- ประเภท : Action / Drama / Fantasy
- ผู้กำกับ : มารุต (ทวี ณ บางช้าง)
- บทประพันธ์ : อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม)
- บทภาพยนตร์ :
- ผู้ถ่ายภาพ :
- ผู้ให้เสียงพากย์ : เสน่ห์-พวงเล็ก-เสนอ
- อำนวยการสร้าง : มารุต (ทวี ณ บางช้าง)
- บริษัทผู้สร้าง : มารุตฟิล์ม
- จัดจำหน่าย : เอวันฟิล์ม
- วันที่เข้าฉาย : 4 พฤษภาคม 2508 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 16 มม. ให้เสียงพากย์สด
เรื่องย่อ[]
- จากผลงานพิเศษสุดของ มารุตฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่องเดียว ที่เหนือความเกรียงไกรใหญ่ยิ่ง ด้วยบทบาทสะท้านจิต สะเทือนใจ พร้อมด้วยดาราชื่อกระฉ่อน
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน 3 รางวัลพิเศษยอดเยี่ยมแก่ดาราผู้แสดงและการสร้างสรรค์ดีเด่น จากอมตะนิยายของ อิงอร
กมลสิงห์ กษัตริย์หนุ่มบ้าเลือดที่รักการทำสงครามเป็นชีวิตจิตใจ ยกทัพไปตีและยึดเมืองต่างๆไปทั่ว จนมีเมืองหนึ่งเจ้าผู้ครองเมืองไม่อยากรบเลยคิดแผนแยบยลส่งเจ้าหญิงพระราชธิดามาเป็นเครื่องบรรณาการ ตอนแรกกษัตริย์หนุ่มก็ไม่ได้สนพระทัยเพราะมุ่งแต่จะทำสงคราม แต่สุดท้ายก็ทนความเย้ายวนของเจ้าหญิงไม่ได้จึงอภิเษกเจ้าหญิงเป็นพระมเหสีและยุติการทำสงครามไปพักใหญ่ ต่อมาบรรดาเสนาก็มาทูลชวนให้ไปรบต่อ มิเช่นนั้นประชาชนจะเห็นว่ากษัตริย์ของตนนั้นขี้ขลาด ลุ่มหลงอยู่แต่กับอิสตรี กษัตริย์หนุ่มก็เลยจำใจเตรียมจะยกทัพไปบุกเมืองของเจ้าหญิงพระมเหสี ฝ่ายเจ้าหญิงแอบรู้แผนการก่อนเลยส่งสารไปบอกพระบิดาของตนเอง ทำให้ฝ่ายกษัตริย์หนุ่มรบไม่ชนะ กษัตริย์หนุ่มทรงพิโรธมาก ตรัสว่าถ้ารู้ว่าใครเป็นไส้ศึกจะประหารด้วยมือของพระองค์เอง เจ้าหญิงเลยออกมาพูดความจริงว่าตนเองที่เป็นไส้ศึก และขอให้พระสวามีประหารชีวิตตนเสียเพราะเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วต้องไม่คืนคำ ฉากสุดท้ายสุดเศร้าคือฉากที่กษัตริย์หนุ่มจำใจประหารพระมเหสีสุดรักด้วย ธนูทอง และพระองค์ก็ตัดสินพระทัยดึงธนูทองที่ปักอยู่ที่พระอุระของมเหสียอดรักมาปักที่หัวใจพระองค์เอง สิ้นพระชนม์ไปด้วยกัน
นักแสดง[]
- ไชยา สุริยัน – กมลสิงห์
- พิศมัย วิไลศักดิ์ – เจ้าหญิงศิริกัลยาณี
- อดุลย์ ดุลยรัตน์
- ทักษิณ แจ่มผล
- เยาวเรศ นิศากร
- สหัส
- สมพล กงสวรรณ
- จหมื่นมานพนริศร์
- จุ๋มจิ๋ม ศรทอง (สมศักดิ์ หมีพุฒ)
- สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
- เมศร์
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) เป็นเรื่องราวความรักของกษัตริย์หนุ่มกระหายสงคราม และเจ้าหญิงที่ถูกส่งตัวมาเป็นเครื่องบรรณาการ ด้วยความงามและความดีของเจ้าหญิง ได้สลายจิตใจที่เหี้ยมโหดของกษัตริย์หนุ่มลงได้ แต่ทว่าด้วยการกระตุ้นของเหล่าเสนาบดีทำให้กษัตริย์หนุ่มต้องลุกขึ้นมาทำสงครามอีกครั้ง ซึ่งเป้าหมายในครั้งนี้ก็คือบ้านเกิดเมืองนอนของเจ้าหญิงนั่นเอง
- เริ่มแรกบทประพันธ์ธนูทอง ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2508 ต่อมามีการนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2523
รูปแบบการนำเสนอ | กมลสิงห์ | เจ้าหญิงศิริกัลยาณี |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2508 | ไชยา สุริยัน | พิศมัย วิไลศักดิ์ |
ละครช่อง 3 พ.ศ. 2524 | พิศาล อัครเศรณี | ลลนา สุลาวัลย์ |
ละครเวที พ.ศ. 2532 | ฉัตรชัย เปล่งพานิช | กาญจนา จินดาวัฒน์ |
- ไชยา สุริยัน เป็นพระเอกคนแรกที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ปีซ้อน ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ ไชยา สุริยัน ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองดารานำชายยอดเยี่ยมตัวที่ 3 ไปครอง (ก่อนหน้านั้น ไชยา สุริยัน ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง จากภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ (2504) และ ภูตพิศวาส (2507))
รางวัล[]
- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507
- นักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม (ไชยา สุริยัน)
- รางวัลพิเศษ "ตุ๊กตาเงิน" สานจินตนาการและการสร้างสรรค์