ชื่ออังกฤษ : Bad Genius
ประเภท : Crime / Drama / Thriller / Teen
ผู้กำกับ : นัฐวุฒิ พูนพิริยะ
บทภาพยนตร์ : นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, ธนีดา หาญทวีวัฒนา, วสุธร ปิยรมณ์
กำกับภาพ : ภาเกล้า จิระอังกูรกุล
ลำดับภาพ : ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
ออกแบบงานสร้าง : พัชร เลิศไกร
ดนตรีประกอบ : หัวลำโพงริดดิม
ควบคุมงานสร้าง : จิระ มะลิกุล , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์, สุวิมล เตชะสุปินัน, เช่นชนนี สุนทรศารทูล, วีรชัย ใหญ่กว่าวงศ์
อำนวยการสร้าง : จินา โอสถศิลป์, บุษบา ดาวเรือง, ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : จีดีเอช ห้าห้าเก้า , จอกว้างฟิล์ม
วันที่เข้าฉาย : 3 พฤษภาคม 2560
ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียง ดิจิทัล-DCP
เรื่องย่อ
เด็กฉลาดกลุ่มนี้ มีภารกิจโกงข้อสอบ เปลี่ยนกระดาษคำตอบให้เป็นเงินล้าน
ทุกครั้งที่ฝนดินสอลงกระดาษสอบ ล้วนมีความหมาย ลิน (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) นักเรียนสายเรียนดี เจ้าของ เกรดเฉลี่ย 4.00 ทุกปีการศึกษา แต่ด้วยการที่เธอมักจะต้องช่วยบอกข้อสอบให้กับเพื่อนซี้อย่าง เกรซ (อิษยา ฮอสุวรรณ) นักเรียนสายกิจกรรมแต่ผลการเรียนกลับสวนทางและ พัฒน์ (ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ) เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวยในและมีแนวคิดว่าเงินซื้อทุกอย่างได้แม้กระทั่งคำตอบของข้อสอบ ทำให้ ลิน ฉุกคิดธุรกิจให้ลอกข้อสอบนี้ขึ้นมาได้ และสร้างรายได้ให้เธออย่างเป็นกอบเป็นกำ และเมื่อการสอบสุดท้ายท้าย อย่าง STIC ใกล้เข้ามาถึง นักเรียนหลายร้อยคนต่างคาดหวังจะนำคะแนนสอบเหล่านี้เปิดทางเข้าสู่เหล่ามหาลัยชั้นนำ ลินจึงได้รับโจทย์ใหม่ ในการบอกข้อสอบสุดท้าทายครั้งนี้ โดยเธอตัดสินใจบินไปสอบที่ประเทศเร็วกว่าไทย เพื่อรีบนำมาบอกข้อสอบแก่เหล่าลูกค้าของเธอ โดยเธอต้องหาผู้ช่วยอย่าง แบงค์ (ชานน สันตินธรกุล) นักเรียนทุนคู่แข่ง ที่ไม่ชอบการทุจริตใดๆ ในขณะที่เดิมพันเงินรางวัลที่สูงมากขึ้น ความยากในการโกงข้อสอบและความปลอดภัยของพวกเธอก็สูงขึ้นเช่นกัน
ลิน นักเรียนทุนเจ้าของเกรดเฉลี่ย 4.00 ช่วย เกรซ เด็กกิจกรรมแต่ผลการเรียนย่ำแย่ และ พัฒน์ เด็กบ้านรวย ด้วยการแชร์คำตอบกลางห้องสอบจนกลายเป็นวงการลอกขนาดใหญ่ที่นักเรียนหลายคนยินดีจ่ายค่าตอบแทนสูงลิบ จนวันหนึ่งพัฒน์และเกรซยื่นข้อเสนอสุดท้าทายนั่นคือ การโกงข้อสอบ STIC ซึ่งเป็นการสอบเพื่อใช้คะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัยระดับโลกที่ทุกประเทศต้องสอบในเวลาเดียวกัน โอกาสในการลอกให้รอดเท่ากับศูนย์ แต่ลินก็ยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับเงินล้าน ด้วยการบินไปสอบในประเทศที่เวลาเร็วกว่าเมืองไทย เพื่อส่งคำตอบกลับมาให้ลูกค้าในเมืองไทย
นักแสดง
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ :
รับบทเป็น
พศิน ควรสถาพร
บรรจง วงศ์ภูมิ (โต้ง)
สหจักร บุญธนกิจ
พ่อพัฒน์
กาญจนา วินัยพานิช
แม่พัฒน์
ยุทธพงศ์ วรานุเคราะห์โชค
อาจารย์โสภณ
อุไรวรรณ ภู่วิจิตรสุทิน
Image Gallery & วีดีโอ
ฉลาดเกมส์โกง (พ.ศ. 2560)
Trailer ฉลาดเกมส์โกง (2560)
มองฉันที (Ost. ฉลาดเกมส์โกง)
เพลง มองฉันที (Ost. ฉลาดเกมส์โกง)
VTR ฉลาดเกมส์โกง
VTR ฉลาดเกมส์โกง
เบื้องหลัง ฉลาดเกมส์โกง 1
เบื้องหลัง: ฉลาดเกมส์โกง (1)
เบื้องหลัง ฉลาดเกมส์โกง 2
เบื้องหลัง: ฉลาดเกมส์โกง (2)
เบื้องหลัง ฉลาดเกมส์โกง 3 และการตอบรับ
เบื้องหลัง: ฉลาดเกมส์โกง (3)
JUST ดู IT ฉลาดเกมส์โกง
#JUSTดูIT: ฉลาดเกมส์โกง
ฉลาดเกมส์โกง ฉลาดเกินร้อย
ฉลาดเกมส์โกง ฉลาดเกินร้อย
(Spoil) ฉลาดเกมส์โกง (2560)
(Spoil) ฉลาดเกมส์โกง (2560)
เกร็ด
จิระ มะลิกุล เสนอแนวคิดเรื่องการโกงข้อสอบให้ นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับ โดยใช้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง จากเหตุการณ์ที่เด็กนักเรียนจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ลอกข้อสอบโดยใช้ความแตกต่างของเขตเวลา มีการถ่ายทำที่ซิดนีย์ราวสามสิบเปอร์เซ็นต์
เพลงประกอบภาพยนตร์ของภาพยนตร์ชื่อเพลงมองฉันที ขับร้องโดย สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ โดยเพลงนี้คัฟเวอร์มาจากเพลง Why Can't You See ของวง Fwends คำร้องภาษาไทยโดย อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และ ชูชีวา ชีพชนม์
ภาพยนตร์เรื่องนี้ เริ่มฉายรอบแรกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รอบเวลา 20:00 น. ในโรงภาพยนตร์จำนวน 117 แห่ง ทั่วประเทศ พร้อมกับการเปิดฉายรอบสื่อมวลชน ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยรายได้เปิดตัววันแรก (เฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) อยู่ที่ 2.18 ล้านบาท และสิ้นสุดมีรายได้รวมตลอดโปรแกรมฉาย 112.15 ล้านบาท ถือเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2560
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และได้รับเลือกให้เป็นภาพยนตร์ฉายเปิดเทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก (New York Asian Film Festival - NYAFF) ครั้งที่ 16 ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนของปีเดียวกัน
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกนำไปรีมาสเตอร์เพื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์อีกด้วย แต่ในด้านเสียงถูกรีมาสเตอร์เฉพาะภาษาจีนเท่านั้น
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดในต่างประเทศ ทำลายสถิติภาพยนตร์ไทยเรื่อง องค์บาก ที่ทำรายได้ในต่างประเทศ 515 ล้านบาท และชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ที่ทำรายได้ในต่างประเทศ 231 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2547
ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และรายได้ในต่างประเทศ โดยเป็นภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในฮ่องกง และไต้หวัน ติดอันดับ 1 บอกซ์ออฟฟิสในหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง, ไต้หวัน, กัมพูชา, มาเลเซีย และเวียดนาม
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จสูงสุดจากการเข้าฉายกว่า 7,000 โรงภาพยนตร์ในจีน โดยทำรายได้เปิดตัววันแรกสูงถึง 4.66 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 154.37 ล้านบาท ติดอันดับ 2 บอกซ์ออฟฟิสประเทศจีน จึงนับเป็นภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในจีน
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ภาพยนตร์เรื่องนี้ติดอันดับ 6 ภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกด้วยตัวเลข 16.85 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายได้รวมจากการฉายทั่วโลก ณ ขณะนั้น สูงถึง 26.88 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 889.73 ล้านบาท
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ไทยที่สามารถคว้ารางวัลได้มากที่สุดบนเวทีรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ จำนวนทั้งสิ้น 12 รางวัล จากการถูกเสนอชื่อเข้าชิง 16 รางวัล (15 สาขา)
จากความสำเร็จอย่างล้นหลามของภาพยนตร์ มีการนำมาสร้างอีกครั้งเป็นละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งใช้โครงเรื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นต้นเรื่อง แต่ในด้านนักแสดงจะเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด และมีกำหนดออกฉายทางช่องวัน
รูปแบบการนำเสนอ
ภาพยนตร์
ละครช่องวัน
ภาพยนตร์อเมริกัน
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2563
ค.ศ. 2024
รินลดา นิลเทพ (ลิน)
ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง
เพลินพิชญา โกมลารชุน
Callina Liang
ธนพนธ์ วิริยะกุล (แบงค์)
ชานน สันตินธรกุล
จินเจษฎ์ วรรธนะสิน
Jabari Banks
รุจิษยา แซ่ตง (เกรซ)
อิษยา ฮอสุวรรณ
ศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์
Taylor Hickson
พัฒน์ ตันทวีลาภ (พัฒน์)
ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ
พาริส อินทรโกมาลย์สุต
Samuel Braun
อาจารย์ประวิทย์ (พ่อของลิน)
ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียน
สฤญรัตน์ โทมัส
อาภาศิริ นิติพน
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติต่างๆ อาทิ
เทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก 2017 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอนทรีออล 2017 ณ ประเทศแคนาดา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฟุกุโอะกะ 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินิวซีแลนด์ 2017 ณ ประเทศนิวซีแลนด์
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแวนคูเวอร์ 2017 ณ ประเทศแคนาดา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Fantastic Fest Austin 2017 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติชิคาโก 2017 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติบีเอฟไอ ลอนดอน 2017 ณ ประเทศอังกฤษ
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติยูจียู 2017 ณ ประเทศแอฟริกาใต้
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซานติเอโก 2017 ณ ประเทศชิลี
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2017 ณ ประเทศแคนาดา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮาวาย 2017 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ De La Roche-Sur-Yon 2017 ณ ประเทศฝรั่งเศส
รางวัล และอนุสรณ์
รางวัล และอนุสรณ์
เทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก ครั้งที่ 16
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
Screen Rising Star Asia (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฟุกุโอะกะ ครั้งที่ 27
เทศกาลภาพยนตร์ Fantastic Fest Austin 2017
ภาพยนตร์ระทึกขวัญยอดเยี่ยม
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอนทรีออล 2017
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์เอเชียยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์สร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)
เทศกาลภาพยนตร์ PIFFA Malaysia 2017
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
Catholic Media Awards 2017
รางวัลสื่อมวลชนดีเด่นสาขาภาพยนตร์
Chic Style Awards 2018
นักแสดงจากภาพยนตร์ที่มีสไตล์แห่งปี (ชานน สันตินธรกุล)
Asian Brilliant Stars in Berlin International Film Festival
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
Thailand Zocial Awards 2018
Best Thai Movie on Social Media
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 27
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชานน สันตินธรกุล)
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, ธนีดา หาญทวีวัฒนา, วสุธร ปิยารมณ์)
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (ภาเกล้า จิระอังกูรกุล)
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต)
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (พัชร เลิศไกร)
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (หัวลำโพงริดดิม)
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ปวเรศ วงศ์อร่าม)
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (นฤเบศ เปี่ยมใย จาก กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ)
CinemAsia Film Festival 2018
BIOSCOPE Awards 2017
ภาพยนตร์ไทยแห่งปี
นักแสดงภาพยนตร์แห่งปี (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง, ธีรดนย์ ศุภพันธ์ุภิญโญ)
รางวัลภาพยนตร์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 12
นักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 26
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชานน สันตินธรกุล)
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, ธนีดา หาญทวีวัฒนา, วสุธร ปิยารมณ์)
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต)
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (พัชร เลิศไกร, ฐานทัพ เรืองธารา)
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (หัวลำโพงริดดิม, วิชญ วัฒนศัพท์)
รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 8
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชานน สันตินธรกุล)
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์)
รองชนะเลิศนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ธีรดนย์ ศุภพันธ์ุภิญโญ)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, ธนีดา หาญทวีวัฒนา, วสุธร ปิยารมณ์)
รางวัลดาราเดลี่ อวอร์ดส์ 2017 ครั้งที่ 7
ภาพยนตร์ที่สุดแห่งปี 2017
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 11
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2560
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ)
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชานน สันตินธรกุล)
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ, ธนีดา หาญทวีวัฒนา, วสุธร ปิยารมณ์)
ภาพยนตร์ยอดนิยม ที่ทำรายได้สูงสุดในรอบปี 2560
รางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งหญิงดีเด่น (อิษยา ฮอสุวรรณ) (ร่วมกับ สยามสแควร์ (2560) และ ของขวัญ (2560) )
โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561)