ไทยบันเทิง

🚧 โปรดทราบ เนื่องจากในตอนนี้ฐานข้อมูลของเรายังไม่สมบูรณ์ 😲😲 เนื่องจากระบบวิกิเป็นระบบที่ใหญ่และต้องมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุม หากว่าท่านใดมีข้อมูลต้องการที่จะนำมาเผยแพร่ในฐานะมรดกทางภูมิปัญญาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ ท่านสามารถล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ได้โดยกดไปที่ Sign In with Facebook และร่วมพูดคุยกับเราได้ที่นี่ 🙋😉

READ MORE

ไทยบันเทิง
Advertisement
✨🌟  ด้วยเกล้า (2530)
ด้วยเกล้า (2530) 1

ใบปิดวาดโดย ทองดี ภานุมาศ

Trailer_ด้วยเกล้า_(2530)

Trailer ด้วยเกล้า (2530)

  • ประเภท : Drama
  • ผู้กำกับ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  • บทภาพยนตร์ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  • ผู้ถ่ายภาพ-กำกับภาพ : พิพัฒน์ พยัคฆะ
  • ผู้ลำดับภาพ : พูนศักดิ์ อุทัยพันธ์
  • ผู้กำกับศิลป์ : กฤษพงษ์ หาญวิริยะกิติชัย
  • ดนตรีประกอบ : ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์, มนตรี อ่องเอี่ยม
  • บันทึกเสียง : ชาย คงกระโทก
  • ดำเนินงานสร้าง : สายจรูญ เอี่ยมพึ่งพร
  • อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
  • บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
  • วันที่เข้าฉาย : 3 ตุลาคม 2530
  • ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.

เรื่องย่อ[]

ความรู้สึกหนึ่งที่เรามีร่วมกัน
โปรดเกล้าฯพระราชทาน 9 เพลงพระราชนิพนธ์ ด้วยเกล้า ระบบซาวด์ออนฟิล์ม

ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีเนื้อหาสาระเป็นคติสอนใจคน ซึ่งถ่ายทอดจากความรู้สึกของชาวนาและสื่อให้เห็นถึงความยากลำบากของกระดูกสันหลังของชาติ แต่ยังดีที่แม้ว่าทุกคนจะแร้นแค้นจนยากสักเพียงใด น้ำพระทัยของในหลวงก็แผ่กระจายเอาความชุ่มชื่นร่มเย็นไปถึง

เสาคำ ชาวนาได้เมล็ดข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งจากพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งทรงนำข้าวจากแปลงทดลองในพระราชวังมาหว่านในพระราชพิธี เมือกลับบ้าน บัวเรียนได้ขอแบ่งไปเมล็ดหนึ่งเพื่อนำไปบูชา ขณะที่เสาคำใช้เม็ดข้าวเปลือกที่เหลือเป็นเมล็ดพันธุ์ จนสิบกว่าปีต่อมา นาของเสาคำก็ปลูกแต่ข้าวที่มีต้นกำเนิดมาจากพระราชพิธีสำคัญนั้น ในช่วงหน้าแล้งการทำนาไม่ค่อยได้ผล ชาวนาขาดทั้งน้ำใช้และน้ำทำนา จึงต้องไปซื้อน้ำจากบ่อน้ำที่มีอยู่เพียงบ่อเดียวในหมู่บ้านของบัวเรียน อีกทั้งต้องนำบ้านและที่ดินไปจำนองเพื่อจะนำเงินมาใช้จ่ายด้วย เสาคำก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ต่อมาลูกชายของเสาคำได้เข้าทำงานในโครงการพระราชดำริ และดำเนินการจนได้รับพระราชทานฝนเทียมรวมทั้งพาชาวนาเข้าร่วมโครงการเกษตรของในหลวง

นักแสดง[]

นักแสดง รับบทเป็น
สันติสุข พรหมศิริ คำนึง
จินตหรา สุขพัฒน์ เสาแก้ว
จรัล มโนเพ็ชร เสาคำ
นฤมล นิลวรรณ แม่เลี้ยงบัวเรียน
ไกรลาศ เกรียงไกร คำปั๋น
โรม อิศรา สำอาง
กฤษณ์ ศุกระมงคล อ้าง
ต่อลาภ กำพุศิริ ประสิทธิ์
ชาลี อินทรวิจิตร
จิราภัทร์ สารภีเพ็ชร นาจา
อนุชาต สุวรรณเนตร
ศศิวิมล ศรีสง่า ติ๊บ
วิสิษฏ์ เผ่าสุวรรณ
เรืองฤทธิ์ บัวลอย
ด.ช.พรพรหม ทะคำสอน

Image Gallery & วีดีโอ[]

  • ดูเพิ่มเติมที่ : [1] [2] [3]

เกร็ด[]

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2529 และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อมโยงเรื่องราวความยากลำบากของชาวนา ความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อชาวนาผ่านโครงการพระราชดำริต่างๆ ได้อย่างประณีต พิถีพิถัน เป็นธรรมชาติ และเป็นเนื้อเดียวกันไปกับภาพยนตร์ นับเป็นตัวแทนของวงการภาพยนตร์ไทยที่ทำขึ้นเพื่อถวายความจงรักภักดีและบูชาน้ำพระราชหฤทัยของพระราชาผู้ทรงเป็นพลังของแผ่นดิน
  • อีกหนึ่งความโดดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นภาพยนตร์ไทยเพียงเรื่องเดียวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ จำนวน 9 เพลง ได้แก่ สายฝน, ลมหนาว, ชะตาชีวิต, อาทิตย์อับแสง, ยามเย็น, แสงเดือน, แสงเทียน, ใกล้รุ่ง, ยิ้มสู้ มาเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อให้เข้ากับภาพยนตร์ได้อย่างไพเราะ
  • เพลงพระราชนิพนธ์ในเรื่อง เรียบเสียงประสานโดย พระเจนดุริยางค์, หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช และ ปราจีน ทรงเผ่า
  • ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย สายจรูญ เอี่ยมพึ่งพร ดำเนินงานสร้าง ผู้จัดการกองถ่ายทำโดย ประเสริฐ กมลวาทิน, วีรพงศ์ ธาราศิลป์ ประสานงานโดย ชัชวรินทร์ คล้ายนาค กำกับเทคนิคโดย เจดีย์ ศุภกาญจน์ แต่งกายโดย ศรัญยา สุภารัตน์ แต่งหน้าโดย บริษัทอ็มทีไอจำกัด กำกับบทโดย คมสัน ตรีพงศ์ ช่วยกำกับการแสดงโดย กฤษณพงษ์ นาคธน ออกแบบและสร้างฉากโดย กฤษพงษ์ หาญวิริยะกิติชัย
  • ในปี พ.ศ. 2549 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยและบริษัท ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น จำกัด ได้นำภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมาฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง โดยมีการทำเสียงใหม่ให้เป็นระบบดอลบี สเตอริโอ 5.1 (ซึ่งเป็นระบบเสียงที่ดีที่สุดที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรงภาพยนตร์ขณะนั้น) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยรายได้ในสัปดาห์แรกทั้งหมด นำสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา

รางวัล และอนุสรณ์[]

  • รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2530
    • ภาพยนตร์เกียรติยศแนวสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
    • เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2530
    • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
    • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (จรัล มโนเพ็ชร)
    • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (บัณฑิต ฤทธิ์ถกล)
    • เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ม.ล.อัศนี ปราโมช, ปราจีน ทรงเผ่า, ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์)
  • โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
    • 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
    • มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)
  • 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
Advertisement