล เป็นต้นแบบ และนักแสดงนำหญิง บท รำเพย ใช้บุคลิกของ รัตนาวดี รัตนาพันธ์ บุตรสาวคนโตของรัตน์ เปสตันยี จากภาพยนตร์ แพรดำ (2504) เป็นต้นแบบ
- ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย นนทรีย์ นิมิบุตร อำนวยการผลิต, อดิเรก วัฏลีลา, สมศักดิ์ พยับเดชาชัย ที่ปรึกษาฝ่ายผลิต, ณัฐวุฒิ กิตติคุณ, ระวิ เครือวรรณ, เรวัติ ปรีเลิศ กำกับภาพ, เอก เอี่ยมชื่น ออกแบบงานสร้าง, รัชชานนท์ ขยันงาน, อรรคเดช แก้วโคตร กำกับศิลป์, เสริมสันต์ เสริมกิตติสวัสดิ์ กำกับแสง, อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ ดนตรีประกอบ, ดุษณีย์ ผุยหนองโพธิ์ ลำดับภาพ, ชิโนเรศ คำวันดี อุปกรณ์ประกอบฉาก, กิ่งดาว อยู่พิพัฒน์ ผู้ช่วยอุปกรณ์ประกอบฉาก, สุประสิทธิ์ ภูตะคาม ศิลปกรรม, ประเสริฐ ลือกระจ่างธรรม ศิลปกรรม, กมลศักดิ์ ขำสิน ผู้ช่วยศิลปกรรม, ออกไซด์ แปง ควบคุมสีภาพยนตร์, ไวด์ แอท ฮาร์ท ออกแบบเสียง, ยุทธนา ทุสาวุธ บันทึกเสียง, ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา โอเรียลเต็ลโพสต์, ภาสิรี ปัญญา คัดเลือกนักแสดง, น้ำผึ้ง โมจนกุล เครื่องแต่งกาย, ประภาวดี ขจรบุญ ดูแลเครื่องแต่งกาย, เบญจวรรณ สร้อยอินทร์ แต่งหน้า, จีระยุทธ แจ่มประจักษ์ ทำผม, บรรพต งามขำ จัดหาสถานที่, สายใจ ละอองแก้ว ผู้จัดการกองถ่าย, จันทพร ธนโกเศศ ประสานงานกองถ่าย, ชลดา วันณุปถัมภ์ ธุรกิจกองถ่าย, ธนัท โชติบาล ภาพนิ่ง [5]
- ฉากจวนผู้ว่าสุพรรณบุรี บ้านพระยาราชเสนา ถ่ายทำที่ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบ ได้แก่เพลง ฝนสั่งฟ้า, ใครจะเมตตา, งามชายหาด, ฟ้างามยามค่ำ, พรหมลิขิต, กำศรวลจันทร์, โคบาลย่องม้า
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในรูปแบบภาพยนตร์คาวบอยย้อนยุค เหมือนหนังคาวบอยไทยในอดีต ผู้กำกับจงใจเขียนบทให้ใช้คำพูดเชยๆ และใช้เทคนิคพิเศษย้อมสีภาพยนตร์ให้ฉูดฉาด สีจัดเกินจริง มีการประชาสัมพันธ์โดยรถแห่ การทำโชว์การ์ด และการทำโปสเตอร์โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ และที่พิเศษขึ้นมาอีกคือ ฟ้าทะลายโจร มีการออกแบบฟอนต์เป็นของตนเองชื่อว่า SR FahtalaiJone NP โดย โรจ สยามรวย
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกนำไปฉายในเทศกาล Cannes Film Festival ปี 2001 ประเภท Un Certain Regard ภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นผ่านการนำเสนอที่ตื่นตาตื่นใจ นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับเชิญอย่างเป็นทางการในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติต่างๆ อาทิ
- Seatlle International Film Festival 2001 สหรัฐอเมริกา
- New Zealand Film Festival 2001 ประเทศนิวซีแลนด์
- Edinburgh International Film Festival 2001 สหราชอาณาจักร
- Filmex 2001 ประเทศญี่ปุ่น
- The 2002 Sundance Film Festival ในประเภท World Cinema
- The 31st International Film Festival Rotterdam เนเธอร์แลนด์
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการซื้อไปขายในสหรัฐอเมริกาโดย มิราแม็กซ์ แต่ถูกเก็บดองไว้หลายปีไม่เผยแพร่ เนื่องจากมิราแม็กซ์ต้องการให้เปลี่ยนฉากจบของหนัง จนกระทั่ง แมกโนเลีย พิคเจอร์ เปลี่ยนมือเข้ามา จึงได้ฉายในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2543
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (เอก เอี่ยมชื่น)
- เทคนิคพิเศษทางภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อ๊อกไซด์ แปง)
- เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง กำศรวลจันทร์)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 11
- การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (อ๊อกไซด์ แปง)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (น้ำผึ้ง โมจนากุล)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 9
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สมบัติ เมทะนี)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (เอก เอี่ยมชื่น)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ)
- International de Cine Gijon 2001 Spain
- Best art direction
- Pifan 2001
- Jury's Choice (Jury's special award)
- Vancouver International Film Festival 2000
- Dragons & Tigers award for young cinema
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ