- ชื่ออังกฤษ : ONCE UPON A TIME...
- ประเภท : Adventure / Drama / Family
- ผู้กำกับ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
- เรื่อง-บทภาพยนตร์ : ชนินทร ประเสริฐศาสน์, บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
- ผู้กำกับภาพ : วันชัย เล่งอิ๊ว, วิเชียร เรืองวิชญกุล, กมล แจ่มเจริญ
- ผู้ลำดับภาพ : พูนศักดิ์ อุทัยพันธ์
- ผู้กำกับศิลป์ : ประดิษฐ์ นิลสนธิ
- ดนตรีประกอบ : วงไหมไทยออร์เคสตร้า, ดนู ฮันตระกูล
- บันทึกเสียง : ชาย คงศิลวัต
- ดำเนินงานสร้าง : สายจรูญ เอี่ยมพึ่งพร
- อำนวยการสร้าง : เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
- บริษัทผู้สร้าง : ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
- วันที่เข้าฉาย : 28 มกราคม 2537
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
- เช้าไหนก็ไม่เหมือนเช้านี้ กาลครั้งไหนก็ไม่เหมือนกาลครั้งนี้
- บัณฑิต ฤทธิ์ถกล และทีมงาน เจ้าของผลงานรายได้รวมกว่า 200 ล้านบาท จากเฉพาะการฉายในกรุงเทพมหานคร สถิติยอดนิยมทุกจังหวัดทั่วประเทศ รางวัลยอดเยี่ยมสาขาต่างๆ รวมกว่า 35 รางวัล เสนอผลงานละเมียด ฉลองครบ 10 ปี แห่งการรับใช้ผู้ชมภาพยนตร์
เรื่องราวครอบครัวของ "โอ๋" "อ้น" และ "อั้ม" สามพี่น้องที่กำลังเผชิญกับปัญหาครอบครัว เมื่อพ่อและแม่ของพวกเขากำลังจะแยกทางกัน พวกเขาจึงต้องย้ายไปอยู่แฟลตของแม่กันตามลำพัง วันหนึ่งโอ๋พี่สาวคนโตตัดสินใจพาน้องชายกลับไปบ้านเก่าที่เคยอยู่กับพ่อ แต่กลับพบว่าพ่อได้ย้ายไปอยู่เชียงใหม่เสียแล้ว พวกเขาจึงตัดสินใจไปหาพ่อ จนต้องเผชิญกับกลุ่มค้ายาเสพติด ขบวนการค้ามนุษย์ และเด็กเร่ร่อน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว… เด็กๆในหมู่บ้านแห่งหนึ่งพากันหนีออกจากบ้านแอบเข้าไปเที่ยวเล่นในสวนของปราสาท โดยไม่รู้ว่าในปราสาทมีแม่มดใจร้ายครอบครองอยู่ เด็กๆถูกนางแม่มดใจร้ายสาปให้เป็นสัตว์ต่างๆ พอดีเจ้าชายเดินทางผ่านมา เห็นพวกเด็กๆที่ถูกสาปก็สงสาร จึงใช้ดาบวิเศษพยายามช่วยให้เด็กๆ พ้นจากคำสาปของแม่มด นางแม่มดใจร้ายไม่ยอมแพ้ และเสกยักษ์ตาเดียวขึ้นมาจากหลุมตรงเข้าต่อสู้กับเจ้าชายอย่างดุเดือด นี่คือนิทานซึ่งดำรงเล่าให้ลูกทั้งสามฟังเสมอๆ แต่ชีวิตของเด็กทั้งสามกำลังก้าวไปสู่เหตุการณ์ที่ยิ่งกว่าในนิทาน
นักแสดง[]
- สันติสุข พรหมศิริ – ดำรง
- จินตหรา สุขพัฒน์ – อาภา
- ภูมิ พัฒนายุทธ – เลี้ยว
- พรทิพย์ หวุ่น
- มาตัง จันทรานี – โอ๋
- รณรงค์ บูรณัติ – นกแล
- ด.ช. ปรมัติ ธรรมมล – อ้น
- ด.ช. ชาลี ไตรรัตน์ – อั้ม
- ฤกษ์ดี ศิริเจริญชัยสกุล
- พันฤทธิ์ บุษราคัม
- ภาพ ธรรมชาติ
- จอย ฟารียา
- จตุรงค์ ระแหง
- เอกพล สุทธิกาวงศ์
- ณรงค์ฤทธิ์ สุกาจารีวัฒน์
- ด.ช. นิจิโรจน์ คุมสติ
- สมจินต์ ธรรมทัต – จำนงค์
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล โดยใช้เวลาเขียนบทนานถึง 6 ปี บัณฑิตพยายามหาโอกาสสร้างสรรค์งานที่เขาต้องการ ทั้งในแง่บทที่หนักแน่นเนื้อหาวิพากษ์สังคม และปราศจากเสียงหัวเราะแบบที่ผู้ชมชาวไทยส่วนมากนิยม
- บัณฑิตประณีตกับการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างมาก เขาใช้ทุนสร้างสูงกว่าหนังเรื่องอื่นๆ ในยุคเดียวกัน ในขณะที่ยุคนั้นภาพยนตร์ไทยนิยมใช้การพากย์เสียงใส่ภาพยนตร์สำหรับออกฉาย เพื่อตัดปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพเสียงระหว่างถ่ายทำ แต่บัณฑิตคำนึงถึงความสมจริงของการแสดงด้วยการยืนยันที่จะใช้การบันทึกเสียงระหว่างถ่ายทำ
- เนื่องจากมีนักแสดงนำเป็นเด็ก บัณฑิตคัดเลือกนักแสดงเด็กหน้าใหม่ที่ไม่เคยมีผลงานมาก่อน และเคี่ยวเข็ญให้แต่ละคนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของเด็กที่ไร้ที่พึ่งพิงจากครอบครัวได้เป็นอย่างน่าเชื่อถือ
- การถ่ายทำเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากนักแสดงหลักซึ่งเป็นตัวดำเนินเรื่องเป็นนักแสดงเด็กและนักแสดงใหม่ทั้งหมด และยังประสบกับอุปสรรคในการถ่ายทำนอกสถานที่ที่สถานีรถไฟ
- ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วย สายจรูญ เอี่ยมพึ่งพร ดำเนินงานสร้าง ผู้จัดการกองถ่ายทำโดย ประเสริฐ กมลวาทิน ช่วยกำกับการแสดงโดย ทองก้อน ศรีทับทิม, สุพัฒน์ เติมสุขสวัสดิ์, ชูศักดิ์ นะมาโรจน์, อรุณ เคนเนดี้ กำกับกองถ่ายทำที่ 2 โดย คมสัน ภูมัย, ทองก้อน ศรีทับทิม ระบบเสียงดอลบี้สเตอริโอเซอร์ราวน์โดย "รามอินทรา" ประพันธ์และกำกับดนตรีโดย ดนู ฮันตระกูล บรรเลงโดย ไหมไทยออเคสตร้า เนื้อร้องสำหรับเพลงประจำเรื่องโดย พิเศษ สังข์สุวรรณ ควบคุมและสอนการแสดงโดย อรชุมา ยุทธวงศ์ และคณะ กำกับบทโดย เทิดเกียรติ เศรษฐพงศ์ ควบคุมความต่อเนื่องโดย สถาพร สุชาติ, วิสันต์ ตันไพบูลย์ ศิลปกรรมโดย บรรพต ฤทธิ์ถกล ออกแบบการแต่งกายโดย กานต์ ฉัตรทรงเจริญ, สุวินี พินิจทรัพย์สิน และคณะ แต่งหน้าและทำผมโดย เอ็ม.ที.ไอ
- เมื่อเข้าฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นผลงานที่ทำรายได้น้อยอย่างน่าใจหาย ทำให้ภาพยนตร์ประสบกับความขาดทุน แต่ในขณะเดียวกันนักวิจารณ์ภาพยนตร์ต่างยกย่องให้เป็นงานที่ดีที่สุดของ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 4
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (บัณฑิต ฤทธิ์ถกล)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (รณรงค์ บูรณัติ)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (พูนศักดิ์ อุทัยพันธ์)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ชาย คงศิลวัฒน์)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (วงไหมไทยออร์เคสตร้า, ดนู ฮันตระกูล)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557)
- 19 ภาพยนตร์ไทยในโปรแกรม "ฉายแล้ววันนี้ที่ Netflix รามา" ร่วมกับ Netflix (พ.ศ. 2565)
- 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2561) จัดโดย คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ