ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  ทอง (2516)
ทอง (2516) 1

ใบปิดวาดโดย ทองดี ภานุมาศ

  • ชื่ออังกฤษ : GOLD
  • ประเภท : Action / Adventure / Thriller
  • ผู้กำกับ : ฉลอง ภักดีวิจิตร
  • บทประพันธ์ : พ.ต.ต.ประชา พูนวิวัฒน์
  • บทภาพยนตร์ : ส.อาสนจินดา
  • ผู้ถ่ายภาพ : วิสิทธิ์ แสนหวี
  • ผู้ลำดับภาพ : ดรรชนี
  • ผู้กำกับศิลป์ : สักรินทร์ ปุญญฤทธิ์
  • เพลงประกอบ : วงดิอิมพอสซิเบิ้ล, ประเสริฐ จุลละเกตุ
  • บันทึกเสียง : สนั่น อรุณรัตน์
  • อำนวยการสร้าง : สุมน ภักดีวิจิตร
  • บริษัทผู้สร้าง : บางกอกการภาพนตร์
  • วันที่เข้าฉาย : 22 ธันวาคม 2516 ฉายที่โรงภาพยนตร์ปารีส-พาราเมาท์
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม.สโคป พากย์เสียงในฟิล์ม

เรื่องย่อ[]

"ในโลกนี้ ทองแท้นั้นมีน้อยนัก" พระราชนิพนธ์ ร.6
ฉลอง ภักดีวิจิตร สร้างมิติใหม่ โดยนำ สมบัติ เมทะนี กรุง ศรีวิไล อโนมา ผลารักษ์ พบ เกร็ก มอร์ริส จาก ขบวนการพยัคฆ์ร้าย

เรื่องราวในช่วงยุคสงครามเวียดนาม เครื่องบินขนทองคำของสหรัฐอเมริกาถูกจี้กลางอากาศและถูกบังคับให้ไปลงที่ซำทองที่เต็มไปด้วยข้าศึก นักบินและลูกเรืองถูกฆ่าหมด ทางการสหรัฐอเมริกาจึงว่าจ้าง ฮิลล์ (เกร็ก มอร์ริส) สายลับชั้นดีให้ทำหน้าที่เข้าไปชิงทองกลับมา ฮิลล์จึงรวบรวมคนมาทำงานกับเขาประกอบไปด้วย ชาติ (สมบัติ เมทะนี) นักโทษฆ่าคนตายแต่เคยเป็นอดีตทหารผ่านศึกเกาหลีมาก่อน ศาตรา (กรุง ศรีวิไล) ผู้ที่มีสามารถด้านการขับขี่และขับยานพาหนะได้ทุกชนิด ซินทาโร่ (ดามพ์ ดัสกร) ผู้ที่มีความสามารถด้านการใช้มีดเป็นพิเศษ และจางเฟย (กฤษณะ อำนวยพร) ผู้ที่ใช้รถมอเตอร์ไซด์ติดปืนกลเป็นพาหนะและอาวุธคู่กาย ทั้งหมดลอบเข้าไปโดดร่มในดินแดนข้าศึกโดยมี ซูผิง (มิสถ่ำถุ่ยหั่ง) สายลับท้องถิ่นมามาคอยประสานงานและนำพาพวกของฮิลล์ไปสู่ที่หมายที่เครื่องบินอยู่

ศาตรา ซินทาโร่ และซูผิง ต่างก็มีความหลังและความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ซินทาโร่ไม่ชอบศาสตราเพราะเคยแพ้พนันเขาและเสีย ซูผิงให้ศาสตรา แต่ซูผิงเองก็ทิ้งศาตราไปเช่นกันโดยที่ศาสตราเองก็ยังฝังใจอยู่กับซูผิง เพียงแค่ไปถึงคนของฮิลล์ก้ปะทะกับทหารเวียตนามแล้วแต่ก็เอาตัวรอดมาได้

ระหว่างการเดินทางฮิลล์และชาติพบว่าพวกเขาถูกสะกดรอยโดยจันทร์แรม (อโนมา ผลารักษ์) และแตงอ่อน (ดลนภา โสภี) เมื่อถูกจับได้จันทร์แรมอ้างว่าพวกเธอกำลังเดินทางไปฆ่าทหารเวียตนามเพื่อแก้แค้นให้พ่อและแม่ของแตงอ่อน พวกของฮิลล์และชาติจึงให้จันทร์แรมร่วมทางไปด้วย

ฮิลล์และพวกถูกจับพร้อมกับถูกสอบสวนแต่ไม่มีใครบอกถึงวัตถุประสงค์ของพวกเขา แต่สุดท้ายทุกคนก็หนีออกมาได้พร้อมกับเริ่มสงสัยว่าใครคือไส้ศึกที่นำทหารมาจับพวกเขา ตอนแรกซูผิงต้องสงสัยที่สุดแต่ภายหลังทุกคนรู้ว่าไส้ศึกคือแตงอ่อน จากนั้นฮิลล์และพวกก็มุ่งหน้าสู่สนามบินซำทองเพื่อปล้นเครื่องบินกลับคืน ในขณะที่ทหารเวียตนามชุดใหญ่ก็กำลังเดินทางมาเอาทองเช่นกัน

นักแสดง[]

นักแสดง รับบทเป็น
สมบัติ เมทะนี ชาติ
กรุง ศรีวิไล ศาสตรา
อโนมา ผลารักษ์ จันทร์แรม
เกร็ก มอร์ริส ฮิลล์
มิส ถ่ำถุยหั่ง ซูผิง
กฤษณะ อำนวยพร จางเฟย
ดามพ์ ดัสกร ชินทาโร่
ดลนภา โสภี ทองอ่อน
พิภพ ภู่ภิญโญ ท่านนายพลแจ่ม
สมชาย สามิภักดิ์ ท่านนายพลสุรสิงห์

Image Gallery & วีดีโอ[]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับลำดับที่ 8 ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ พ.ต.ต. ประชา พูนวิวัฒน์ และมอบหมายให้ ส.อาสนจินดา เขียนบท ซึ่งเรื่องราวของภาพยนตร์หยิบเอาเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงในระหว่างสงครามเวียดนาม
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการประชันของยอดดาราแม่เหล็กของทั้งสองประเทศ คือ สมบัติ เมทะนี และ กรุง ศรีวิไล ประชันบทบาทกับ เกร็ก มอริส ซึ่งโด่งดังจากทีวีซีรีส์ "ขบวนการพยัคฆ์ร้าย" (Mission Impossible) ที่ได้รับความนิยมในเวลานั้น กลายเป็นโปรเจคอินเตอร์ที่ทุ่มทุนสร้าง หวังจะเจาะตลาดหนังบู๊ไทยสู่สากล จนกลายเป็นธรรมเนียมในภาคต่อๆมาที่จะดึงดาราจอแก้วและจอเงินจากต่างแดนมารวมงานอยู่หลายเรื่อง
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถสร้างปรากฏการณ์ในตลาดต่างประเทศได้สมความตั้งใจ โดยได้ไปประกวดที่ไต้หวัน ในปี 2517 และได้รับรางวัลภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิงสูงสุด (Best Entertaining Film) ในขณะที่ กรุง ศรีวิไล ได้รับรางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม จนทำให้บริษัทชื่อดังของไต้หวัน Golden Harvest ขอซื้อไปจัดจำหน่ายทั่วโลก
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ชุด ทอง สร้างโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร มีการสร้างถึง 8 ภาค ดังนี้
    • ทอง (2516)
    • ทอง ภาค 2 (2525)
    • ทอง 3 (2531)
    • ทอง 4 (2533)
    • ทอง 5 (2544)
    • ทอง 7 (2547)
    • ทอง 9 (2551)
    • ทอง 10 (2559)

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2516-17
    • ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (วิสิทธิ์ แสนทวี)
    • ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ดรรชนี)
    • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (สนั่น อรุณรัตน์)
  • มหกรรมภาพยนตร์แห่งเอเซีย ครั้งที่ 20 (พ.ศ. 2517)
    • รางวัลในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิงยอดเยี่ยมที่สุด
    • รางวัลในฐานะที่เป็นดาราฝ่ายชายที่แสดงนำได้ดีเด่น (กรุง ศรีวิไล)
  • โล่เกียรติคุณจากนิตยสาร "โลกดารา" (พ.ศ. 2517)
    • ดาราและผู้สร้างที่ได้รางวัลเป๋าติงจากงานมหกรรมภาพยนตร์แห่งเอเซีย ครั้งที่ 20 ที่ไทเป
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564)
Advertisement