- ประเภท : Drama / Romance / Comedy
- ผู้กำกับ : วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทประพันธ์ : รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก)
- บทภาพยนตร์ : วิจิตร คุณาวุฒิ
- ผู้ถ่ายภาพ : ไพรัช สังวริบุตร
- ผู้ลำดับภาพ : สัตตบุษป์
- ผู้กำกับศิลป์ : ทนง วีระกุล
- ออกแบบเครื่องแต่งกาย : ชโลธร
- อำนวยการสร้าง : ทองปอนด์ คุณาวุฒิ
- บริษัทผู้สร้าง : แหลมทองภาพยนตร์
- จัดจำหน่าย : เอวันฟิล์ม
- วันที่เข้าฉาย : 12 มีนาคม 2508 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 16 มม. ให้เสียงพากย์สด
เรื่องย่อ[]
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 4 ตุ๊กตาทอง 2508
- มิตร ชัยบัญชา ดารายอดนิยมของประชาชน พบกับ พิศมัย วิไลศักดิ์ ในบทบาทของ... นางสาวโพระดก บทประพันธ์ของ รพีพร
โพระดก สกุณา (พิศมัย วิไลศักดิ์) สาวน้อยเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์มีชีวิตที่เพียบพร้อม หลังจากบิดาถึงแก่กรรม คุณหญิงพิณ (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) มารดาแต่งงานใหม่กับนายอาทร เฮงกุล นักธุรกิจหนุ่มลูกติด ผู้รักและเลี้ยงดูโพระดกเสมอลูกสาวตน กระทั่งวันหนึ่งก็ต้องมีอันจากไปอีกคน อาบจิต (น้ำเงิน บุญหนัก) น้องสาวนายอาทรไม่เห็นควรในสมบัติที่โพระดกจะได้รับ ด้วยความริษยาเธอจึงคบคิดกับอรรถลูกชายคนรองของอาทร (อดุลย์ ดุลยรัตน์) หวังรวบหัวรวบหางเอาโพระดกมาทำเมีย แต่เธอกลับระหกระเหินไปยังไร่กระต่ายเต้นของเพื่อนสาวสายสมร (โสภา สถาพร) ที่นี่ทำให้ได้พบเจอตกหลุมรักกับ ศล ทองปราย (มิตร ชัยบัญชา) ทนายความชาวไร่รูปงาม สาวน้อยลูกติดของแม่ที่หลงเข้าไปในตระกูลของเศรษฐีมีเงิน ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ที่สนุก เข้มข้น
นักแสดง[]
นักแสดง
|
รับบทเป็น
|
มิตร ชัยบัญชา |
ศล ทองปราย
|
พิศมัย วิไลศักดิ์ |
โพระดก สกุณา
|
วิไลวรรณ วัฒนพานิช |
คุณหญิงพิณ
|
อดุลย์ ดุลยรัตน์ |
อาทร
|
ประจวบ ฤกษ์ยามดี |
เอก
|
โสภา สถาพร |
สายสมร
|
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ |
พี่ของอาบจิต
|
น้ำเงิน บุญหนัก |
อาบจิต
|
เยาวเรศ นิสากร |
|
สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต |
|
ทรงวุฒิ สุทธิเมธี |
|
ล้อต๊อก |
|
บังเละ วงศ์อาบู |
|
Image Gallery & วีดีโอ[]
ร.9 เสด็จฯ ทอดพระเนตรภาพยนตร์ นางสาวโพระดก วันที่ 12 มีนาคม 2508 ที่ศาลาเฉลิมกรุง
ร.9 เสด็จฯ ทอดพระเนตรภาพยนตร์ นางสาวโพระดก วันที่ 12 มีนาคม 2508 ที่ศาลาเฉลิมกรุง
ดูหนัง: นางสาวโพระดก (2508)
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์ มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายต่อหลายครั้ง
รูปแบบการนำเสนอ
|
ศล ทองปราย
|
โพระดก สกุณา
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2508 |
มิตร ชัยบัญชา |
พิศมัย วิไลศักดิ์
|
ละครช่อง 3 พ.ศ. 2522 |
ยอดชาย เมฆสุวรรณ |
ภาวนา ชนะจิต
|
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2524 |
พอเจตน์ แก่นเพชร |
จารุณี สุขสวัสดิ์
|
ละครช่อง 3 พ.ศ. 2530 |
นพพล โกมารชุน |
จารุณี สุขสวัสดิ์
|
ละครช่อง 7 พ.ศ. 2543 |
นุติ เขมะโยธิน |
เฌอมาลย์ บุณยะศักดิ์
|
- สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) นักเขียนผู้เพิ่งประสบความสำเร็จจากนวนิยายเรื่อง ลูกทาส ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2507 โดยรพีพรได้ลองเขียนนวนิยายเรื่อง นางสาวโพระดก เพื่อให้เป็นเรื่องสำหรับผู้หญิงอ่าน เนื่องจากในเวลานั้น เรื่องแนวนี้กำลังได้รับความนิยมจากนักอ่านหญิงที่มีจำนวนมาก และเพียงแค่ตีพิมพ์ตอนแรกลงในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์ คุณาวุฒิก็ได้ติดต่อขอจองเรื่องมาสร้างเป็นภาพยนตร์ [1]
- มิตร ชัยบัญชา และ พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์คู่กันทั้งหมด 24 เรื่อง โดยมีภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 2 เรื่อง 2 ปีซ้อน คือภาพยนตร์เรื่อง นางสาวโพระดก (2508) และ สาวเครือฟ้า (2508) ทั้งสองเรื่องฉายปีเดียวกัน แต่นางสาวโพระดกฉายต้นปี ทำให้ได้รางวัลตุ๊กตาทองปี 2507 ซึ่งนับรวมภาพยนตร์ที่ฉายต้นปี 2508 ด้วย ส่วนสาวเครือฟ้าได้รางวัลในการจัดงานครั้งต่อมาในปี 2509 ซึ่งป็นรางวัลของภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 2508
- ในงานประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507 ทั้งวิจิตร คุณาวุฒิ และ สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) ต่างได้รับรางวัลตุ๊กตาทองไปทั้งคู่ สุวัฒน์ วรดิลก ได้สาขาบทประพันธ์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ลูกทาส (2507) วิจิตร คุณาวุฒิ ได้สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง คมแสนคม (2507) โดยทั้งคู่ไม่ได้เข้าชิงจากภาพยนตร์เรื่องนี้เลย
- ฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ทำออกเป็นวีซีดีโดย ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ ฟิล์ม เมื่อปี 2545 จากการค้นหาฟิล์มหนังโดย ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ และ มนัส กิ่งจันทร์ ให้เสียงพากย์โดยทีมพากย์พันธมิตร นำโดย ปริภัณฑ์ วัชรานนท์, โฆษิต กฤษตินันท์, พงศ์พันธุ์ เจียมชวลิต, บุณย์ปวีณ์ วงศ์ยฤทธิ์, รัตนา เลิกบางพลัด และ อรนุช ลาดพันนา
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ชโลธร)
- รางวัลพิเศษ "ตุ๊กตาเงิน" บทเสริมเด่นยอดหญิง (น้ำเงิน บุญหนัก)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562)