- ชื่ออังกฤษ : Behind the Painting
- ประเภท : Drama / Romance
- ผู้กำกับ : เชิด ทรงศรี
- บทประพันธ์ : ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)
- บทภาพยนตร์ : ธม ธาตรี (เชิด ทรงศรี)
- ผู้ช่วยผู้กำกับ : ณัฎฐวี ทศรฐ, นลิน บุญวิโรจน์ฤทธิ์, เกตุ พิทยากรศิลป์
- ผู้กำกับภาพ : โสภณ เจนพานิช
- ผู้ถ่ายภาพ : พิพัฒน์ พยัคฆะ
- ผู้ลำดับภาพ : มหศักดิ์ ทัศนพยัคฆ์
- ผู้กำกับศิลป์ : ศักดิ์ศิริ จันทรังษี, วรรณะ มหากนก
- ดนตรีประกอบ : จำรัส เศวตาภรณ์
- อำนวยการสร้าง : จันนิภา เจตสมมา, สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
- บริษัทผู้สร้าง / จัดจำหน่าย : สหมงคลฟิล์ม, เชิดไชย ภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 30 มีนาคม 2544
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก
เรื่องราวของหม่อมราชวงศ์กีรติ ผู้เดินทางตามสามีวัยชราไปยังประเทศญี่ปุ่น และได้พบกับ นพพร หนุ่มนักเรียนชาวไทยที่คอยปรนนิบัติดูแลเธอจนเกิดเป็นความรักระหว่างกัน แต่คุณหญิงไม่อาจตอบรับรักนพพรได้ จนเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี หลังจากสามีเธอสิ้นลง คุณหญิงกีรติได้เฝ้ารอการกลับมาของนพพรที่ท่าเรือ แต่กลับพบว่า เขามาเพื่อแต่งงานกับหญิงสาวที่หมั้นหมายไว้แล้ว
การเดินทางตามสามีวัยคราวพ่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ของหม่อมราชวงศ์กีรติ ทำให้เธอต้องพบกับจุดเปลี่ยนแห่งชีวิต เมื่อที่นั่นมีเด็กหนุ่มนักเรียนชาวไทย นพพร คอยปรนนิบัติดูแลเธอ นานวันเข้าจากความใกล้ชิดก็แปรเปลี่ยนเป็นความรัก นพพรเพียรขอความรักจากคุณหญิง แม้หญิงสาวไม่ตอบรับรักเขาก็ตาม พ้นเหตุการณ์นั้นไป 6 ปี เมื่อสิ้นสามี ในขณะที่นพพรเรียนจบแล้ว คุณหญิงกีรติก็มาเฝ้ารอเขายังท่าเรือ โดยไม่รู้เลยว่า นพพร กลับมาเพื่อแต่งงานกับคู่หมั้นที่หมั้นหมายไว้ก่อนจะไปญี่ปุ่น
นักแสดง[]
คาร่า พลสิทธิ์ | ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ | ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา |
หม่อมราชวงศ์กีรติ | นพพร | พระยาอธิการบดี |
นักแสดงสมทบ-รับเชิญ : | รับบทเป็น |
---|---|
ปรีดา จุลละมณฑล | ท่านพ่อของกีรติ |
วรรณษา ทองวิเศษ | ม.ร.ว.สุธาร (น้องสาวของ ม.ร.ว.กีรติ) |
นวลปรางค์ ตรีชิต | คุณน้าของกีรติ |
จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย | แม่แย้ม แม่ครัวของพระยาอธิการบดี |
พิราวรรณ ประสพศาสตร์ | หม่อมแม่ของกีรติ |
ประกิต วาทีสาธกกิจ | นายแพทย์วิชา |
วันชาติ ชุณห์ศรี | พันตรีพงศธร |
ธิดา สิงห์จันทร์ | ปรีดิ์ |
Hiroka Takahashi | โอซาน |
Ayumi Kara | โนบุโกะ |
พันธ์สัญญ์ อังคู่ธาร | อำนาจ |
พิพัฒน์ เลิศสุทธิผล | เรืองเดช |
วันชัย ธนะวังน้อย | พ่อของนพพร |
อนูวรรณ ปรีญานนท์ | วิจารุ |
จำรัส เศวตาภรณ์ | |
สายสุนีย์ สุขกฤต |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับการแสดงเรื่องสุดท้ายของ เชิด ทรงศรี โดยมี ณัฎฐวี ทศรฐ, นลิน บุญวิโรจน์ฤทธิ์ และ เกตุ พิทยากรศิลป์ เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย จันนิภา เจตสมมา อำนวยการบริหารโดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ผู้จัดการกองถ่าย-ควบคุมความต่อเนื่องโดย วาสนา ศรีทอง ออกแบบเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกายโดย รชตะ สุพาสนาพิวัฒน์ แต่งหน้าโดย อนุพงษ์ อนิบล แต่งผมโดย โสภา กำพลวรรณ, ทวิช ส้มมณี และ มนตรี วัดละเอียด รับหน้าที่สไตล์ลิสต์ [4]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบ ได้แก่เพลง "กีรติ" แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย พนเทพ สุวรรณะบุณย์, วิลาวรรณ์ เกิดสุทธิ, เรืองกิจ ยงปิยะกุล ขับร้องโดย สุนิตา ลีติกุล และเพลง "Truth in My Heart" แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์, พีรสันต์ จวบสมัย ขับร้องโดย สายสุนีย์ สุขกฤต
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อปี พ.ศ. 2479 ได้รับการยกย่องด้วยความงามในเชิงวรรณศิลป์ เมื่อรวมเล่มได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายต่อหลายครั้ง และถูกนำไปแสดงเป็นละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมถึงละครเวที ในรูปแบบละครเพลงอีกด้วย
รูปแบบการนำเสนอ | นพพร | หม่อมราชวงศ์กีรติ | เจ้าคุณอธิการบดี |
ละครช่อง 5 พ.ศ. 2524 | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | อรัญญา นามวงษ์ | ส.อาสนจินดา |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2528 | อำพล ลำพูน | นาถยา แดงบุหงา | สุรชัย แก้วชูศิลป์ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544 | ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ | คาร่า พลสิทธิ์ | อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา |
ละครเวที พ.ศ. 2551 | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว | สุธาสินี พุทธินันท์ | โกวิท วัฒนกุล |
ละครบรอดเวย์ พ.ศ. 2558 | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว | เอมิลี่ แพดเก็ตต์ | Thom Sesma |
Ladies of the Stage (2561) | ธนทัต ชัยอรรถ | คัทลียา แมคอินทอช | กิตตินันท์ ชินสำราญ |
- ในปี พ.ศ. 2519 เคยมีโครงการที่จะสร้างข้างหลังภาพเป็นภาพยนตร์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล นำแสดงโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ (ม.ร.ว.กีรติ) ยอดชาย เมฆสุวรรณ (นพพร) และกำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ล้มเลิกกันไป [5] [6]
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2544
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (คาร่า พลสิทธิ์)
- เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง "กีรติ" ขับร้องโดย สุนิตา ลีติกุล)