- ประเภท : Comedy / Romance / ขาว-ดำ
- ผู้กำกับ : หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ)
- บทประพันธ์ : หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขวิริยะ)
- บทภาพยนตร์ :
- ผู้ถ่ายภาพ : หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต)
- ผู้ลำดับภาพ : ประจวบ อมาตยกุล
- ผู้กำกับศิลป์ : แนม สุวรรณแพทย์
- บันทึกเสียง : กระเศียร วสุวัต
- ดนตรี / เพลงประกอบ : นารถ ถาวรบุตร, จำรัส รวยนิรันดร์
- อำนวยการสร้าง : มานิต วสุวัต
- บริษัทผู้สร้าง : ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
- วันที่เข้าฉาย : 1 ตุลาคม 2479 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง / 27 พฤษภาคม 2481 ฉายที่ศาลาเฉลิมบุรี
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์ขาวดำ เสียงในฟิล์ม 35 มม.
เรื่องย่อ[]
จำรัส เป็นผู้จัดการบริษัทสากลประกันภัย มีภรรยาชื่อ ลาวรรณ ชีวิตการแต่งงานของเขาไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เหตุเพราะเป็นโรคกลัวเมียขึ้นสมอง ผัน เพื่อนของจำรัสแนะนำ หมอแนม ซึ่งมีความสามารถสับเปลี่ยนวิญญาณมนุษย์กับผีได้ รุ่งขึ้นจำรัสจึงไปหาหมอแนมให้ช่วยรักษาโรคกลัวเมีย หมอแนมจัดการเปลี่ยนวิญญาณให้จำรัสและกำชับว่าห้ามยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงที่อายุอ่อนกว่า วิธีรักษาของหมอแนมประสบผลดีเกินคาด ไม่ว่าจำรัสจะทำอะไรลาวรรณก็ไม่ดุด่าเหมือนแต่ก่อน จนจำรัสย่ามใจเผลอไปยุ่งกับ ทองฟู นางบำเรอที่มาขอทำประกันความงามที่บริษัทของจำรัส โรคกลัวเมียจึงกลับมาเยือนจำรัสเหมือนอย่างเคย
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
มานี สุมนนัฏ | ลาวรรณ |
จำรัส สุวคนธ์ | จำรัส |
เขียน ไกรกุล | นางบำเรอ |
ทองอ่อน ยุกตะนันทน์ | ทนายความ |
ถนอม ทักษ์ศิริ | คนขายสุรา |
พระยาโอวาทวรกิจ | |
หลวงวิลาศปริวัตร | |
แฉล้ม บัวเปลี่ยนสี | |
เช็ง สง่าเนตร | |
พิสมัย งามตา | |
หลวงราญรณกาจ | |
ผัน นากสุวรรณ | |
ใหญ่ ชูแสงทอง | |
แนม สุวรรณแพทย์ | |
อังกาบ กาญจนจันทร์ |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 35 มม. ระบบไวด์สกรีน เสียงในฟิล์มประกอบเพลง ตามมาตรฐานสากลซึ่งศรีกรุงเป็นผู้บุกเบิกการสร้างระบบนี้ในเมืองไทยตั้งแต่เริ่มแรกโดยต้องใช้อุปกรณ์และผู้ชำนาญรวมทั้งค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบพากย์ลงฟิล์มภายหลัง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบที่ประพันธ์เพลงโดย จำรัส รวยนิรันดร์ และดนตรีประกอบโดย นารถ ถาวรบุตร ได้แก่เพลง สุรานารี, ใจสนองใจ, แสนอาลัย, ชื่นชีวิต เพลงดังกล่าวถูกบันทึกลงแผ่นเสียงตราศรีกรุง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาคต่อคือภาพยนตร์เรื่อง หลอกเมีย (2480)
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำกลับมาฉายอีกครั้งในปี พ.ศ. 2481 พร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง เลือดชาวนา (2479) โดยฉายที่ศาลาเฉลิมบุรี
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างทำเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2514 สร้างในนามศรีกรุงภาพยนตร์ หลังจากศรีกรุงหยุดกิจการภาพยนตร์ไปนานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2