- ประเภท : Drama / Romance
- ผู้กำกับ : ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
- บทประพันธ์ : กาญจนาคพันธุ์
- บทภาพยนตร์ :
- ผู้ถ่ายภาพ : ประสาท สุขุม A.S.C.
- ผู้ลำดับภาพ : ชาญ กาญจนาคพันธุ์
- ออกแบบฉาก / จัดเครื่องแต่งกาย : โสภา เปี่ยมพงศ์สานต์
- บันทึกเสียง : ชาญ บุนนาค
- ที่ปรึกษาฝ่ายดนตรี : ศุภชัย วานิชวัฒนา
- อำนวยการสร้าง : เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
- บริษัทผู้สร้าง : ภาพนิมิต
- วันที่เข้าฉาย : 10 เมษายน 2496 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม. บันทึกเสียงในฟิล์ม
เรื่องย่อ[]
ความรักของ หมึก มีอันต้องพังทลายลง เมื่อ มุกดา คนรักแอบมีใจให้ จำแลง นายหน้าขายของทะเลจอมเจ้าเล่ห์ ชายผู้หลอกเอาตัวมุกดารวมทั้งไข่มุกอันเลอค่าที่หมึกทุ่มเทแรงกายตามหามาให้มุกดาดีที่ นายสรร เจ้านายผู้แสนดีของหมึกล่วงรู้เหตุการณ์จึงหาวิธีเปิดโปงความชั่วของนายจำแลง จนมุกดารู้ความจริง ด้วยความแค้นเคือง เธอจึงตั้งใจจะลงมือสังหารนายจำแลงเสียให้ตายแต่นายจำแลงไหวตัวทัน คว้ามีดแทงมุกดาถึงแก่ชีวิต ฝ่ายหมึกที่ไม่สามารถช่วยชีวิตมุกดา จึงมุ่งตรงเข้าต่อสู้กับนายจำแลงจนนายจำแลงพลาดท่าตกเขาตาย กระนั้นหมึกก็ได้แต่ร้องไห้คร่ำครวญถึงการจากไปของมุกดายอดรักของเขา
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
พิชัย วาศนาส่ง | หมึก |
ไขศรี ชุมะศารทูล | มุกดา |
ประจวบ กาญจนลาภ | สรร |
อาจศรี บุนนาค | ผกาแก้ว |
ประภัสสร์ มัณฑุสินธุ์ | จำแลง |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนวชีวิต เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ที่สร้างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดัดแปลงจากบทประพันธ์ที่ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ในปี พ.ศ. 2469
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก และเรื่องเดียวของ พิชัย วาศนาส่ง นักจัดรายการและพิธีกรโทรทัศน์ยุคบุกเบิกคนหนึ่งของประเทศไทย
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายภาพยนตร์โดย ประสาท สุขุม ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทยเพียงคนเดียวที่เป็นสมาชิกของ A.S.C. (American Society of Cinematographer) สมาคมช่างถ่ายภาพยนตร์อเมริกัน ถือว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ร่ำเรียนและฝึกงานถ่ายทำภาพยนตร์ที่ฮอลลีวู้ด
- ภาพยนตร์นี้บันทึกทัศนียภาพชายหาดและท้องทะเลแถบบ้านเพ จังหวัดระยองในอดีตออกมาได้อย่างงดงาม และบันทึกวิถีชีวิตของชาวบ้านแห่งหมู่บ้านประมง มีฉากใต้ทะเลแสดงการงมหอยมุก
- ภาพยนตร์นี้สร้างโดย นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ นักการเมือง ผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง ซึ่งภายหลังได้เป็นรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวอย่างของการที่นักการเมืองไทยสมัยหนึ่ง ใช้ภาพยนตร์หรือลงทุนสร้างภาพยนตร์เอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการหาเสียงทางการเมือง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2560 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทยของหอภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ขึ้นทะเบียน
อนุสรณ์[]
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560)