- ชื่ออังกฤษ : The Citizen
- ประเภท : Drama
- ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
- เรื่อง : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
- บทภาพยนตร์ : วีรประวัติ วงศ์พัวพันธ์
- ผู้ถ่ายภาพ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
- บันทึกเสียง : นิวัฒน์ สำเนียงเสนาะ
- อำนวยการสร้าง : เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร
- บริษัทผู้สร้าง : พร้อมมิตรภาพยนตร์, ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
- จัดจำหน่าย : นิวไฟว์สตาร์
- วันที่เข้าฉาย : 17 พฤศจิกายน 2520 ฉายที่โรงภาพยนตร์เอเธนส์-พาราไดซ์-ศาลาเฉลิมกรุง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.สโคป บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ
เรื่องย่อ[]
จบ ป.4 ไม่มีเส้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ราษฎรเต็ม!
ทองพูนเป็นคนอีสานที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เขาขายนาและนำเงินที่ได้ไปซื้อรถแท็กซี่มาขับเพื่อหาเงิน ต่อมาทองพูนถูกจี้ชิงรถไป จึงสืบหารถของตัวเองจนรู้ว่าอยู่ที่อู่พรวัฒนา ทองพูนไปขอรถคืนแต่ถูกทำร้าย จึงตัดสินใจไปเอารถคืนอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ทองพูนฆ่าคนตายไปหลายคนทีเดียว แต่กลับหารถของตัวเองไม่เจอ จึงยอมมอบตัวกับตำรวจ เรื่องราวของทองพูน เป็นส่วนหนึ่งของคนจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยที่เขาพยายามเรียกร้องความเป็นธรรมจากสังคม ให้เกิดขึ้นด้วยตัวเขาเอง
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
จตุพล ภูอภิรมย์ | ทองพูน โคกโพ |
วิยะดา อุมารินทร์ | แตง / แรมจันทร์ |
ภิญโญ ปานนุ้ย | ด้วน เดชาชัย |
บู๊ วิบูลย์นันท์ | สาคร |
เบญจมินทร์ | |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
พร้อม จินดานุช | |
นพดล มงคลพันธุ์ | |
สมศักดิ์ ชัยสงคราม | |
ด.ช.อ๊อด จินดานุช | หำแหล่ (ลูกของทองพูน) |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์แนวนีโอเรียลลิสต์ขาวดำสัญชาติอิตาเลียนเรื่อง The Bicycle Thief (1948)
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ จตุพล ภูอภิรมย์ รับบท ทองพูน โคกโพ โดยได้แสดงบทบาทที่เดิมวางตัว สรพงศ์ ชาตรี เป็นผู้เล่น แต่ติดคิวถ่ายจากภาพยนตร์เรื่องอื่น
- จตุพล ภูอภิรมย์ มีผลงานแสดงภาพยนตร์ประมาณ 25 เรื่อง ก่อนจะเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2524 เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
- ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้ทรงสร้างภาคต่อในชื่อ อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527) แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าภาคแรก นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี รับบทเป็น ทองพูน โคกโพ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างอีกครั้งเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2529 (ช่อง 7) และ พ.ศ. 2544 (ช่อง 3)
รูปแบบการนำเสนอ | ทองพูน โคกโพ | แรมจันทร์ / แจ่มจันทร์ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2520 | จตุพล ภูอภิรมย์ | วิยะดา อุมารินทร์ |
ละครช่อง 7 พ.ศ. 2528 | วีรยุทธ รสโอชา | วิยะดา อุมารินทร์ |
ละครช่อง 3 พ.ศ. 2544 | อำพล ลำพูน | ศิรประภา สุขดำรงค์ |
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2520
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
- บทประพันธ์ยอดเยี่ยม (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (นิวัฒน์ สำเนียงเสนาะ)
- รางวัลพิเศษ "ตุ๊กตาเงิน" ดาราหน้าใหม่ดีเยี่ยม (จตุพล ภูอภิรมย์)
- มหกรรมหนังเอเชีย-แปซิฟิค ประเทศไทย (พ.ศ. 2520)
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วิยะดา อุมารินทร์)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ