- ประเภท : Drama / Romance
- ผู้กำกับ : เปี๊ยก โปสเตอร์
- บทประพันธ์ : ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)
- บทภาพยนตร์ : วิศณุศิษย์
- ผู้กำกับภาพ : สมบูรณ์สุข
- ผู้ถ่ายภาพ : ร่วมใจ จำเป็น
- ผู้ลำดับภาพ : สยามสตูดิโอ
- เพลงประกอบ : เสกสรร สอนอิ่มศาสตร์
- บันทึกเสียง : แครปเปอร์บอร์ด
- อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
- บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
- วันที่เข้าฉาย : 27 เมษายน 2528 ฉายที่โรงภาพยนตร์เอเธนส์-วังบูรพา-พาราไดซ์-ศรีย่าน-ปารีส-รามา-นครหลวงรามา-พระโขนงรามา-ลาดพร้าวสะพาน 2-ปู่เจ้าสำโรง
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 35 มม. บันทึกเสียงในฟิล์ม
เรื่องย่อ[]
ความรักมีอำนาจ เกินจะปกปิดไว้ แต่เพียงในใจ
ภาพใบหนึ่งในห้องทำงานของ "นพพร" (อำพล ลำพูน) ทำให้เขาหวลคิดถึงเบื้องหลังของรูปภาพนั้น ในขณะที่เขาเป็นหนุ่มน้อยที่กำลังศึกษาอยู่ประเทศญี่ปุ่น เขาได้มีโอกาสต้อนรับ "เจ้าคุณอธิการ" (สุรชัย แก้วชูศิลป์) พร้อมทั้งภรรยาสาวคือ "คุณหญิงกีรติ" (นาถยา แดงบุหงา) ทุกครั้งที่เจ้าคุณไม่ว่าง เขาก็ได้ทำหน้าที่ดูแลและพาคุณหญิงไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดต่างๆ และทำให้เขาเกิดความรู้สึกต่อคุณหญิงดั่งชายที่มีความรัก แต่เขาหาได้หยั่งรู้ถึงความรู้สึกของคุณหญิงกีรติที่มีต่อเขาได้เลย สิ่งเหล่านี้ทำให้เขากลัดกลุ้มและไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร
นพพรได้ระลึกถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อครั้งศึกษาที่ญี่ปุ่น เขาได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าคุณอธิการพร้อมทั้งภรรยาสาว คือ คุณหญิงกีรติ มิตรซึ่งเขาไม่มีวันลืมได้ ทุกครั้งที่เจ้าคุณไม่ว่าง นพพรก็ได้ทำหน้าที่ดูแลและพาคุณหญิงไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดต่างๆ คุณหญิงห่วงใยนพพรมากจนทำให้นพพรหลงรัก แต่ก็ไม่อาจทำลายความเคารพรักของคุณหญิงที่มีต่อเจ้าคุณได้ จนเมื่อทั้งสองกลับประเทศไทย
นพพร เฝ้าแต่คิดถึงคุณหญิง จนกระทั่งทราบข่าวการตายของท่านเจ้าคุณ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการตั้งใจเรียนและรีบจบการศึกษา คุณหญิงยังคงเฝ้าคอยนพพรเสมอมา แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อนพพรกลับมาแล้วต้องแต่งงานกับคู่หมั้น นพพรไม่ทราบว่าคุณหญิงป่วยหนัก จนวันสุดท้ายที่ทั้งสองได้เจอกัน คุณหญิงก็สิ้นลมเสียแล้ว เหลือไว้แต่เพียงความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกัน และภาพความหลังที่ทั้งสองได้วาดมันขึ้นมา
กีรติ จำต้องติดตามสามีซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อตัวเองไปยังญี่ปุ่น ที่นี่ เธอได้พบกับ นพพร นักเรียนทุนชาวไทยที่คอยเป็นธุระดูแลสามีและเธอโดยตลอด ทั้งนพพรและกีรติได้สานสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นความรัก กระทั่งกีรติกลับเมืองไทยไป นพพรก็ยังเพียรเขียนจดหมายมาหา จนเมื่อเวลาผ่านไปนพพรสำเร็จการศึกษา และกีรติต้องอยู่เพียงลำพัง หลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิต ความรักอันริบหรี่ก็เรืองรองขึ้นมาอีกครั้งในหัวใจสาวใหญ่ผู้นี้
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
อำพล ลำพูน | นพพร |
นาถยา แดงบุหงา | ม.ร.ว.กีรติ |
สุรชัย แก้วชูศิลป์ | ท่านเจ้าคุณอธิการบดี |
จุรี โอศิริ | |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
อำนวย ศิริจันทร์ | |
สุรีย์พร เริงอารมณ์ | |
ญาณี จงวิสุทธิ์ |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อปี พ.ศ. 2479 ได้รับการยกย่องด้วยความงามในเชิงวรรณศิลป์ เมื่อรวมเล่มได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายต่อหลายครั้ง และถูกนำไปแสดงเป็นละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมถึงละครเวที ในรูปแบบละครเพลงอีกด้วย
รูปแบบการนำเสนอ | นพพร | หม่อมราชวงศ์กีรติ | เจ้าคุณอธิการบดี |
ละครช่อง 5 พ.ศ. 2524 | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | อรัญญา นามวงษ์ | ส.อาสนจินดา |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2528 | อำพล ลำพูน | นาถยา แดงบุหงา | สุรชัย แก้วชูศิลป์ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544 | ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ | คาร่า พลสิทธิ์ | อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา |
ละครเวที พ.ศ. 2551 | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว | สุธาสินี พุทธินันท์ | โกวิท วัฒนกุล |
ละครบรอดเวย์ พ.ศ. 2558 | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว | เอมิลี่ แพดเก็ตต์ | Thom Sesma |
Ladies of the Stage (2561) | ธนทัต ชัยอรรถ | คัทลียา แมคอินทอช | กิตตินันท์ ชินสำราญ |
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ นาถยา แดงบุหงา
- ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย ผู้จัดการกองถ่ายโดย ยุวดี ไทยหิรัญ ผู้ช่วยผู้กำกับโดย บุรณี รัชไชยบุญ, จิรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ไพโรจน์ โรจน์เลิศจรรยา กำกับบทโดย พิชิต นิยมศิริ ถ่ายภาพนิ่งโดย ปนัดดา นิยมศิริ กำกับศิลป์โดย นิยมศิลป สร้างฉากโดย ประสรร เพชรพงษ์ เครื่องแต่งกายโดย ไข่บูติค ควบคุมเครื่องแต่งกายโดย รินทร์ พุ่มพวง แต่งหน้า-แต่งผมโดย ยิ้มยูนิแฮร์ เทคนิคภาพโดย โชน บุนนาค บันทึกเสียงโดย แครปเปอร์บอร์ด และมิกซ์เสียงโดย ซีเนซาวด์
- ก่อนหน้านั้น ในปี พ.ศ. 2519 เคยมีโครงการที่จะสร้างข้างหลังภาพเป็นภาพยนตร์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล นำแสดงโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ (ม.ร.ว.กีรติ) ยอดชาย เมฆสุวรรณ (นพพร) และกำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ล้มเลิกกันไป [1] [2]
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2528
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ไข่บูติก)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ซิเนซาวด์)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ประเภทภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง (พ.ศ. 2548)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ